KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การทำนายราคาทองคําจากตัวแปรเชิงปริมาณและข้อความข่าว

รายละเอียด

ปัญหาพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบจำลองการทำนายราคาทองคำโดยใช้ตัวแปรเชิงปริมาณและ ข้อมูลข้อความจากข่าว งานวิจัยนี้ใช้ตัวแปรต้น 9 ตัว ได้แก่ ราคาน้ำ มันดิบเบรนท์ ราคาน้ำมันดิบ WTI ราคาโลหะเงิน ราคาแพลทินัม อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ดัชนีตลาดหุ้น ญี่ปุ่น นิกเคอิ 225 ดัชนีค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ดัชนี S&P 500และข้อมูลข่าวจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องจะ ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing - NLP) และนำมาประยุกต์ใช้ร่วม กับแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) โดยเปรียบเทียบ 3 วิธี ได้แก่ Gradient Boosting, Machine Learning Models และ Regression Analysis จากนั้นทำการประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลองโดยใช้ตัวชี้วัด 3 ตัว ได้แก่ รากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Root Mean Square Error: RMSE), ค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Error: MAE) และ สัมประสิทธิ์การกำหนด (Coefficient of Determination: R^2) งานวิจัยนี้คาดหวังว่าแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นจะสามารถช่วยให้นักลงทุนและนักวิเคราะห์สามารถใช้ข้อมูลเชิงปริมาณและข่าวสารในการทำนายราคาทองคำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วัตถุประสงค์

