KMITL Innovation Expo 2025 Logo

สับปะรดแปรรูป

รายละเอียด

การศึกษาเรื่องสับปะรดแปรรูป มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลดปัญหาสับปะรดที่กำลังจะเป็นของเสียจากปัญหา Climate change และเพื่อหากรรมวิธีที่มีความเหมาะสมกับการแปรรูปของสับปะรดสายพันธุ์ โดยผู้จัดทำเลือกใช้กรรมวิธีการอบแห้ง หรือ Dehydration ในการแปรรูป เนื่องจากมีความเหมาะสมด้านคุณสมบัติของพันธุ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่สุด และลดของเสียที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดคุณค่ากับผลผลิตมากที่สุด การศึกษานี้ทำขึ้นเพื่อพัฒนาการแปรรูปสับปะรดสายพันธุ์ใหม่ นำหลักการการแปรรูปหลากหลายรูปแบบมาปรับให้เข้ากับสับปะรดสายพันธุ์นี้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรให้มากขึ้น และลดปัญหาของเสียที่กำลังจะเกิดได้จำนวนมาก อีกทั้งยังมีโอกาสในการทำตลาดในอนาคตอีกด้วย

วัตถุประสงค์

เนื่องด้วยปัจจุบันสภาพแวดล้อมบนโลกมีผลกระทบหลายๆอย่าง เช่น สภาวะโลกร้อน ซึ่งสร้างผลกระทบกับผลไม้เกือบทุกชนิดบนโลก หนึ่งในนั้นคือ สับปะรด แม้สับปะรดจะเป็นพืชที่ปลูกได้ดีในสภาพอากาศแห้งแล้ง แต่เมื่อออกผล สภาพแวดล้อมก็ส่งผลต่อผลผลิตของสับปะรดเช่นกัน ทำให้ผลของสับปะรดเกิดความเสียหาย ไม่สามารถนำไปทำการค้าขายได้ทั้งหมด หรือรับประทานสดได้ สับปะรดเป็นผลไม้ที่เหมาะทั้งการรับประทานสด และแปรรูป ซึ่งการรับประทานสด จะโดดเด่นในด้านที่ดีต่อสุขภาพ เพราะมีสารบรอมีเลนที่สำคัญในการช่วยเหลือระบบย่อยอาหาร และสร้างภูมิคุ้มกันต่างๆได้ แต่เมื่อเกิดปัญหาสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้สับปะรดผลสดเกิดความเสียหายอย่างรอบด้านไม่ว่าจะเป็น ตาแตก หรือผิวสับปะรดไหม้ ทำให้การรับประทานผลสดไม่เหมาะสมเท่าที่ควร ในหลาย ๆ แห่งจึงมีการปรับตัวเมื่อทราบสถานการณ์ดังกล่าว จึงหาทางแก้ไขด้วยการนำสับปะรดมาแปรรูปเป็นลักษณะต่าง ๆ มากมายเพื่อให้เกิดคุณค่ากับผลผลิต และลดของเสียที่เกิดขึ้น สับปะรดพันธุ์จินจ้วน หรือใต้หวันหมายเลข 17 เป็นสับปะรดที่สามารถปลูกได้หลายแห่งบนโลกและในไทย ซึ่งมักเกิดปัญหาตาแตก ด้วยเนื้อที่แน่น และจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงในไทยอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นของเสียทิ้งเปล่า สับปะรดพันธุ์ดังกล่าวมีคุณสมบัติที่เหมาะสมทั้งรับประทานสด เพราะมีลักษณะสีเหลืองทอง เนื้อแน่น มีความหวานอยู่ที่ระดับ 14 บริกซ์ และการแปรรูป เนื่องจากมีคุณสมบัติที่มีความเหมาะสม เช่น มีเส้นใยที่เล็ก และนุ่ม ทำให้รับประทานง่าย ไม่เหนียว ทำให้การแปรรูปจึงมีความเหมาะสมตามคุณสมบัติ แต่ก็สามารถใช้ได้ในบางกรรมวิธีเท่านั้น จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้จัดทำจึงมีความสนใจในการทำสับปะรดแปรรูปจากของเสียที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยการนำผลที่ใกล้พร้อมการเก็บเกี่ยวมาแปรรูป เพื่อลดปริมาณของเสีย จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรวดเร็ว และหากรรมวิธีในการแปรรูปที่มีความเหมาะสม เพื่อยืดอายุ สร้างคุณค่า และสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว

นวัตกรรมอื่น ๆ

การผลิตเชื้อต้นแบบ Lactic acid bacteria ในการผลิต Probiotic จากประเทศไทยที่สามารถใช้ในระบบผลิตปศุสัตว์

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การผลิตเชื้อต้นแบบ Lactic acid bacteria ในการผลิต Probiotic จากประเทศไทยที่สามารถใช้ในระบบผลิตปศุสัตว์

