KMITL Innovation Expo 2025 Logo

เมมเบรนกราฟีนออกไซด์คอมพอสิตสำหรับกำจัดของเสียในแหล่งน้ำ

เมมเบรนกราฟีนออกไซด์คอมพอสิตสำหรับกำจัดของเสียในแหล่งน้ำ

รายละเอียด

ในงานวิจัยนี้ ทำการผลิตเมมเบรนกราฟีนออกไซด์โดยใช้กระบวนการ Phase-Inversion Method ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสถานะของพอลิเมอร์จากของเหลวไปเป็นของแข็งผ่านการแยกเฟส ซึ่งจะทำให้เกิดโครงสร้างรูพรุนในเมมเบรน โครงสร้างของเมมเบรนที่ได้ขึ้นอยู่กับวิธีการทำให้เกิดการแยกเฟส โดยวิธี Phase-Inversion เป็นหนึ่งในกระบวนการผลิตเมมเบรนที่มีความยืดหยุ่นสูง ต้นทุนต่ำ และสามารถควบคุมโครงสร้างของเมมเบรนได้ดี เหมาะสำหรับงานด้านการบำบัดน้ำ การแยกสาร และการกรองของเหลวหรือก๊าซในระดับอุตสาหกรรม กราฟีนออกไซด์ (Graphene Oxide, GO) เป็นวัสดุที่ได้รับความสนใจอย่างมากในด้านการนำมาผลิตเมมเบรนเพื่อใช้สำหรับบำบัดน้ำและการกำจัดของเสีย เนื่องจากมีโครงสร้างเป็นชั้นบางระดับนาโนเมตร ทำให้สามารถควบคุมการซึมผ่านของโมเลกุลน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น - การคัดแยกโมเลกุลที่มีประสิทธิภาพสูง: สามารถกรองอนุภาคนาโน ไอออนโลหะหนัก สารอินทรีย์ และจุลินทรีย์ได้ - ความสามารถในการซึมผ่านน้ำสูง: เนื่องจากโครงสร้างของกราฟีนออกไซด์มีช่องว่างระหว่างชั้นที่เอื้อต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลน้ำ - ความทนทานทางเคมีและเชิงกลสูง: ทำให้สามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง เช่น น้ำเสียอุตสาหกรรม หรือของเสียที่มีค่า pH สูงหรือต่ำได้ - คุณสมบัติการป้องกันการเปรอะเปื้อน (Antifouling): ลดการสะสมของสารปนเปื้อนบนพื้นผิวเมมเบรน - กราฟีนออกไซด์มีความชอบน้ำสูงเนื่องจากมีปริมาณหมู่ฟังชันของออกซิเจนอย่าง (OH-) ที่พื้นผิวที่ค่อนข้างมาก ส่งผลให้เป็นเป็นสารเติ่มแต่งที่ดีสำหรับการผลิตเมมเบรนด้วยเทคนิค Phase-Inversion Method การประยุกต์ใช้เมมเบรนกราฟีนออกไซด์ในการกำจัดของเสีย - การบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม เช่น การกรองโลหะหนัก (Pb2+, Cr6+, Hg2+) และสารอินทรีย์ที่เป็นพิษ - การกำจัดสารปนเปื้อนทางชีวภาพ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และสารพิษจากจุลินทรีย์ - การแยกเกลือออกจากน้ำทะเล (Desalination) โดยสามารถใช้แทนเมมเบรนแบบดั้งเดิมเพื่อเพิ่มอัตราการซึมผ่านของน้ำและลดพลังงานที่ใช้ - การกำจัดสารปนเปื้อนทางเภสัชกรรม เช่น ยาปฏิชีวนะและฮอร์โมนที่ตกค้างในน้ำ

วัตถุประสงค์

ปัญหามลพิษทางน้ำจากโลหะหนัก สารอินทรีย์ และจุลินทรีย์ในน้ำเสียอุตสาหกรรมและน้ำธรรมชาติกำลังเป็นปัญหาระดับโลก เทคโนโลยีเมมเบรน ได้รับความสนใจเนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงในการกรองและบำบัดน้ำ กราฟีนออกไซด์ (GO) เป็นวัสดุที่มีโครงสร้างระดับนาโนและคุณสมบัติพิเศษ เช่น การซึมผ่านน้ำสูง ความทนทานทางเคมี และการคัดแยกสารปนเปื้อนอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การพัฒนาเมมเบรนกราฟีนออกไซด์ผ่านกระบวนการ Phase-Inversion Method จึงเป็นแนวทางสำคัญในการสร้าง เมมเบรนคุณภาพสูง ราคาประหยัด และเหมาะสำหรับการใช้งานด้านสิ่งแวดล้อม

นวัตกรรมอื่น ๆ

การพัฒนาเรื่องความปลอดภัยการใช้เอ็กซ์ลิฟท์ในสายการประกอบรถยนต์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การพัฒนาเรื่องความปลอดภัยการใช้เอ็กซ์ลิฟท์ในสายการประกอบรถยนต์

บริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทที่มีนโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัย คือ ความเสี่ยงเป็นศูนย์ อุบัติเหตุเป็นศูนย์ และบริษัทมีการเก็บสถิติของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในโรงงานเมื่อปี พ.ศ.2567ที่ผ่านมามีการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด 5 ครั้ง โดยหนึ่งในนั้นเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นที่สายการประกอบที่อยู่ในการดูแลของแผนก Production Engineer Assembly ที่ดิฉันได้ฝึกงานอยู่ ดิฉันจึงมีการนำปัญหานี้มาแก้ไข โดยการวิเคราะห์ปัญหา แจกแจง เลือกวิธีการแก้ไขปัญหา จนได้มาเป็นการใช้ระบบกล้องวงจรปิดที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เข้ามาตรวจจับพฤติกรรมของพนักงาน เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่จะมีความเสี่ยงเกิดขึ้น โดยการสอนปัญญาประดิษฐ์ด้วยภาพที่มีการทำงานผิดปกติของพนักงาน หรือความผิดปกติของอุปกรณ์จำพวกสายพาน, ลิฟท์ขากรรไกร, พาเลท (pallet) จากนั้นถึงออกแบบแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์(Software) จนทำ ให้ระบบกล้องวงจรปิดที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สามารถตรวจจับได้ ส่งผลให้หลังจากการติดตั้ง ไม่เกิดอุบัติเหตุในบริเวณนั้นอีก ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ลดการสูญเสียที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายจากการเกิดอุบัติเหตุ การเทรนพนักงานใหม่ ทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน หรืออื่นๆอีกมากมาย

ทองโบราณ ขนมพราวแดนดิน

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ทองโบราณ ขนมพราวแดนดิน

ขนมทองโบราณ หรือที่พื้นที่เรียกกันว่าขนมขี้มัน ซึ่งเป็นขนมที่มีส่วนผสมของแป้งที่ทำมาจากข้าวเหลืองปะทิว

แอพพลิเคชันสำหรับการแพทย์ทางไกล

คณะวิศวกรรมศาสตร์

แอพพลิเคชันสำหรับการแพทย์ทางไกล

แอพพลิเคชันสำหรับการแพทย์ทางไกล เป็นระบบต้นแบบที่มีฟังก์ชันพื้นฐานสำหรับการสื่อสารวินิจฉัยอาการระหว่างผู้ป่วย พยาบาล และแพทย์ ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เร้นซ์ ที่มีการแบ่งตามห้องวินิจฉัย และสามารถบันทึกข้อมูลผู้ป่วยได้ โดยเปิดระบบเป็นโอเพ่นซอสเพื่อให้ผู้อื่นใช้พัฒนาต่อยอด