ทองคำ(Gold) เป็นแร่โลหะมีค่า เป็นแร่ธาตุตามธรรมชาติซึ่งมีอยู่น้อยมาก ทองคำมีคุณสมบัติทนต่อการผุกร่อนนิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับจึงทำให้ทองคําเป็นโลหะที่มีค่าอยู่ในตัวเองและเป็นที่ยอมรับของทุกคนในสังคม ทองคำถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจโลกทองคำถูกนำมาใช้เพื่อแสดงเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง มูลค่าของทองคำนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมาย เช่น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ จำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของเหมืองทองคํา ความเสี่ยงทางการเมืองระหว่างประเทศ และความต้องการทองคำสำหรับเครื่องประดับ(ธนะเกียรติ, 2560) ดังนั้นการคาดการณ์ราคาทองคำได้อย่างถูกต้อง จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดทองคำ ต่างให้ความสนใจ ทองคํายังเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคงทางเศรษฐกิจการคลัง ทองคํามีประโยชน์ในฐานะเป็นโลหะสื่อกลางแห่งการแลกเปลี่ยนเงินตรา จึงถูกสํารองไว้เป็นทุนสํารองเงินตราระหว่างประเทศเพราะทองคํามีมูลค่าในตัวเอง ซึ่งต่างจากเงินตราสกุลต่างๆ ที่มูลค่าอาจเพิ่มหรือลดได้(สมาคมทองคำ, 2526) การทำนายราคาทองคำในปัจจุบันยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายเนื่องจากแบบจำลองที่มีอยู่ยังไม่สามารถอธิบายความผันผวนของราคาทองคำได้อย่างครอบคลุมนอกจากนี้ข้อมูลข่าวสารที่มีจำนวนมากและมีความหลากหลายทำให้การวิเคราะห์และการดึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ออกมาเป็นไปได้ยาก การพัฒนาแบบจำลองการทำนายราคาทองคำที่มีความแม่นยำสูงและสามารถนำข้อมูลข่าวสารมาใช้ในการทำนายได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อตอบสนองความท้าทายนี้ จำเป็นต้องมีการรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง รวมถึงการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูง เช่น การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อ วิเคราะห์ข้อมูลและทำนายราคาทองคำ การพัฒนาแบบจำลองที่มีความแม่นยำสูงจะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถทำการตัดสินใจได้ดีขึ้นและลดความเสี่ยงในการลงทุนได้ ราคาทองคำเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงและมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนเนื่องจากทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยในช่วงที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนความผันผวนของราคาทองคำมักถูกกระทบจากปัจจัยหลายประการหนึ่งในปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อราคาทองคำคือข้อความข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทองคำโดยตรงข่าวที่มีคำว่า "ทองคำ" หรือเกี่ยวข้องกับทองคำสามารถมีผลกระทบต่อราคาทองคำได้หลายปัจจัย จากการศึกษางานวิจัยของ รจิกาญจน์(2561) ได้ศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาทองคำในตลาดโลก มีจุดมุ่งหมายเพื่อมองภาพรวมในการเคลื่อนไหวของทิศทางราคาทองคำ โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลเกี่ยวข้องกับราคาทองคําในตลาดโลก โดยใช้ข้อมูลรายเดือนย้อนหลัง 9 ปี ช่วงปี พ.ศ. 2553-2561 โดยทําการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ จากการศึกษาพบว่ามีเพียง 7 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาทองคําในตลาดโลกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% คือ ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐฯ (Dow Jone Index), ราคาโลหะเงินในตลาดโลก, ดัชนีตลาดหุ้นประเทศญี่ปุ่น (NIKKEI Index), ดัชนีตลาดหุ้นสาธารณรัฐไต้หวัน(TWSE Index), ราคาโลหะแพลทินัมในตลาดโลก, อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ และดัชนี GDP ของสหรัฐฯ โดยเรียงลําดับตามปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับราคาทองคําในตลาดโลกมากไปน้อย ซึ่งตัวแบบสมการถดถอยพหุคูณสําหรับการพยากรณ์สามารถอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคําในตลาดโลกได้ 91.6% โดยสมมติให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจเปรียบเทียบแบบจำลองการทำนายราคาทองคำโดยใช้ตัวแปรต้น คือ ข้อมูลราคา สินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และข้อความจากข่าวที่เกี่ยวข้องกับทองคำ โดยในการศึกษาครั้งนี้ จะประกอบไปด้วย การจัดการข้อมูลประเภทข้อความด้วยการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing - NLP) การสร้างแบบจำลองการทำนายราคาทองคำ โดยเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติ และอัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) จากนั้นผู้วิจัยจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบจำลอง โดยผู้วิจัยจะใช้ 9 ค่าในการพิจารณาคือ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ราคาน้ำมันดิบ WTI ราคาโลหะเงินในตลาดโลก ราคาแพลทินัมในตลาดโลก อัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ FED ดัชนีตลาดหุ้นประเทศญี่ปุ่นนิคเคอิ 225 ดัชนี ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ดัชนี S&P 500 และข่าวรายวันจากสำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่านักลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้องจะสามารถนำผลสรุปจากการวิจัยครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการลงทุนในทองคำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การวิจัยนี้มุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาแบบจำลองการทำนายราคาทองคำที่แม่นยำขึ้น โดยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพและการรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อให้การลงทุนในทองคำเป็นไปอย่างรอบคอบและมีการจัดการความเสี่ยงที่ดียิ่งขึ้น ผู้วิจัยเชื่อว่าผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการลงทุนในทองคำและหวังว่าข้อมูลและข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้จะช่วยให้นักลงทุนสามารถวางกลยุทธ์การลงทุนที่มีประสิทธิภาพและสามารถปรับตัวได้ดียิ่งขึ้นในสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

นวัตกรรมอื่น ๆ

การตรึงวัสดุนาโนโลหะบนตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายอะฟลาทอกซิน บี1

คณะวิทยาศาสตร์

การตรึงวัสดุนาโนโลหะบนตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายอะฟลาทอกซิน บี1

วัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ตกแต่งด้วยวัสดุนาโนโลหะ (Bi-Metallic NPs/ Photocatalyst) ได้ถูกสังเคราะห์ ในการสลายอะฟลาทอกซิน บี1 ตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงที่ตกแต่งด้วยวัสดุนาโนโลหะถูกสังเคราะห์ด้วยคลื่นอัลตราโซนิก (Ultrasonic waves) วัสดุถูกนำมาศึกษาคุณลักษณะทางเคมีโดยการใช้เทคนิค Transmission electron microscope (TEM), X-ray photoelectron spectroscopy (XPS), X-ray diffraction analysis (XRD), Fourier transform infrared spectrometer (FT-IR), Zeta potential analyzer และ UV-visible spectrophotometer อนุภาคนาโนโลหะบนตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงถูกนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการย่อยสลาย AFB1 ในน้ำเสียจากน้ำทิ้งครัวเรือนภายใต้แสงวิสิเบิล โดยนำมาวิเคราะห์ด้วยโครมาโตกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง ช่วงความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร พบว่าสามารถกำจัด AFB1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 100 % ภายในเวลา 2 นาที ประสิทธิภาพที่เหนือชั้นนี้เป็นผลมาจาก โครงสร้างที่มีรูพรุนสูง พื้นที่ผิวจำเพาะที่เพิ่มขึ้น และอัตราการรวมตัวใหม่ของอิเล็กตรอน-โฮลที่ลดลง แสดงให้เห็นว่าวัสดุนาโนที่ได้พัฒนาประสบความสำเร็จในการสลาย AFB1

การออกแบบสวนสาธารณะ :  ซีรีนอาร์เบอร์พาร์ค

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การออกแบบสวนสาธารณะ : ซีรีนอาร์เบอร์พาร์ค

การออกแบบสวนสาธารณะพื้นที่ 50 ไร่ ในแนวคินสวนป่าพื้นที่เขต ลาดกระบัง จังหวัด กรุงเทพมหาคร เป็นการนำเสนอสวนสาธารณะที่ใช้ในการเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนเมืองในเขตลาดกระบังและผู้คนละแวกใกล้เคียง จึงมุ่งเน้นกลุ่มผู้ใช้งานเป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มคนทำงาน ที่มีการผสานกับแนวคิด Universal Design ในการออกแบบพื้นที่ให้ทุกคนในสังคม สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม แต่ยังคงมุ่งเน้นให้มีพื้นที่นันทนาการแบบกระฉับกระเฉงเพื่อตรงต่อความต้องการที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายของกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มคนทำงาน และการออกแบบพื้นที่เขตลาดกระบังเป็นพื้นที่ราบลุ่ม คล้ายแอ่งกระทะ จึงมีการออกแบบพื้นที่ให้มีพื้นที่รับน้ำ หน่วงน้ำ และบำบัดน้ำเพื่อใช้ในพื้นที่สวน โดยภายในพื้นที่ เน้นไปที่พื้นที่ออกกำลังกาย กีฬา วิ่ง เดิน ที่พักผ่อน และพื้นที่สวนเพื่อการเรียนรู้

