โครงงานนี้มุ่งเน้นการศึกษาและพัฒนาระบบการลงทุนระยะสั้นโดยซื้อขายทองคำในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มของกราฟราคา ระบบที่พัฒนานี้ใช้กระบวนการเฟ้นสุ่ม (Stochastic Process) ในการกำหนดจุดตัดขาดทุน (Stop Loss) เพื่อเพิ่มค่าผลตอบแทนที่คาดหวังสูงสุด และใช้แนวคิดจากทฤษฎีเกม (Game Theory) ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการถือครองหรือปิดคำสั่งซื้อขาย (Orders) ระบบดังกล่าวถูกพัฒนาและทดสอบบนแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 (MT5) โดยโครงงานนี้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน ตั้งแต่การเตรียมข้อมูล การฝึกสอนโมเดลเรียนรู้ของเครื่อง การสร้างแบบจำลองเพื่อประมาณการแจกแจงของทิศทางราคาทองคำ การกำหนดกลยุทธ์การวางจุดตัดขาดทุน การออกแบบแบบจำลองการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ตามทฤษฎีเกม ตลอดจนการพัฒนาโปรแกรมเทรดอัตโนมัติ และการทดสอบย้อนหลังเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบ
การลงทุนระยะสั้น คือ การพยากรณ์ว่าราคาในอนาคตอันใกล้เพิ่มขึ้นหรือลดลงในปริมาณ เท่าไรและเก็งกำไรจากส่วนต่างของราคาที่จะเกิดขึ้น ยิ่งการพยากรณ์มีความแม่นยำมาก ก็จะยิ่งได้ ผลตอบแทนมากตาม ผู้วิจัยได้รับแรงบันดาลใจจากการศึกษาการลงทุนระยะสั้นในรูปแบบ Price Action ซึ่งตั้งอยู่ บนสมมติฐานที่ว่า ข้อมูลราคาในอดีตมีความเพียงพอในการทำนายแนวโน้มราคาในอนาคต โดยไม่ จำเป็นต้องใช้ตัวชี้วัดทางเทคนิค (indicator) เนื่องจากตัวชี้วัดเหล่านั้นล้วนแล้วแต่คำนวณมาจาก ข้อมูลราคาในอดีตเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นที่จะนำเทคโนโลยี Deep Learning มาใช้ในการ สร้างแบบจำลองที่สามารถเรียนรู้จากข้อมูลราคาในอดีตเพื่อทำการพยากรณ์แนวโน้มราคาตลาดใน อนาคต และนำผลลัพธ์ไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดจุด take profit อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การ เลือกใช้ Deep Learning มีพื้นฐานมาจากคุณสมบัติในการเรียนรู้และประมวลผลข้อมูลเชิงซ้อน รวมถึงความสามารถในการจับความสัมพันธ์เชิงลึกของข้อมูลที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยวิธีการทั่วไป นอกจากนั้น ผู้วิจัยยังได้รับแรงบันดาลใจจากการศึกษาแนวคิด Drunkard Walk ซึ่งได้ถูกในไปใช้หา ความน่าจะเป็นที่คนเมาจะเดินกลับถึงบ้านหรือเดินกลับไปที่สถานบันเทิงจากความน่าจะเป็นที่คนเมา จะเดินไปทางซ้ายหรือเดินไปทางขวาและการประยุกต์ใช้ Absorbing Markov Chain เพื่อวิเคราะห์ ความน่าจะเป็นของการเคลื่อนไหวของกราฟราคา โดยแนวคิดนี้สามารถนำมาใช้ในการคำนวณความ น่าจะเป็นที่ราคาจะเคลื่อนที่ไปถึงจุด take profit หรือ stop loss ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนด กลยุทธ์การลงทุน ผู้วิจัยจึงประยุกต์ใช้แนวคิดนี้ในการพัฒนาแบบจำลองที่สามารถคำนวณค่า ผลตอบแทนเฉลี่ยเพื่อช่วยในการกำหนดจุด stop loss ที่เหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้น จากประสบการณ์ใน การเทรดจริง ผู้วิจัยได้พบเจอปัญหาในการตัดสินใจเมื่อคำสั่งเทรดยังคงเปิดอยู่และไม่สามารถประเมิน ได้ชัดเจนว่าควรปิดคำสั่งเทรดก่อน หรือรอให้ราคาถึงจุดที่ตั้งไว้ หากปิดคำสั่งก่อนและราคากลับไปถึง จุด stop loss การตัดสินใจนั้นถือว่าถูกต้อง แต่หากราคาถึงจุด take profit การตัดสินใจนั้นก็จะถือ ว่าผิดพลาด ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเลือกนำแนวคิดจากทฤษฎีเกม (Game Theory) มาช่วยในการวางกลยุทธ์ การตัดสินใจที่เหมาะสม โดยใช้กลยุทธ์แบบผสม (Mixed Strategy) และการวิเคราะห์การแจกแจง ความน่าจะเป็นของกราฟราคา เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลและมีประสิทธิภาพสูงสุด
คณะแพทยศาสตร์
โรคปวดศรีษะไมเกรน เป็นโรคที่พบได้บ่อย และ ส่งผลต่อการทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โรคปวดศรีษะไมเกรนแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะอาการเตือน (Prodrome หรือ premonitory) ระยะออร่า (Aura) ระยะปวดศีรษะ (Headache) และระยะฟื้นตัว (Postdrome) โดยระยะอาการเตือน (premonitory stage) สามารถเกิดขึ้นก่อนการปวดศีรษะได้นานถึง 72 ชั่วโมง และถือเป็นช่วงเวลาสำคัญอย่างมาก เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าการใช้ยาในระยะนี้สามารถช่วยป้องกันการปวดศรีษะได้ อย่างไรก็ตาม อาการในระยะนี้มักไม่จำเพาะเจาะจง ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดว่ากำลังอยู่ในระยะอาการเตือนของไมเกรนหรือไม่ โปรตีน Calcitonin gene-related peptide (cGRP) เป็นโมเลกุลสำคัญที่มีบทบาทในการเกิดไมเกรน โดยมีงานวิจัยพบว่าระดับ cGRP ในน้ำลายเพิ่มขึ้นในช่วงระยะอาการเตือน (premonitory stage) การศึกษานี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและประเมินชุดทดสอบแบบ Lateral Flow Immunoassay สำหรับตรวจหาระดับ cGRP ในน้ำลายของผู้ป่วยไมเกรนในระยะอาการเตือน ซึ่งอาจเป็นเครื่องมือช่วยยืนยัน เพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจ และ ใช้ยาก่อนที่จะมีอาการปวดหัว
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีวิสัยทัศน์สู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน พันธกิจพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมสำหรับโลกดิจิทัล พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยหลักธรรมาภิบาล บริการวิชาการที่มุ่งประโยชน์ต่อสังคม ในกิจกรรมครั้งนี้ได้นำคณะนักศึกษาร่วมกับสถานทูตสหพันธรัฐรัสเซีย ประจำราชอาณาจักรไทย คณะทำงานสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทย คณะทำงานสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บูรณาการความรู้เพื่อออกแบบชุดผ้าไหมร่วมวัฒนธรรมไทย รัสเซีย สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยี นวัตกรรม และการเผยแพร่องค์ความรู้ และความงามของผ้าไหมไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ และนักศึกษาในการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ประชุมรับฟังแนวทางดำเนินงาน จากคณะทำงานสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทย คณะทำงานสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผ่านการประชุมออนไลน์ทีมงานกลุ่มอาจารย์ และนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายใต้ชื่อกลุ่ม “รักแพรไหม” ดำเนินการออกแบบชุดผ้าไหมไทยแบบร่วมวัฒนธรรม ด้วยอัตลักษณ์ผ้าไหมไทยร่วมกับการเรียนประเพณี วัฒนธรรมชุดเสื้อผ้าสหพันธรัฐรัสเซียได้ศึกษาเอกสารวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บูรณาการความรู้สู่กระบวนการออกแบบสร้างแรงบันดาลใจจากแนวคิดชุดราชปะแตน ที่เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ 5) เมื่อปี พ.