KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การกำกับภาพยนตร์แอนิเมชันสั้น 3 มิติ เรื่อง “สงครามในม่านหมอก”

การกำกับภาพยนตร์แอนิเมชันสั้น 3 มิติ เรื่อง “สงครามในม่านหมอก”

รายละเอียด

ผลงานศิลปนิพนธ์หัวข้อเรื่อง “สงครามในม่านหมอก” เป็นการนำเสนอเรื่องราวที่ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นชื่อเดียวกันของ ผศ. ชาติณรงค์ วิสุตกุล เมื่อปี 2546 เกี่ยวกับโลกอนาคตที่ผู้คนแก่งแย่งและเห็นแก่ตัวจนก่อให้เกิดสงครามทำให้ผู้คนต้องพึ่งพา “เครื่องหายใจ” ในการใช้เพื่ออยู่รอดใน “หมอกพิษสีแดง” ภาคิน เด็กหนุ่มวัย 15 ต้องเดินทางร่วมกับกลุ่มผู้อพยพ พวกเขาเดินทางผ่านเมืองร้าง และบังเอิญพบเข้ากับเด็กชายไร้เครื่องหายใจที่พึ่งกำพร้าพ่อ ภาคินตัดสินใจช่วยเหลือ แม้คนอื่นจะไม่เห็นด้วยก็ตาม เด็กชายพยายามจะปลิดชีวิตตัวเองโดยการปิดเครื่องหายใจ ภาคินที่เข้าไปยื้อชีวิตเด็กกลับหมดสติลงจากการหายใจเอาอากาศพิษเข้าไป คนอื่น ๆ ที่เห็นสิ่งที่ภาคินทำเพื่อช่วยเพื่อนมนุษย์ ได้สำนึกและร่วมมือกันช่วยชีวิตทั้งสอง ภาคินทำให้ทุกคนรู้ว่า ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก มนุษย์เราต้องร่วมมือ ช่วยเหลือกันไม่ใช่แตกแยก และเห็นแก่ตัว

วัตถุประสงค์

ภาพยนตร์ศิลปนิพนธ์ชิ้นนี้เกิดจากความสนใจส่วนตัวเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานภาพยนตร์ และการกำกับศิลป์ ในรูปแบบของแอนิเมชัน 3 มิติ ด้วยโปรแกรม Unreal Engine เป็นหลัก ซึ่งข้าพเจ้าได้มีโอกาสอ่านผลงานเรื่องสั้น เรื่อง “สงครามในม่านหมอก” เขียนโดย ผศ. ชาติณรงค์ วิสุตกุล ที่ถูกตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2546 และมีการพูดถึงเกี่ยวกับเหตุการณ์หลังสงครามที่คล้ายคลึงกับการเหตุการณ์ในปัจจุบัน จึงอยากนำเรื่องสั้นเรื่องนี้มาพัฒนาเป็นภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ ที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของการกระทำและความคิดของมนุษย์ นำเสนอให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในปัจจุบันคือ ปัญหามลพิษ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และน่าสนใจ ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของโลกหลังสงครามที่ผู้คนต้องพึ่งพา “เครื่องหายใจ” ในการใช้ชีวิต ภาคิน เด็กหนุ่มอายุ 15 ปีที่กำลังพาครอบครัวลี้ภัยจาก “หมอกพิษสีแดง” ร่วมกับกลุ่มผู้อพยพ พวกเขาเดินทางผ่านเมืองร้าง และบังเอิญพบเข้ากับสองพ่อลูกที่ไม่มีเครื่องหายใจ ภาคินตัดสินใจช่วยเหลือพวกเขาแม้คนอื่นไม่เห็นด้วยก็ตาม แล้วผู้เป็นพ่อก็สิ้นใจในเวลาต่อมา เด็กชายพยายามจะปลิดชีวิตตัวเองโดยการปิดเครื่องหายใจ ภาคินที่เข้าไปยื้อชีวิตเด็กได้หมดสติลงจากการหายใจเอาอากาศพิษเข้าไป ปราณเห็นสิ่งที่ภาคินทำเพื่อช่วยเหลือเขาและคนอื่น ได้สำนึกและช่วยชีวิตทั้งสองภาคินทำให้ทุกคนรู้ว่า ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก มนุษย์เราต้องร่วมมือ ช่วยเหลือกันไม่ใช่แตกแยก และเห็นแก่ตัว

นวัตกรรมอื่น ๆ

โครงการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเครื่องขายของอัตโนมัติ

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

โครงการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเครื่องขายของอัตโนมัติ

การออกแบบกราฟฟิกตู้ขายของอัตโนมัติ และพื้นที่โดยรอบขนาด 5*6 เมตร โดยนำแบรนด์สกินแคร์ INGU เป็นสินค้า

การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณกรดแทนนิกเชิงสีในตัวอย่างเครื่องดื่มด้วยอนุภาคแพลทินัมนาโนที่ปรับปรุงด้วยกรดแกลลิกโดยอาศัยปรากฎการณ์การแทนที่ของสารรักษาเสถียรภาพ

คณะวิทยาศาสตร์

การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ปริมาณกรดแทนนิกเชิงสีในตัวอย่างเครื่องดื่มด้วยอนุภาคแพลทินัมนาโนที่ปรับปรุงด้วยกรดแกลลิกโดยอาศัยปรากฎการณ์การแทนที่ของสารรักษาเสถียรภาพ

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการวิเคราะห์เชิงสี (Colorimetric detection) สำหรับตรวจวัดกรดแทนนิก (tannic acid) ในตัวอย่างเครื่องดื่มจากพืช โดยอาศัยปรากฏการณ์การแทนที่ (displacement phenomenon) ของสารรักษาเสถียรภาพบนพื้นผิวของอนุภาคแพลทินัมนาโน (PtNPs) ที่ถูกรักษาเสถียรภาพด้วยกรดแกลลิก (gallic acid) ซึ่งกรดแกลลิกสามารถรักษาเสถียรภาพของ PtNPs ให้อยู่ในรูปของอนุภาคที่รวมตัวกันและให้สารคอลลอยด์ที่เป็นสีเขียว โดยกรดแทนนิกสามารถแทนที่กรดแกลลิกบนพื้นผิวของ PtNPs ได้ง่าย ส่งผลให้อนุภาคที่รวมตัวกันเกิดการกระจายตัวและเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นส้ม−น้ำตาล และภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ตัวตรวจวัดเชิงสีแสดงค่าการตอบสนองเชิงเส้นในช่วงความเข้มข้น 1−2,000 µmol L⁻¹ (R² = 0.9991) โดยมีขีดจำกัดในการตรวจวัด (LOD) และขีดจำกัดเชิงปริมาณ (LOQ) ที่ 0.02 และ 0.09 µmol L⁻¹ ตามลำดับ ตัวตรวจวัดเชิงสีที่พัฒนาขึ้นมีความจำเพาะสูงต่อกรดแทนนิกและไม่ถูกรบกวนจากสารอื่น อีกทั้งยังมีค่าความแม่นยำที่ดี (RSD = 1.00%−3.36%) ที่สำคัญคือ ให้ค่าการคืนกลับ (recovery) อยู่ในช่วง 95.0−104.7% แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเซนเซอร์คัลเลอริเมตริกที่สามารถตรวจวัดกรดแทนนิกได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำในตัวอย่างเครื่องดื่มจริง แม้ว่าวิธีการตรวจวัดกรดแทนนิกที่ถูกพัฒนาขึ้นจะเป็นเทคนิคที่รวดเร็วในการตรวจวัดกรดแทนนิก แต่ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับความไว (sensitivity) และความแม่นยำ (accuracy) ของการวิเคราะห์ โดยเฉพาะเมื่อมีสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) รบกวน ดังนั้น จึงพัฒนาวิธีเตรียมตัวอย่างเพื่อย่อยสลายแอนโทไซยานินในเครื่องดื่มเพื่อลดการรบกวนของสารที่มีสีต่อการตรวจวัดเชิงสีสำหรับวิเคราะห์ปริมาณกรดแทนนิกในเครื่องดื่ม

เซนเซอร์ตรวจวัดสารซาลบูทามอลทางเคมีไฟฟ้าโดยใช้เทคนิคพอลิเมอร์ลอกแบบโมเลกุลร่วมกับวัสดุนาโนคอมพอสิตคอปเปอร์ออกไซด์และกราฟิติกคาร์บอนไนไตรด์

วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ

เซนเซอร์ตรวจวัดสารซาลบูทามอลทางเคมีไฟฟ้าโดยใช้เทคนิคพอลิเมอร์ลอกแบบโมเลกุลร่วมกับวัสดุนาโนคอมพอสิตคอปเปอร์ออกไซด์และกราฟิติกคาร์บอนไนไตรด์

การใช้เซนเซอร์ทางเคมีไฟฟ้าร่วมกับแสงเพื่อตรวจวัดสารเร่งเนื้อแดงที่มีชื่อว่า "ซาลบูทามอล(Salbutamol)" โดยอาศัยเทคนิคพอลิเมอร์ลอกแบบโมเลกุลในการตรวจวัดร่วมกับวัสดุนาโนคอมพอสิตคอปเปอร์ออกไซด์และกราฟิติกคาร์บอนไนไตรด์(CuO/g-C₃N₄ Nanocomposite) ในการเพิ่มประสิทธิภาพของเซนเซอร์