KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การสร้างระบบไมโครฟลูอิดิกเพื่อจำลองระบบเซลล์ผิวหนังสำหรับการใช้งานทางเภสัชกรรม

รายละเอียด

การสร้างแบบจำลองผิวหนังบนชิป (Skin-on-a-chip) มีบทบาทสำคัญในการวิจัยด้านการพัฒนายา และเครื่องสำอาง ซึ่งแบบดั้งเดิมมักจะใช้วิธีการสองมิติ (Two-dimensional, 2D) ที่อาศัยการเพาะเลี้ยงเซลล์บนพื้นผิวแบนราบ ทำให้ขาดความซับซ้อนของโครงสร้างผิวหนังและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ที่สมจริง นอกจากนี้ วิธีการดั้งเดิมยังมีข้อจำกัดในการเลียนแบบการไหลเวียนของของเหลวและสารอาหาร ซึ่งส่งผลต่อความแม่นยำในการทดสอบทางเภสัชกรรมและการทำนายผลกระทบของยา ซึ่งทำให้มีการพัฒนาแบบจำลองผิวหนังแบบสามมิติ (Three-dimensional, 3D) ด้วยเทคโนโลยีไมโครฟลูอิดิกแบบใหม่ ช่วยเพิ่มความสมจริงของโครงสร้างผิวหนัง โดยการจำลองทั้งชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) และชั้นหนังแท้ (Dermis) รวมถึงการ ไหลเวียนของของเหลวที่คล้ายคลึงกับสภาวะในร่างกายมนุษย์ การออกแบบระบบสามมิติ (3D) ช่วยให้เซลล์มีการจัดเรียงที่สมจริงมากขึ้น และมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเซลล์ที่สมจริง ทำให้สามารถเลียนแบบการทำงานของผิวหนังได้ดีกว่า และเพิ่มความแม่นยำในการประเมินผลของสารต่าง ๆ ต่อการตอบสนองของเซลล์ ทั้งในด้านการดูดซึม การอักเสบ และการสมานแผล ดังนั้น การสร้างแบบจำลองผิวหนัง แบบสามมิติ (3D) ไม่เพียงแต่จะช่วยแก้ไขปัญหาของวิธีการดั้งเดิมแต่ยังเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาแบบจำลองที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทดสอบยาและผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์

ในปัจจุบัน โรคผิวหนังเป็นปัญหาทางสุขภาพที่พบได้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ทั้งโรคผิวหนังอักเสบ โรค สะเก็ดเงิน และมะเร็งผิวหนัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออายุของประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น ทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคผิวหนังที่ต้องได้รับการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดโลกในการนำส่งยาเติบโต ส่งผลให้เกิดความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมที่สามารถรักษาและบำรุงผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาระบบการส่งยาเข้าสู่ผิวหนัง (Transdermal Drug Delivery System) ที่สามารถตอบสนองต่อการรักษาโรคเฉพาะทางหรือการใช้ในเครื่องสำอางได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม กระบวนการทดสอบยาและเครื่องสำอางในปัจจุบันยังคงพึ่งพาการทดลองในสัตว์ (Animal Testing) ซึ่งนอกจากจะเป็นที่ถกเถียงในด้านจริยธรรมแล้ว ยังอาจไม่สามารถสะท้อนการตอบสนองที่เกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์ได้อย่างแม่นยำ ดังนั้น การพัฒนาระบบที่สามารถจำลองสภาพแวดล้อมของผิวหนังมนุษย์ในห้องปฏิบัติการจึงกลายเป็นที่ต้องการอย่างมาก ซึ่งจะช่วยให้สามารถทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาและผลิตภัณฑ์ทางเครื่องสำอางได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการทดสอบในสัตว์ โดยระบบไมโครฟลูอิดิก (Microfluidic System) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงในการจำลอง ระบบเซลล์ผิวหนัง เนื่องจากมีความสามารถในการเลียนแบบสภาพแวดล้อมทางสรีรวิทยาได้อย่างแม่นยำ โดยการควบคุมการไหลของของเหลวในระดับไมโครเมตร ซึ่งช่วยให้สามารถจำลองการทำงานของชั้นต่าง ๆ ของผิวหนังได้อย่างใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมภายในร่างกายจริง นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการศึกษาการแทรก ซึมของสารเข้าสู่ผิวหนัง การปลดปล่อยยา และการโต้ตอบระหว่างเซลล์ผิวหนังกับสารเคมีได้ในระดับที่ ละเอียดและแม่นยำ การสร้างระบบไมโครฟลูอิดิกเพื่อจำลองระบบเซลล์ผิวหนัง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางเภสัชกรรม โดยเฉพาะในการพัฒนายาที่มีการนำส่งผ่านผิวหนัง รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย นอกจากนี้ การสร้างระบบดังกล่าวยังมีศักยภาพในการลดการพึ่งพาการทดสอบในสัตว์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ ดังนั้น โครงงานพิเศษนี้จึงได้นำเทคโนโลยีของไหลจุลภาคมาประยุกต์เพื่อสร้างและพัฒนาระบบไมโครฟลูอิดิก โดยทำงานออกแบบและสร้างลวดลายด้วยวิธีการแม่พิมพ์แบบอ่อน (Soft lithography) และใช้ Polydimethylsiloxane (PDMS) เป็นวัสดุที่ทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ภายใน ที่สามารถจำลองสภาพแวดล้อมของผิวหนังมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการบูรณาการเซลล์ผิวหนังชนิดต่าง ๆ เช่น เคราติโนไซต์ (Keratinocytes) และไฟโบรบลาสต์ (Fibroblasts) เพื่อจะศึกษาการทำงานและการตอบสนองของผิวหนังต่อยาหรือสารเคมี โดยหวังว่างานวิจัยนี้จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมและเครื่องสำอางในอนาคต

