งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ปลาดุกเส้นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา 2) พัฒนาฉลากสินค้าปลาดุกเส้น และ 3) ประเมินระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีต่อฉลากสินค้าที่พัฒนาขึ้น โดยศึกษาจาก สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา จำนวน 17 คน และผู้บริโภค จำนวน 151 คน วิธีการวิจัยประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการใช้แบบสอบถาม เพื่อรวบรวมข้อมูลความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่า ฉลากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนามีความสามารถในการดึงดูดความสนใจและสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ได้ โดยสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนาและผู้บริโภคมีระดับความพึงพอใจต่อฉลากสินค้าในระดับมาก (x ̅= 4.17 และ 3.75 ตามลำดับ)
ปลาดุกถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่เป็นที่นิยมเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน ปลาดุกเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ปลาดุกเป็นปลาน้ำจืดจำพวกไม่มีเกล็ดที่ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำโคลน ไม่ชอบน้ำใสอยู่ได้ทั้งในน้ำนิ่งและน้ำไหล เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว และเนื้อมีรสชาติดี อยู่ในความนิยมของคนไทยโดยเฉพาะ “ปลาดุกบิ๊กอุย” ปัจจุบันปลาดุกบิ๊กอุยเป็นที่ต้องการของตลาดเฉลี่ย 107,584 ตัน ด้วยเหตุนี้เกษตรกรจึงได้เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยมากขึ้น และสามารถสร้างรายได้สูง เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 62,951.22 บาทต่อเดือน (กรมประมง, 2559) แต่เมื่อมีเกษตรกรเริ่มมีการเลี้ยงปลาดุกมากขึ้นทำให้ราคาปลาดุกลดลง โดยมีอัตราการลดลงอยู่ที่ร้อยละ 10.5 ทำให้นายวีระวงศ์ ปั้นทองสุข ได้นำปลาดุกมาทดลองแปรรูป เริ่มจากการนำปลาดุกตัวเล็กมาแปรรูปเป็นปลาแดดเดียว และขายภายในหมู่บ้านโดยใช้รถจักรยานยนต์ ทำให้ผู้บริโภคชื่นชอบในรสชาติทำให้ขายดียิ่งขึ้น ต่อมาจึงได้พัฒนาสินค้าในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ปลาดุกเส้นเค็ม และปลาดุกเส้นหวาน และยังมีส่วนหนังที่เหลือก็ได้มีการนำมาทำหนังปลาดุกทอดกรอบขายด้วย ซึ่งสินค้าที่ได้ทำขึ้นมาได้สนอง ความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว หรือเนื้อไก่ แต่ก็เป็นที่นิยมเพียงในชุมชนเท่านั้น จึงได้เข้าจดทะเบียนสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ขึ้นกับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงได้มีโอกาสจำหน่ายสินค้าตามงานแสดงสินค้าและ จำหน่ายสินค้า OTOP ทั้งระดับจังหวัด ภูมิภาคและประเทศ ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักและได้รับการตอบรับ ซึ่งจากเดิมที่ทำคนเดียวก็ได้มีกลุ่มชาวบ้านในชุมชนเริ่มสนใจได้มาร่วมช่วยกันแปรรูปปลาดุกจนทำให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา ตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ขึ้นจนในปัจจุบันมีสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจถึง 17 คน (สำนักงานเกษตรอำเภอลำลูกกา, 2566) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา เป็นกลุ่มของเกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุก โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันคือการเพิ่มรายได้ของสมาชิก