โครงการขับเคลื่อนกิจกรรมมหกรรมผ้าไหม “ไหมไทยสู่เส้นทางโลก” ครั้งที่ 13

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

โครงการขับเคลื่อนกิจกรรมมหกรรมผ้าไหม “ไหมไทยสู่เส้นทางโลก” ครั้งที่ 13

ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีวิสัยทัศน์สู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน พันธกิจพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมสำหรับโลกดิจิทัล พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยหลักธรรมาภิบาล บริการวิชาการที่มุ่งประโยชน์ต่อสังคม ในกิจกรรมครั้งนี้ได้นำคณะนักศึกษาร่วมกับสถานทูตสหพันธรัฐรัสเซีย ประจำราชอาณาจักรไทย คณะทำงานสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทย คณะทำงานสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บูรณาการความรู้เพื่อออกแบบชุดผ้าไหมร่วมวัฒนธรรมไทย รัสเซีย สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยี นวัตกรรม และการเผยแพร่องค์ความรู้ และความงามของผ้าไหมไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ และนักศึกษาในการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ประชุมรับฟังแนวทางดำเนินงาน จากคณะทำงานสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทย คณะทำงานสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผ่านการประชุมออนไลน์ทีมงานกลุ่มอาจารย์ และนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายใต้ชื่อกลุ่ม “รักแพรไหม” ดำเนินการออกแบบชุดผ้าไหมไทยแบบร่วมวัฒนธรรม ด้วยอัตลักษณ์ผ้าไหมไทยร่วมกับการเรียนประเพณี วัฒนธรรมชุดเสื้อผ้าสหพันธรัฐรัสเซียได้ศึกษาเอกสารวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บูรณาการความรู้สู่กระบวนการออกแบบสร้างแรงบันดาลใจจากแนวคิดชุดราชปะแตน ที่เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ 5) เมื่อปี พ.ศ. 2415 ร่วมกับวัฒนธรรมชุดเสื้อผ้าสหพันธรัฐรัสเซียโดยเน้นผ้าไหมไทยเป็นแนวคิดนี้ได้ผ่านกระบวนการสร้าง และเลือกแนวคิดในการออกแบบ (Concept Generation and Selection) นำแนวคิดที่ได้เข้ารับฟังข้อเสนอแนะ จากสถานทูตฯ ครั้งแรกวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 มีข้อเสนอเสนอแนะให้เพิ่มเติมความเป็นเอกลักษณ์ผ้าไหมไทยให้มากขึ้นผ่านการนำเสนอด้วยการเดินแบบแฟชั่นโชว์โดยภรรยา และหลานชาย ท่านทูตสหพันธรัฐรัสเซียเป็นผู้เดินแบบชุดที่ออกแบบจึงเป็นชุดสุภาพสตรี 1 ชุด ชุดเด็กชาย 1 ชุด ชุดสุภาพสตรีรูปแบบเสื้อด้านในประยุกต์มาจากชุดราชนิยมใช้ผ้าผ้าไหม มัดหมี่ ลายโกนกะเอ็ด มีลักษณะสองชิ้นแยกกัน เป็นเสื้อ 1 ชิ้นกระโปรง 1 ในส่วนเสื้อคลุมทรงสูทยาวประยุกต์ ผ้าไหมสีพื้นเนื้อเรียบ สีแดงชมพูเข้ม ชุดเด็กชายเสื้อประยุกต์จากทรงราชประแตนร่วมสมัยแขนยาว ตัดเย็บด้วยผ้าไหมสีครีม กางเกงขายาวทรงสแล็คตัดเย็บด้วยผ้าไหมสีหมากดิบเสื้อคลุมไม่มีปกผ้าไหมสีฟ้าลายกาบบัว ประยุกต์มาจากชุดราชปะแตนมีปกตัวยาวเป็นรูปแบบสากล วันที่ 2 สิงหาคม 2567 นำชุดที่ออกแบบ และตัดเย็บชุดต้นแบบผ้าดิบตาม ให้ภรรยา และหลานชายท่านทูตฯ ลองสวมใส่ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 พบท่านทูตครั้งที่ 4 เพื่อนำชุดผ้าไหมที่ตัดเป็นชุดผ้าไหมจริง ส่งมอบเสื้อให้ภรรยา และหลานชายท่านทูตทดลองสวมใส่ สวมใส่เพื่อร่วมงานเดินแฟชั่นโชว์ในงาน มหกรรมขับเคลื่อนกิจกรรมมหกรรมผ้าไหม “ไหมไทยสู่เส้นทางโลก” ครั้งที่ 13 ณ หอประชุมกองทัพเรือซึ่งคณะอาจารย์ และนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้าร่วมเดินแบบในรอบฟินนาเล่ด้วยซึ่งงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย หลังงานนั้นคณะทำงานสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทยได้นำชุดเสื้อผ้าที่ออกแบบตัดเย็บโดยทีมงาน “รักแพรไหม” จัดแสดงนิทรรศการไหมไทยสู่เส้นทางโลก ระหว่างวันที่ 1-8 กันยายน 2567 ณ ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร ทีมงานสรุปรายงานจัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ ในการดำเนินโครงการในครั้งนี้ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับการสนับสนุนอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานตลอดโครงการ การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) การสนับสนุนผ้าในการตัดเย็บจากสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทย ข้อมูลประกอบการออกแบบชุดเสื้อผ้าไหมอันทรงคุณค่าสถานทูตสหพันธรัฐรัสเซีย ประจำราชอาณาจักรไทย นับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้การดำเนินงานครั้งนี้สำเร็จด้วยความราบรื่น เป็นประสบการณ์ที่สำคัญยิ่งสำหรับทีมงานอาจารย์ และนักศึกษา ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หวังอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งในโอกาสต่อไป