KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ระบบควบคุมแขนกลอุตสาหกรรมและนิวเมติกส์

ระบบควบคุมแขนกลอุตสาหกรรมและนิวเมติกส์

รายละเอียด

โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ด้านระบบนิวเมติกส์และการควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน โดยระบบนิวเมติกส์มีบทบาทสำคัญในกระบวนการผลิตหลายประเภท เช่น การควบคุมเครื่องจักร อุปกรณ์อัตโนมัติ และระบบสายการผลิต อย่างไรก็ตาม ภาควิชาวิศวกรรมวัดคุมไม่มีห้องปฏิบัติการที่รองรับการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ เนื่องจากอุปกรณ์เดิมที่เคยใช้เกิดการชำรุดและไม่ได้รับการซ่อมแซม ทำให้นักศึกษาขาดโอกาสในการฝึกฝนทักษะที่สำคัญต่อการทำงานในภาคอุตสาหกรรม คณะผู้จัดทำเห็นถึงความจำเป็นในการฟื้นฟูและพัฒนาห้องปฏิบัติการนิวเมติกส์ให้สามารถตอบโจทย์การเรียนการสอนและการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปริญญานิพนธ์นี้มุ่งเน้นการศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมแขนกลอุตสาหกรรมและระบบนิวเมติกส์ ควบคู่ไปกับการบูรณาการเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น PLC (Programmable Logic Controller) และ AI Vision ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานจริงในบริบทอุตสาหกรรม ผลการดำเนินงานในโครงการนี้นอกจากจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังมุ่งหวังที่จะพัฒนาห้องปฏิบัติการให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับนักศึกษารุ่นปัจจุบันและรุ่นถัดไป รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของนักศึกษาในตลาดแรงงาน พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์

จากการศึกษาและประสบการณ์ในการฝึกงานของคณะผู้จัดทำ พบว่าระบบนิวเมติกส์และ PLC เป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบอุตสาหกรรมยุคใหม่ โดยช่วยควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพในสายการผลิต ในอนาคตเทคโนโลยี AI Vision จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต ด้วยความสามารถในการตรวจจับ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลภาพอย่างแม่นยำ ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ ลดข้อผิดพลาดในการผลิต และเพิ่มความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับกระบวนการที่ซับซ้อนมากขึ้น AI Vision สามารถใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์แบบเรียลไทม์ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และช่วยให้ระบบอัตโนมัติสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง โดยผสานกับ PLC และระบบนิวเมติกส์เพื่อให้เกิดความแม่นยำและการตอบสนองที่รวดเร็ว นอกจากนี้ AI Vision ยังสามารถพัฒนาไปสู่การตรวจสอบกระบวนการผลิตแบบอัจฉริยะ ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต

นวัตกรรมอื่น ๆ

นวัตกรรมชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรเคลื่อนที่สำหรับแปรรูปผลไม้เขตร้อนในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

คณะวิศวกรรมศาสตร์

นวัตกรรมชุดโรงงานพร้อมเครื่องจักรเคลื่อนที่สำหรับแปรรูปผลไม้เขตร้อนในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

-

บอทเทิลแบงค์ - ตู้รับซื้อขยะอัตโนมัติสำหรับพลาสติกและกระป๋อง

คณะวิทยาศาสตร์

บอทเทิลแบงค์ - ตู้รับซื้อขยะอัตโนมัติสำหรับพลาสติกและกระป๋อง

โครงงานนี้พัฒนาตู้รับซื้ออัตโนมัติสำหรับขวดพลาสติกและกระป๋อง โดยใช้ Machine Learning ในการจำแนกประเภทบรรจุภัณฑ์ผ่านการประมวลผลภาพ ร่วมกับระบบเซนเซอร์อัจฉริยะในการตรวจสอบคุณภาพของบรรจุภัณฑ์และควบคุมการทำงาน ระบบเชื่อมต่อกับ Web Application เพื่อแสดงผลและควบคุมการทำงานแบบเรียลไทม์ เมื่อยืนยันประเภทบรรจุภัณฑ์แล้ว จะคำนวณราคาและจ่ายเงินผ่าน e-wallet หรือออกคูปองแลกเงินสดโดยอัตโนมัติ ระบบนี้สามารถติดตั้งในพื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ช่วยลดการปนเปื้อนและเพิ่มประสิทธิภาพการรีไซเคิล อีกทั้งยังสร้างแรงจูงใจทางการเงินให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมากขึ้น โครงงานนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการผสมผสาน Machine Learning และระบบเซนเซอร์อัจฉริยะในการพัฒนาโซลูชันการจัดการขยะที่แม่นยำ สะดวก และยั่งยืน **

การพัฒนาวัสดุเส้นใยนาโนคาร์บอนคอมโพสิทเป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวดสำหรับกักเก็บพลังงาน

วิทยาลัยการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม

การพัฒนาวัสดุเส้นใยนาโนคาร์บอนคอมโพสิทเป็นตัวเก็บประจุยิ่งยวดสำหรับกักเก็บพลังงาน

งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาเส้นใยนาโนคาร์บอนที่มีโครงสร้างหลายเฟสผสมออกไซด์ของโลหะ (CNF@MOx; M = Ag, Mn, Bi, Fe) โดยฝังอนุภาคนาโนของเงิน แมงกานีส บิสมัท และเหล็ก ลงในเส้นใยนาโนคาร์บอนที่ได้จากพอลิอะคริโลไนไตรล์ (PAN) ผ่านเทคนิคอิเล็กโทรสปินนิ่งและผ่านการอบชุบในบรรยากาศอาร์กอน ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าเส้นใยนาโนที่ได้มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 559-830 นาโนเมตร และมีอนุภาคนาโนฝังตัวขนาด 9-21 นาโนเมตร การวิเคราะห์เชิงโครงสร้างยืนยันการมีอยู่ของสถานะออกซิเดชันต่างๆ ของโลหะออกไซด์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกลไกการเก็บประจุไฟฟ้า ผลการทดสอบทางไฟฟ้าเคมีพบว่า CNF@Ag/Mn/Bi/Fe-20 มีค่าความจุจำเพาะสูงสุดที่ 156 F g⁻¹ ที่อัตราการสแกน 2 mV s⁻¹ และมีเสถียรภาพสูง โดยยังคงค่าความจุได้มากกว่า 96% หลังจากการชาร์จ-คายประจุ 1400 รอบ กลไกการเก็บประจุของเส้นใยนี้เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างความสามารถในการเก็บประจุแบบชั้นคู่ไฟฟ้าและกระบวนการรีดอกซ์ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุอิเล็กโทรดสำหรับตัวเก็บประจุยิ่งยวด