แผ่นเจลแปะหน้าผากสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อบรรเทาอาการเครียดและปวดศีรษะ ซึ่งมักเกิดจากการทำงานหนัก การใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ หรือสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว โดยมีส่วนประกอบหลักเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น ใบสะระแหน่ ใบสะเดา ใบบัวบก ว่านหางจระเข้ และสมุนไพรอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตภัณฑ์นี้ปราศจากส่วนผสมของแอลกอฮอล์ จึงปลอดภัยต่อการใช้งาน ช่วยให้ผิวรู้สึกเย็นสบาย ผ่อนคลาย สดชื่น และใช้งานได้ง่าย สะดวกในการพกพาและสามารถใช้งานได้ในทุกสถานการณ์
ที่มา จากการศึกษาคุณสมบัติของสมุนไพรไทยที่มีประโยชน์ในการบรรเทาอาการต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของการลดความร้อนและการบรรเทาอาการปวดหัว สมุนไพรบางชนิด เช่น ตะไคร้, มะกรูด, และใบสะระแหน่ มีคุณสมบัติในการเย็นและลดอาการปวดได้ดี ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สะดวกและใช้งานง่ายในรูปแบบของแผ่นเจลแปะหน้าผาก ที่สามารถแปะบนหน้าผากเพื่อช่วยลดอาการไม่สบายต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ความสำคัญ การตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกสบายและปลอดภัยในการบรรเทาอาการต่างๆ โดยไม่ต้องพึ่งพายาหรือวิธีการรักษาที่ซับซ้อน แผ่นเจลแปะหน้าผากที่ใช้สมุนไพรจากธรรมชาติช่วยให้ผู้ใช้สามารถบรรเทาอาการปวดหัวหรือไข้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้สารเคมีหรือยาที่มีสารเสพติด
คณะวิศวกรรมศาสตร์
หัวข้อโครงงานที่นำเสนอคือระบบคัดแยกขยะ (Garbage Sorting Systems) จุดประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานและพัฒนาระบบคัดแยกขยะที่สามารถตรวจจับประเภทของขยะได้อย่างอัตโนมัติ โดยใช้เซ็นเซอร์ Proximity ในการแยกประเภทของขยะที่เป็นวัตถุโลหะและอโลหะ รวมถึงใช้เซ็นเซอร์ Ultrasonic ในการตรวจสอบปริมาณขยะภายในถัง หากปริมาณขยะเกินกำหนด ระบบจะส่งการแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์สื่อสารที่เชื่อมต่อกับระบบ เช่น สมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์ การทำงานของระบบถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะ ลดภาระการคัดแยกขยะด้วยมือ และส่งเสริมการรีไซเคิล โดยสามารถนำระบบนี้ไปประยุกต์ใช้ในสถานที่ต่างๆ เช่น สถานศึกษา หรือสถานที่สาธารณะ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะที่ไม่ถูกแยกอย่างถูกต้อง และเพิ่มโอกาสในการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
การศึกษานี้มุ่งเน้นการออกแบบ การผลิต และการติดตั้งแนวปะการังเทียมแบบแยกส่วนที่พิมพ์ด้วยเทคโนโลยี 3 มิติ (3DMARs) บริเวณเกาะไข่ จังหวัดชุมพร ประเทศไทย โดยใช้กรอบแนวคิดการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ร่วมมือกับบริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง งานวิจัยนี้กำหนดเกณฑ์การออกแบบและวิธีการติดตั้งโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิจัยเชิงคุณภาพ หลักการสำคัญที่ระบุได้ ได้แก่ ความเป็นโมดูลาร์ (Modularity), ความยืดหยุ่น (Flexibility), ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) และการใช้งานได้จริง (Usability) โดยใช้แนวทางที่มุ่งเน้นผู้ใช้งานเพื่อให้แนวปะการังเทียมสามารถขนส่งและติดตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นและการปฏิบัติที่ยั่งยืน การออกแบบแบบโมดูลาร์ช่วยให้สามารถขยายขนาดได้ง่าย ส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและการตั้งถิ่นฐานของตัวอ่อนปะการัง นอกจากนี้ เทคนิคการติดตามผลใต้น้ำยังช่วยให้สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเฉพาะพื้นที่ ซึ่งนำไปสู่การสร้างแบบจำลองดิจิทัลทวิน (Digital Twin) งานวิจัยนี้นำเสนอกรอบแนวทางปฏิบัติสำหรับการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเล และช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับชุมชนชายฝั่งในประเทศไทยและในระดับสากล
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
โครงสร้างกระดูกจากวัสดุชีวภาพเป็นวัสดุที่ช่วยให้การฟื้นฟู หรือซ่อมแซ่มเนื้อเยื้อกระดูกได้อย่างรวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งนี้ตัววัสดุที่เป็นโครงสร้างสามารถที่จะย่อยสลายภายในร่างกาย หรือในระบบชีวภาพได้เป็นอย่างดี ในงานนี้จึงนี้จุดมุ่งหมายในการศึกษาถึงวัสดุ รูปร่าง และกระบวนการผลิตในการพิมพ์ 3 มิติด้วยเทคนิคการหลอมละลายเส้นพลาสติก (fused deposition modeling: FDM) ที่เหมาะสม ซึ่งได้ใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อทำนายคุณสมบัติเชิงกลของโครงสร้างกระดูกที่มีรูปร่าง และขนาดรูพรุนที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามวัสดุที่ใช้การศึกษานี้ ได้แก่ พอลีแลคติคแอซิด (polylactic acid: PLA) พอลิคาโพรแลกโตน (polycaprolactone: PCL) และ ไฮดรอกซิลอะพาไทต์ (hydroxyapatite: HA)