โครงสร้างกระดูกจากวัสดุชีวภาพเป็นวัสดุที่ช่วยให้การฟื้นฟู หรือซ่อมแซ่มเนื้อเยื้อกระดูกได้อย่างรวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งนี้ตัววัสดุที่เป็นโครงสร้างสามารถที่จะย่อยสลายภายในร่างกาย หรือในระบบชีวภาพได้เป็นอย่างดี ในงานนี้จึงนี้จุดมุ่งหมายในการศึกษาถึงวัสดุ รูปร่าง และกระบวนการผลิตในการพิมพ์ 3 มิติด้วยเทคนิคการหลอมละลายเส้นพลาสติก (fused deposition modeling: FDM) ที่เหมาะสม ซึ่งได้ใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อทำนายคุณสมบัติเชิงกลของโครงสร้างกระดูกที่มีรูปร่าง และขนาดรูพรุนที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามวัสดุที่ใช้การศึกษานี้ ได้แก่ พอลีแลคติคแอซิด (polylactic acid: PLA) พอลิคาโพรแลกโตน (polycaprolactone: PCL) และ ไฮดรอกซิลอะพาไทต์ (hydroxyapatite: HA)
โครงเลี้ยงเซลล์ (Scaffold) หรือวัสดุที่มีรูพรุนเพื่อการเจริญเติบโตของเซลล์สู่การกลายเป็นเนื้อเยื่อสำหรับการฟื้นฟูส่วนที่เสียหายของร่างกาย ซึ่งในปัจจุบันมีความเสียหายของเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ โรค เป็นต้น โดยการรักษาแบบดั้งเดิมจะใช้การรับเนื้อเยื่อจากผู้บริจาค แต่ก็อาจไม่เข้ากันกับร่างกายของผู้ป่วยทางวิศวกรรมเนื้อเยื่อจึงได้มีการพัฒนาโครงเลี้ยงเซลล์ขึ้นมาซึ่งจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญ ได้แก่ การทนต่อการรับแรง การย่อยสลายภายในร่างกาย และความเข้ากันได้ทางระบบชีวภาพ อย่างไรก็ตามมีความท้าทายมากมายในการพัฒนาวัสดุชีวภาพในโครงเลี้ยงเซลล์ เช่น การรองรับความหนาแน่นของเซลล์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเจริญเติบโต ซึ่งจำเป็นต้องออกแบบรูพรุนภายในโครงเลี้ยงเซลล์ การรับแรงการแรงกดโดยมวลกล้มเนื้อของร่างกาย และเลือกวัสดุที่เหมาะสมเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเซลล์ เป็นต้น
คณะศิลปศาสตร์
เจลลี่ลูกชกที่ผลิตจากผลไม้ท้องถิ่นของจังหวัดพังงา โดยใช้ความหวานจากหญ้าหวานแทนน้ำตาล ถือเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรท้องถิ่น ช่วยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพและต้องการลดการบริโภคน้ำตาล นอกจากนี้ ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน เนื่องจากใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น และมีศักยภาพในการเป็นของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดพังงา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเกษตรในท้องถิ่นและกระตุ้นเศรษฐกิจของภูมิภาค"
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
การศึกษานี้มุ่งเน้นการออกแบบ การผลิต และการติดตั้งแนวปะการังเทียมแบบแยกส่วนที่พิมพ์ด้วยเทคโนโลยี 3 มิติ (3DMARs) บริเวณเกาะไข่ จังหวัดชุมพร ประเทศไทย โดยใช้กรอบแนวคิดการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ร่วมมือกับบริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง งานวิจัยนี้กำหนดเกณฑ์การออกแบบและวิธีการติดตั้งโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิจัยเชิงคุณภาพ หลักการสำคัญที่ระบุได้ ได้แก่ ความเป็นโมดูลาร์ (Modularity), ความยืดหยุ่น (Flexibility), ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) และการใช้งานได้จริง (Usability) โดยใช้แนวทางที่มุ่งเน้นผู้ใช้งานเพื่อให้แนวปะการังเทียมสามารถขนส่งและติดตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นและการปฏิบัติที่ยั่งยืน การออกแบบแบบโมดูลาร์ช่วยให้สามารถขยายขนาดได้ง่าย ส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและการตั้งถิ่นฐานของตัวอ่อนปะการัง นอกจากนี้ เทคนิคการติดตามผลใต้น้ำยังช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเฉพาะพื้นที่ ซึ่งนำไปสู่การสร้างแบบจำลองดิจิทัลทวิน (Digital Twin) งานวิจัยนี้นำเสนอกรอบแนวทางปฏิบัติสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล และช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับชุมชนชายฝั่งในประเทศไทยและในระดับสากล
คณะวิทยาศาสตร์
เป็นการนำวัสดุ“กราฟีนออกไซด์ควอนตัมดอท ที่สังเคราะห์จากวัสดุตั้งต้นกราฟีนออกไซด์ มาผลิตเป็นวัสดุรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ควอนตัมดอท โดยทำการผลิตได้จากเครื่องผลิต “ต้นแบบเครื่องผลิต รีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ ควอนตัมดอท สำหรับอุตสาหกรรม” ที่พัฒนาขึ้นโดย สจล. มาพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรม "แบตเตอรี่กราฟีนควอนตัมดอท" สำหรับเชิงพานิชย์ เพื่อสนับสนุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและการกักเก็บพลังงาน