KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ความรู้พื้นฐานการจัดการธุรกิจเทคโนโลยี

ความรู้พื้นฐานการจัดการธุรกิจเทคโนโลยี

รายละเอียด

หนังสือเล่มนี้มุ่งให้ความรู้พื้นฐานการจัดการธุรกิจเทคโนโลยี โดยมีกรณีศึกษาที่ครอบคลุมธุรกิจเทคโนโลยีในหลากหลายสาขา

วัตถุประสงค์

องค์ความรู้ด้านการจัดการธุรกิจเทคโนโลยี ถือเป็นเรื่องใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เมื่อเปรียบเทียบกับ สาขาอื่นๆ เช่น การตลาด หรือ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น

นวัตกรรมอื่น ๆ

โอเวอร์สเตียร์!

คณะวิทยาศาสตร์

โอเวอร์สเตียร์!

จากการเข้ามาถึงของนวัตกรรมทางมัลติมีเดียอย่างเกมทำให้การเข้าถึงสื่อไม่เหมือนเดิม สร้างความแปลกใหม่ให้กับการเสพสื่อ โดยโอเวอร์สเตียร์เป็นโครงงานที่ใช้ประโยจน์จากสื่อประเภทเกมเพื่อทำให้ผู้ใช้สามารถสัมผัสประสบการณ์การขับรถคล้ายกับการขับรถบนสนามแข่ง

การศึกษาและวิเคราะห์แบคเทริโอซินจากลำดับจีโนมและความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคของ Lactococcus lactis TKP1-5 ที่คัดแยกได้จากอุจจาระของเป็ด

คณะวิทยาศาสตร์

การศึกษาและวิเคราะห์แบคเทริโอซินจากลำดับจีโนมและความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคของ Lactococcus lactis TKP1-5 ที่คัดแยกได้จากอุจจาระของเป็ด

แบคเทอริโอซินเป็นเปปไทด์ต้านจุลชีพชนิดหนึ่งที่จุลินทรีย์เป็นคนผลิตออกมาซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคได้ จากงานวิจัยนี้นั้นได้มีการศึกษาความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคและระบุชนิดของแบคเทอริโอซินของแบคเรียกรดแลคติกสายพันธุ์ TKP1-5 ที่คัดแยกมาจากอุจจาระเป็ด ซึ่งมีการระบุลักษณะสปีชีส์ของสายพันธุ์ TKP1-5 โดยใช้การวิเคราะห์จากลำดับ 16s rRNA และลำดับจีโนมทั้งหมด พบว่าจากค่า ANIb, ANIm, และค่า dDDH พบว่าสายพันธุ์นี้คือ Lactococcus lactis อีกทั้งยังมีการทดสอบลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์นี้พบว่ามีความสามารถในการเจริญเติบโตใดในสภาวะแวดล้อมดังต่อไปนี้ สามารถโตได้ที่เปอร์เซ็นต์เกลือที่ 2-6% อุณหภูมิ 25-45 องศาเซลเซียส และพีเอช 3-9 ตามลำดับ โดยการศึกษาและระบุชนิดของแบคเทอริโอซินผ่านการวิเคราะห์ลำดับจีโนมนั้นพบว่าเป็นชนิด ไนซิน-ซี (Nisin-Z) ที่ค่าคะแนนเท่ากับ 114.775 รวมไปถึงการวิเคราะห์ความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคพบว่ามีความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคดังนี้ Pediococcus pentosaceus JCM5885, Listeria monocytogenes ATCC 19115, Enterococcus faecalis JCM 5803T, Salmonella Typhimurium ATCC 13311ᵀ, Aeromonas hydrophila B1 AhB1, Streptococcus agalactiae 1611 และ Streptococcus cowan I ตามลำดับ การวิเคราะห์ลำดับจีโนมทั้งหมดยังยืนยันได้อีกว่า L.lactis TKP 1-5 นี้ไม่พบยีนที่สามารถจะเป็นจุลชีพก่อโรค ยีนดื้อยา และพลาสมิด อีกด้วย อีกทั้งยังพบยีนที่มีความเกี่ยวข้องในการเป็นโพรไบโอติกหรือยีนที่ก่อให้เกิดประโยชน์อีกด้วย ทั้งนี้หวังว่าสายพันธุ์ TKP1-5จะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่อุตสาหกรรมอาหารนั้นนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารในการต้านจุลชีพก่อโรคในอนาคต

การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีเเละกายภาพของเบอร์เกอร์เนื้อเทียมจากถั่วลูกไก่เเละเบอร์เกอร์เนื้อเทียมแบบผสมเนื้อหมูด้วยวิธีการปรุงสุกเเบบซูวีด

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีเเละกายภาพของเบอร์เกอร์เนื้อเทียมจากถั่วลูกไก่เเละเบอร์เกอร์เนื้อเทียมแบบผสมเนื้อหมูด้วยวิธีการปรุงสุกเเบบซูวีด

ปัจจุบันการบริโภคผลิตภัณฑ์จากพืชได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมอาหารจึงมีการพัฒนาเนื้อเทียมที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของเบอร์เกอร์เนื้อเทียมจากถั่วลูกไก่และเบอร์เกอร์แบบผสมเนื้อหมู โดยใช้กระบวนการปรุงสุกแบบซูวีด ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยรักษาคุณภาพของอาหาร ทั้งในด้านเนื้อสัมผัส ความชุ่มชื้น และคุณค่าทางโภชนาการ ในการทดลอง ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติต่างๆ ของเบอร์เกอร์ทั้งสองประเภท โดยวิเคราะห์การสูญเสียน้ำระหว่างการปรุง (Cooking loss) ความสามารถในการอุ้มน้ำ (Water holding capacity) ค่าแรงตัดเฉือน (Shear force) ค่า pH และการวิเคราะห์สี นอกจากนี้ยังมีการทดสอบทางประสาทสัมผัส โดยให้กลุ่มผู้บริโภคประเมินด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ผลการศึกษาจะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการซูวีดที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเบอร์เกอร์จากพืชและแบบผสม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาทางเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ผลการศึกษานี้ยังสามารถเป็นแนวทางสำหรับอุตสาหกรรมอาหารในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยลดการใช้เนื้อสัตว์ลง ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความยั่งยืนในภาคการผลิตอาหาร การวิจัยนี้จึงมีความสำคัญทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์อาหารและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดอาหารแห่งอนาคต