สารปฏิชีวนะ (Antibiotic) ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบการผลิตปศุสัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นภูมิคุมกัน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยและดูดซึมโภชนะ กระตุ้นการเจริญเติบโต ปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร และลดการเกิดการติดเชื้อก่อโรค โดยเฉพาะกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคท้องเสีย เป็นต้น นอกจากนั้น สารปฏิชีวนะยังมีส่วนช่วยในเรื่องของผลตอบแทนทางเศรฐกิจอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สารปฏิชีวนะที่ไม่ถูกวิธีก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการตกค้างของสารปฏิชีวนะในผลิตภัณฑ์ การดื้อยาในสัตว์และผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้หลายประเทศห้ามไม่ให้ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต เช่น สหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น และยังมีอีกหลายๆ ประเทศที่มีการวางแผนที่จะห้ามไม่ให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ เช่น ประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะที่ประเทศไทยได้มีประกาศควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์โดยมีผลบังคับใช้ทั้งระดับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ และฟาร์มที่ผสมอาหารสัตว์ใช้เองตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563 ดังนั้น การทดแทนการใช้สารปฏิชีวนะด้วย Probiotic ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาเชื้อ Lactic acid bacteria ที่มีอยู่ในระบบทางเดินอาหารของไก่เนื้อ สุกร และโคเนื้อ ที่มีคุณสมบัติเป็น Probiotic ที่มีความเหมาะสมต่อการใช้ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นเชื่อต้นแบบทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ Probiotic กลุ่ม Lactic acid bacteria จากต่างประเทศที่มักจะประสบปัญหาเรื่องอัตราการรอดชีวิตเมื่อนำไปใช้จริง

การพัฒนาชาจากเปลือกและเมล็ดของลำไย

คณะบริหารธุรกิจ

การพัฒนาชาจากเปลือกและเมล็ดของลำไย

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาชาจากเปลือกและเมล็ดของลำไย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากลำไย ในอำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ผลการศึกษาพบว่าจากกระบวนการผลิตลำไยอบแห้ง จะมีผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้คือเปลือกและเมล็ดลำไย ซึ่งสามารถนำมาแปรรูปเป็นชาผงสำเร็จรูปพร้อมดื่มได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการเกิดขยะจากกระบวนการผลิต ยังมีส่วนช่วยสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ดังกล่าวเพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง

เทคโนโลยีการผลิตไอน้ำสมุนไพร สำหรับการป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูพืชอย่างปลอดภัย

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

เทคโนโลยีการผลิตไอน้ำสมุนไพร สำหรับการป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูพืชอย่างปลอดภัย

การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรด้วยเทคโนโลยี “ไอน้ำสมุนไพร” ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาจากความรู้ของคนในชุมชนบ้านรางยอม ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง จึงต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี “กระบวนการผลิตไอน้ำสมุนไพร” ให้กับชุมชนที่ด้อยโอกาสทางเทคโนโลยี เป็นการพัฒนาทักษะอาชีพของเกษตรในรูปแบบของกลุ่มเกษตร ให้เกิดความเท่าเทียมทางการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค รวมทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตลงได้ หลักการทำงานของชุดกลั่นไอน้ำสมุนไพร เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิต “ไอน้ำสมุนไพร” ตามวิธีการของปราชญ์ชุมชนบ้านรางยอม อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี กับองค์ความรู้ด้านการใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืชในการป้องกันกำจัดแมลงและไรพืชของนักวิจัย คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สามารถอธิบายรายละเอียดของเทคโนโลยีการผลิตได้ดังต่อไปนี้ การกลั่น “ไอน้ำสมุนไพร” เป็นหลักการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรโดยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ (Water distillation) ทั่วไป เพียงแต่ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากการกลั่นแล้วนั้น ได้น้ำและน้ำมันหอมระเหยจากพืชอยู่รวมกัน ซึ่งไม่มีขั้นตอนการแยกออกจากกัน แต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เรียกของผสมนี้ว่า “ไอน้ำสมุนไพร” วิธีการผลิตไอน้ำสมุนไพรเพื่อใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูพืช ดังนี้ 1. การเตรียมพืชสมุนไพรรวม 50 กิโลกรัม (ตามสูตรของแต่ละชุมชน ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามชนิดของแมลงและไรศัตรูพืช และชนิดของพืชปลูก) 2. นำพืชสมุนไพรตามสูตรมาสับให้ละเอียด ผสมกับน้ำสะอาด 50 ลิตร ใส่ในถังกลั่นขนาด 200 ลิตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝา รอจนน้ำเดือดเป็นไอออกมา ไอน้ำจะพาน้ำมันหอมระเหยจากพืชออกมาทางท่อทางออกของไอน้ำ ท่อนั้นผ่านไปยังถังควบแน่น และถูกควบแน่นเป็นของเหลวไหลออกมา สารที่ได้เรียกว่า “ไอน้ำสมุนไพร” ควบคุมคุณภาพการกลั่นโดยให้ได้ไอน้ำสมุนไพร 30 ลิตร (ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง) จึงหยุดกระบวนการกลั่น 3. ผสมไอน้ำสมุนไพรที่ได้ทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพิ่มสารช่วยผสมระหว่างน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรและน้ำด้วยสารช่วยผสม เช่น ปิโตรเลียมออยล์ ไวท์ออยล์ สารทวีน หรือสารจับใบ อัตรา 5 ซีซี ต่อ ลิตร เขย่าให้เข้ากัน บรรจุใส่ขวดพลาสติกทึบแสง 4. อัตราการใช้และวิธีการใช้ไอน้ำสมุนไพรในการป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูพืช - เป็นสารไล่ ใช้ในอัตรา 80-100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 15 วัน สามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงและไรศัตรูพืชได้ - เป็นสารฆ่า ใช้ในอัตรา 200-400 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 3-4 วัน อย่างต่อเนื่อง สามารถฆ่าแมลงและไรศัตรูพืชได้"