KMITL Innovation Expo 2025 Logo

นวัตกรรมชุดการเลี้ยงหอยหวานทองในแนวตั้งเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยระบบอควาโปนิกส์

นวัตกรรมชุดการเลี้ยงหอยหวานทองในแนวตั้งเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยระบบอควาโปนิกส์

รายละเอียด

นวัตกรรมชุดการเลี้ยงหอยหวานทองในแนวตั้งด้วยระบบอควาโปนิกส์เป็นรูปแบบของการเกษตรแบบผสมผสานระหว่างการเลี้ยงหอยหวานทองกับการปลูกผัก โดยระบบดังกล่าวโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้พื้นที่ในแนวดิ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประหยัดน้ำในการเลี้ยงและผลิตพืชผักที่ปลอดภัยทั้งเพื่อการบริโภคหรือจำหน่าย รวมทั้งเป็นการเกื้อกูลระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบ ซึ่งหอยหวานทองจะขับถ่ายของเสียออกมา/เศษอาหารที่หลงเหลือจะถูกกรองบนวัสดุ ที่ใช้ในการบำบัดน้ำ ในขณะเดียวกันแบคทีเรียตามธรรมชาติจะช่วยเปลี่ยนของเสียต่างๆ เหล่านี้ให้อยู่ในรูปธาตุอาหารที่พืชนำมาใช้ประโยชน์ ดังนั้นระบบดังกล่าวจึงเป็นมิตรต่อต่อสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์

นวัตกรรมชุดการเลี้ยงหอยหวานทองในแนวตั้งด้วยระบบอควาโปนิกส์ได้พัฒนาต่อเนื่องจากระบบปิดแบบผสมผสานในแนวดิ่ง (Vertical Integrated Closed System :VICS)” หรือ VICS เป็นแบบจำลองของการเกษตรแบบผสมผสานระหว่างการเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงการปลูกพืช ซึ่งเป็นการนวัตกรรมการเกษตรที่มีการใช้ประโยชน์จากของเสียจากการเลี้ยงปลามาผ่านการบำบัดน้ำด้วยก้อนกรวดและวัสดุอื่นๆ ในขณะเดียวกันระบบบำบัดน้ำนั้นใช้ประโยชน์ในการการปลูกผัก จึงเป็นรูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental friendly) โดยระบบจำลองดังกล่าวเป็นการใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่ที่มีอย่างจำกัด ใช้น้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถผลิตสัตว์น้ำควบคู่ผลผลิตผักที่ปลอดสารพิษได้ ระบบ VICS จึงเป็นนวัตกรรมที่สนองตอบโจทย์สังคมเมืองที่มีพื้นที่จำกัด ประหยัดทรัพยากรน้ำในการเลี้ยงปลาและปลูกพืช ไม่ปล่อยของเสียสู่ภายนอก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน บ้านเรือน หรือหน่วยงานราชการต่างๆ ที่มีพื้นที่จำกัด โครงงานของการทดสอบระบบที่ผ่านมา เช่น ผลของระบบปลูกผักต่อการเจริญเติบโตของผักในระบบอะควาโปนิกส์ วัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับการผลิตผักกินใบในระบบอะควาโปนิกส์ ผลของการเลี้ยงปลานิลในระบบ VICS ที่มีรูปแบบแตกต่างกันต่อการแสดงออกของโปรตีนความเครียด ผลของความหนาแน่นต่อการเติบโตของปลานิลที่เลี้ยงในระบบ VICS ผลของการเลี้ยงปลานิลในระบบ VICS ในรูปแบบที่แตกต่างกันต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำ การศึกษาวิธีการปฏิบัติที่ดีของการเลี้ยงปลานิลแดงในระบบ VICS ผลของความหนาแน่นต่อการแสดงออกของลักษณะเชิงปริมาณในปลานิลที่เลี้ยงในระบบ VICS ผลของความหนาแน่นต่อการเติบโตของปลานิลที่เลี้ยงในระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิด และการเลี้ยงปลานิลแบบผสมผสานในแนวดิ่งด้วยระบบปิด เป็นต้น จึงนำมาสู่การพัฒนานวัตกรรมชุดการเลี้ยงหอยหวานทองในแนวตั้งเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยระบบอควาโปนิกส์

นวัตกรรมอื่น ๆ

การวิเคราะห์อารมณ์ตามแง่มุมในรีวิวสินค้าออนไลน์

คณะวิทยาศาสตร์

การวิเคราะห์อารมณ์ตามแง่มุมในรีวิวสินค้าออนไลน์

ในยุคที่ข้อมูลรีวิวสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมีจำนวนมาก การสรุปความคิดเห็นให้เข้าใจง่ายและใช้งานได้จริงจึงเป็นสิ่งสำคัญ งานวิจัยนี้นำเสนอระบบวิเคราะห์รีวิวสินค้าด้วย Aspect-Based Sentiment Analysis (ABSA) ซึ่งเป็นเทคนิคใน Natural Language Processing (NLP) ที่สามารถแยกแยะแง่มุมสำคัญของรีวิว (เช่น การจัดส่ง คุณภาพสินค้า บรรจุภัณฑ์) และวิเคราะห์อารมณ์ (บวก ลบ หรือเป็นกลาง) ของแต่ละแง่มุม ระบบนี้ช่วยให้ผู้บริโภคและร้านค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โครงการนี้ได้พัฒนา AI สำหรับการวิเคราะห์ ABSA ภาษาไทย โดยใช้ WangchanBERTa ซึ่งฝึกบนข้อมูลภาษาไทย และเปรียบเทียบกับโมเดลต่างๆ เช่น TF-IDF + Logistic Regression, Word2Vec + BiLSTM, และ Multilingual BERT (mBERT/XLM-R) เพื่อประเมินประสิทธิภาพในด้านความแม่นยำ ความเร็ว และการใช้ทรัพยากร นอกจากนี้ยังมีการแสดงผลผ่าน Dashboard Visualization เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจแนวโน้มของรีวิวได้อย่างรวดเร็ว ผลลัพธ์ที่คาดหวังคือการพัฒนาเครื่องมือ AI ที่ใช้งานจริงในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น และช่วยร้านค้าในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Vision-Based Spacecraft Pose Estimation

วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ

Vision-Based Spacecraft Pose Estimation

-

การทำนายคุณสมบัติของโครงสร้างกระดูกจากวัสดุชีวภาพคอมโพสิตทำจากการพิมพ์ 3 มิติ โดยใช้การวิเคระห์ด้วยไฟไนต์เอลิเมนต์

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

การทำนายคุณสมบัติของโครงสร้างกระดูกจากวัสดุชีวภาพคอมโพสิตทำจากการพิมพ์ 3 มิติ โดยใช้การวิเคระห์ด้วยไฟไนต์เอลิเมนต์

โครงสร้างกระดูกจากวัสดุชีวภาพเป็นวัสดุที่ช่วยให้การฟื้นฟู หรือซ่อมแซ่มเนื้อเยื้อกระดูกได้อย่างรวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งนี้ตัววัสดุที่เป็นโครงสร้างสามารถที่จะย่อยสลายภายในร่างกาย หรือในระบบชีวภาพได้เป็นอย่างดี ในงานนี้จึงนี้จุดมุ่งหมายในการศึกษาถึงวัสดุ รูปร่าง และกระบวนการผลิตในการพิมพ์ 3 มิติด้วยเทคนิคการหลอมละลายเส้นพลาสติก (fused deposition modeling: FDM) ที่เหมาะสม ซึ่งได้ใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อทำนายคุณสมบัติเชิงกลของโครงสร้างกระดูกที่มีรูปร่าง และขนาดรูพรุนที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามวัสดุที่ใช้การศึกษานี้ ได้แก่ พอลีแลคติคแอซิด (polylactic acid: PLA) พอลิคาโพรแลกโตน (polycaprolactone: PCL) และ ไฮดรอกซิลอะพาไทต์ (hydroxyapatite: HA)