นวัตกรรมอื่น ๆ

การผลิตต้นวิโอลา (Viola) ดอกไม้กินได้ด้วยระบบการปลูกโดยไม่ใช้ดิน

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การผลิตต้นวิโอลา (Viola) ดอกไม้กินได้ด้วยระบบการปลูกโดยไม่ใช้ดิน

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียมร่วมกับจำนวนชั่วโมงในการให้แสงต่อการเจริญเติบโตของต้นวิโอลา (Viola) ภายใต้โรงงานผลิตพืช เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต ลดระยะเวลา และเพิ่มรอบการผลิตให้เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยวางแผนการทดลองแบบ 3x3 Factorial in CRD มี 9 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซ้ำๆ ละ 6 ต้น ซึ่งปัจจัยที่ใช้ศึกษามีอยู่ 2 ชนิด คือ ปัจจัยที่ 1 ความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจน (N) ร่วมกับโพแทสเซียม (K) ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน 3 ระดับ ดังนี้ 1) N:K 1:1, 2) N:K 1:2 และ 3) N:K 2:1 ปัจจัยที่ 2 จำนวนชั่วโมงในการให้แสงต่อวันที่แตกต่างกัน 3 กรรมวิธี ดังนี้ 1) จำนวนชั่วโมงในการให้แสง 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง 2) จำนวนชั่วโมงในการให้แสงช่วง Vegetative 8 ชั่วโมงพัก 16 ชั่วโมง จากนั้นช่วงกระตุ้นตาดอกเพิ่มแสงเป็น 13 ชั่วโมง พัก 11 ชั่วโมง หลังจากเกิดตาดอก จะให้แสง 8 ชั่วโมง พัก 16 ชั่วโมง และ 3) จำนวนชั่วโมงในการให้แสง 5 ชั่วโมงพัก 3 ชั่วโมง โดยทุกกรรมวิธีปรับอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ค่า EC 1.5-2.0 mS/cm และ ค่า pH 5.8-6.5 ผลการทดลอง พบว่า การให้ระดับความเข้มข้นของปุ๋ย N:K ในอัตราส่วน 1:1 ร่วมกับแสง 24 ชั่วโมง ทำให้การเจริญเติบโตทางลำต้นและมีคุณภาพดอกมากที่สุด รวมทั้งการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เหมาะแก่การนำไปประกอบอาหารหรือตกแต่งจาน ซึ่งกรรมวิธีนี้ทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพของผลผลิตได้ดีที่สุด สามารถลดระยะเวลาในการผลิตดอกวิโอลาในแต่ละรอบจาก 90-100 วัน ลดลงเหลือ 43-45 วัน และเพิ่มรอบการผลิตให้เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องคำนึงถึงฤดูกาล หรือสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งดีต่อเกษตรกรผู้ผลิต

แผ่นฝ้าเพดานผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพาราที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนป้องกันความร้อน

คณะวิศวกรรมศาสตร์

แผ่นฝ้าเพดานผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพาราที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนป้องกันความร้อน

ปริญญานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการนำขุยมะพร้าวและน้ำยางพารามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในงานก่อสร้าง 2) เพื่อหาอัตราส่วนผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพาราที่เหมาะสม และ 3) เพื่อทดสอบคุณสมบัติของแผ่นฝ้าเพดานผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพาราภายใต้ มอก. 219-2552 เรื่องแผ่นฝ้ายิปซั่ม วิธีการดำเนินงาน มีขั้นตอนดังนี้ 1) การวางแผนการดำเนินงาน 2) การออกแบบส่วนผสมของแผ่นฝ้าเพดานผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพารา 3) จัดทำผลิตภัณฑ์แผ่นฝ้าเพดานผสมขุยมะพร้าวและน้ำยางพารา 4) นำผลิตภัณฑ์แผ่นฝ้าเพดานไปทดสอบคุณสมบัติตาม มอก. 219-2552 เรื่องแผ่นฝ้ายิปซั่ม และ 5) สรุปผลการทดสอบ

การออกแบบและพัฒนาหัวรถจักรไฟฟ้า สำหรับการแข่งขัน TRRN Railway Challenge 2025

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การออกแบบและพัฒนาหัวรถจักรไฟฟ้า สำหรับการแข่งขัน TRRN Railway Challenge 2025

การออกแบบและพัฒนาหัวรถจักรไฟฟ้าเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน TRRN Railway Challenge 2025 มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีในภาคปฏิบัติ โดยเน้นการพัฒนาหัวรถจักรให้สามารถพิชิตบททดสอบต่างๆ เช่น อัตราเร่ง ระบบหยุดรถอัตโนมัติ เสียงรบกวน การสั่นสะเทือน การใช้พลังงาน และความทนทาน รวมถึงการพัฒนาทักษะในการเขียนรายงานการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะในการวิเคราะห์และอภิปราย เพื่อให้สามารถผ่านการทดสอบตามกฎเกณฑ์ของการแข่งขันได้อย่างครบถ้วน