ศ. 2415 ร่วมกับวัฒนธรรมชุดเสื้อผ้าสหพันธรัฐรัสเซียโดยเน้นผ้าไหมไทยเป็นแนวคิดนี้ได้ผ่านกระบวนการสร้าง และเลือกแนวคิดในการออกแบบ (Concept Generation and Selection) นำแนวคิดที่ได้เข้ารับฟังข้อเสนอแนะ จากสถานทูตฯ ครั้งแรกวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 มีข้อเสนอเสนอแนะให้เพิ่มเติมความเป็นเอกลักษณ์ผ้าไหมไทยให้มากขึ้นผ่านการนำเสนอด้วยการเดินแบบแฟชั่นโชว์โดยภรรยา และหลานชาย ท่านทูตสหพันธรัฐรัสเซียเป็นผู้เดินแบบชุดที่ออกแบบจึงเป็นชุดสุภาพสตรี 1 ชุด ชุดเด็กชาย 1 ชุด ชุดสุภาพสตรีรูปแบบเสื้อด้านในประยุกต์มาจากชุดราชนิยมใช้ผ้าผ้าไหม มัดหมี่ ลายโกนกะเอ็ด มีลักษณะสองชิ้นแยกกัน เป็นเสื้อ 1 ชิ้นกระโปรง 1 ในส่วนเสื้อคลุมทรงสูทยาวประยุกต์ ผ้าไหมสีพื้นเนื้อเรียบ สีแดงชมพูเข้ม ชุดเด็กชายเสื้อประยุกต์จากทรงราชประแตนร่วมสมัยแขนยาว ตัดเย็บด้วยผ้าไหมสีครีม กางเกงขายาวทรงสแล็คตัดเย็บด้วยผ้าไหมสีหมากดิบเสื้อคลุมไม่มีปกผ้าไหมสีฟ้าลายกาบบัว ประยุกต์มาจากชุดราชปะแตนมีปกตัวยาวเป็นรูปแบบสากล วันที่ 2 สิงหาคม 2567 นำชุดที่ออกแบบ และตัดเย็บชุดต้นแบบผ้าดิบตาม ให้ภรรยา และหลานชายท่านทูตฯ ลองสวมใส่ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 พบท่านทูตครั้งที่ 4 เพื่อนำชุดผ้าไหมที่ตัดเป็นชุดผ้าไหมจริง ส่งมอบเสื้อให้ภรรยา และหลานชายท่านทูตทดลองสวมใส่ สวมใส่เพื่อร่วมงานเดินแฟชั่นโชว์ในงาน มหกรรมขับเคลื่อนกิจกรรมมหกรรมผ้าไหม “ไหมไทยสู่เส้นทางโลก” ครั้งที่ 13 ณ หอประชุมกองทัพเรือซึ่งคณะอาจารย์ และนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้าร่วมเดินแบบในรอบฟินนาเล่ด้วยซึ่งงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย หลังงานนั้นคณะทำงานสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทยได้นำชุดเสื้อผ้าที่ออกแบบตัดเย็บโดยทีมงาน “รักแพรไหม” จัดแสดงนิทรรศการไหมไทยสู่เส้นทางโลก ระหว่างวันที่ 1-8 กันยายน 2567 ณ ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร ทีมงานสรุปรายงานจัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ ในการดำเนินโครงการในครั้งนี้ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับการสนับสนุนอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานตลอดโครงการ การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) การสนับสนุนผ้าในการตัดเย็บจากสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทย ข้อมูลประกอบการออกแบบชุดเสื้อผ้าไหมอันทรงคุณค่าสถานทูตสหพันธรัฐรัสเซีย ประจำราชอาณาจักรไทย นับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้การดำเนินงานครั้งนี้สำเร็จด้วยความราบรื่น เป็นประสบการณ์ที่สำคัญยิ่งสำหรับทีมงานอาจารย์ และนักศึกษา ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หวังอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งในโอกาสต่อไป
คณะวิศวกรรมศาสตร์
-