แต่เดิมนั้นสมาชิกในกลุ่มไม่มีประสบการณ์ในการทำงานในด้านการแปรรูปมาก่อน ทำให้ไม่สามารถผลิตให้ทันจำหน่าย หรือมีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร แต่ด้วยเพราะมีความสามัคคีเป็นหัวใจหลักทำให้อยู่ร่วมกันได้และช่วยกันระดมความคิด วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของกลุ่ม จัดแจงตำแหน่งการทำงานตามความถนัดและความเหมาะสม ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนาได้มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นถึงสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และยังเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน (สำนักงานเกษตรอำเภอลำลูกกา, 2566) ในปัจจุบันสินค้าได้เป็นที่ยอมรับของผู้คนบางกลุ่มจำนวนกว่า 1,000 คน แต่ก็มีผู้บริโภคบางกลุ่มที่ยังไม่ยอมรับ เนื่องจากมีปัจจัยบางอย่างที่ไม่สามารถเลือกที่จะบริโภคสินค้าดังกล่าวได้ เช่น ในกลุ่มผู้บริโภคบางกลุ่มยังไม่นิยมบริโภคปลาดุกเท่าที่ควร เนื่องจากรูปลักษณ์ของปลาดุก ความกังวลในกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ หรือภาพจำการใช้ชีวิตของปลาดุกที่มักอาศัยในโคลนตมใต้น้ำ จึงทำให้เกิดความกังวลเรื่องของความสะอาด ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในความสะอาดและรสชาติของสินค้าเท่าที่ควร จึงเลือกที่จะไม่ยอมรับในตัวสินค้านี้ จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์นี้ นั่นก็คือ การออกแบบฉลากสินค้าที่เหมาะสมกับตัวสินค้าภายใน ที่สามารถลดปัญหาในเรื่องของภาพลักษณ์ต่าง ๆ ในปลาดุก และยังเป็นฉลากสินค้าที่สามารถเข้าถึงได้กับผู้บริโภคทุกกลุ่ม
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหัวสร้างออกซิเจนชนิดหัวนาโนที่ ใช้ขนาดกำลังปั้มต่างกันในบ่ออนุบาลปลากะพง โดยทดลองใช้หัวสร้างออกซิเจนในขนาด กำลังปั้มหลายระดับเพื่อตรวจสอบการกระจายของออกซิเจนที่ละลายในน้ำและ ผลกระทบต่อ สุขภาพการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลากะพงผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าขนาดกำลังปั้มที่ต่างกันส่งผลต่อระดับออกซิเจนที่ละลายในน้ำโดยขนาดกำลังปั้มที่เหมาะสมช่วยเพิ่มการกระจาย ตัวของออกซิเจนในบ่อเลี้ยงทำให้ปลากะพงมีอัตราการรอด และการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้หัวสร้างออกซิเจนและขนาดปั้มที่เหมาะสมในระบบบ่ออนุบาลปลา การทดลองนี้แบ่งออกเป็น 2 สภาวะ คือ 1.สภาวะไม่มีปลาทดสอบความสามารถในการเติมออกซิเจนค่าสัมประสิทธิ์ในการเติมออกซิเจนอัตราการถ่ายเทออกซิเจนเเละค่าประสิทธิภาพการถ่ายเทออกซิเจนที่ได้จากปั๊มที่กำลังต่างกัน 3 ขนาด 2.สภาวะมีปลาสภาวะนี้จะทดสอบความเพียงพอ ของออกซิเจนที่ได้จากปั๊มกำลังที่ต่างกัน 3 ขนาดโดยทดลอง วัดจากอัตราการเจริญเติบโต และอัตรารอดของปลาในบ่อ นับค่าโลหิตเพื่อตรวจภูมิคุ้มกัน ข้อมูลที่ได้จะนำไปวิเคระห์ข้อมูลทางสถิติ โดยวิเคราะห์ข้อมูล แบบ RCBD ในสภาวะไม่มีปลา เเละวิเคราะห์ข้อมูลแบบบ CRD ในสภาวะที่มีปลาผ่านโปรแกรม SPSS
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
การออกแบบกราฟฟิกตู้ขายของอัตโนมัติ และพื้นที่โดยรอบขนาด 5*6 เมตร โดยนำแบรนด์สกินแคร์ INGU เป็นสินค้า
วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต
โครงงานชิ้นนี้เป็นการศึกษาการออกแบบพื้นที่เก็บเสียงแบบพกพาได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถฝึกซ้อมการใช้เสียงได้โดยไม่รบกวนพื้นที่รอบข้าง