เครื่องวัดระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจพร้อมการตอบสนองด้วยเสียงเพื่อวัดระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ตกค้างในปอดของผู้ที่มีการใช้ยาสูบ ซึ่งเป็นการบอกระดับการติดยาสูบแทนที่จะวัดระดับนิโคติในเลือด
เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง
การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เเละลดต้นทุน โดยกระดับคุณภาพการทำเกษตรกรรมในปัจจุบัน ซึ่งนวัตกรรมที่สำคัญในด้านนี้คือ แขนกลระบบราง ซึ่งถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยใช้ระบบรางที่มีความแม่นยำและประสิทธิภาพสูง การใช้งานของแขนกลนี้ครอบคลุมหลายกระบวนการ เช่น การปลูกพืช การคัดเเยก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว รวมถึงการจัดการทรัพยากรต่างๆ โดยที่สามารถทำงานได้ต่อเนื่องและลดการใช้แรงงานมนุษย์ในงานที่ซ้ำๆเเละมีความเสี่ยงสูง ผลการศึกษาพบว่า การใช้แขนกลระบบรางในภาคการเกษตรสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุนการผลิต และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้หุ่นยนต์ในกระบวนการเกษตรสามารถลดการปนเปื้อน ลดความเสี่ยงที่จะทำให้พืชเสียหาย ทำให้การเกษตรมีความยั่งยืนมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความแม่นยำในการดำเนินงานในพื้นที่จำกัดหรือฟาร์มที่มีการปลูกพืชหลากหลายชนิด จากผลการวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า การนำเทคโนโลยีแขนกลระบบรางมาใช้ในเกษตรกรรมไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระยะยาว แต่ยังเป็นการส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืนและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อรองรับความต้องการในอนาคตของในด้านการเกษตร
คณะวิศวกรรมศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนารถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าโดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงจากระบบเครื่องยนต์สันดาปเป็นระบบไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนการลดมลพิษทางอากาศและเสริมสร้างเทคโนโลยียานยนต์ที่ยั่งยืน รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าได้รับการออกแบบโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า BLDC และระบบควบคุมที่ปรับแต่งให้เข้ากับการขับขี่แบบเฉพาะของรถสามล้อในประเทศไทย การศึกษาได้พิจารณาถึงระบบพลังงานที่เหมาะสม รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ขับขี่รถตุ๊กตุ๊กแบบดั้งเดิมเพื่อออกแบบรถที่ตอบสนองต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการนำรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามาใช้นอกจากจะลดการปล่อยมลพิษและฝุ่น PM2.5 ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแก่ภาคการท่องเที่ยวไทย พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจภายในประเทศ
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีวิสัยทัศน์สู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน พันธกิจพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมสำหรับโลกดิจิทัล พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐาน บริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ด้วยหลักธรรมาภิบาล บริการวิชาการที่มุ่งประโยชน์ต่อสังคม ในกิจกรรมครั้งนี้ได้นำคณะนักศึกษาร่วมกับสถานทูตสหพันธรัฐรัสเซีย ประจำราชอาณาจักรไทย คณะทำงานสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทย คณะทำงานสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) บูรณาการความรู้เพื่อออกแบบชุดผ้าไหมร่วมวัฒนธรรมไทย รัสเซีย สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยี นวัตกรรม และการเผยแพร่องค์ความรู้ และความงามของผ้าไหมไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ และนักศึกษาในการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ประชุมรับฟังแนวทางดำเนินงาน จากคณะทำงานสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทย คณะทำงานสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผ่านการประชุมออนไลน์ทีมงานกลุ่มอาจารย์ และนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายใต้ชื่อกลุ่ม “รักแพรไหม” ดำเนินการออกแบบชุดผ้าไหมไทยแบบร่วมวัฒนธรรม ด้วยอัตลักษณ์ผ้าไหมไทยร่วมกับการเรียนประเพณี วัฒนธรรมชุดเสื้อผ้าสหพันธรัฐรัสเซียได้ศึกษาเอกสารวรรณกรรมงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บูรณาการความรู้สู่กระบวนการออกแบบสร้างแรงบันดาลใจจากแนวคิดชุดราชปะแตน ที่เริ่มใช้ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชการที่ 5) เมื่อปี พ.ศ. 2415 ร่วมกับวัฒนธรรมชุดเสื้อผ้าสหพันธรัฐรัสเซียโดยเน้นผ้าไหมไทยเป็นแนวคิดนี้ได้ผ่านกระบวนการสร้าง และเลือกแนวคิดในการออกแบบ (Concept Generation and Selection) นำแนวคิดที่ได้เข้ารับฟังข้อเสนอแนะ จากสถานทูตฯ ครั้งแรกวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 มีข้อเสนอเสนอแนะให้เพิ่มเติมความเป็นเอกลักษณ์ผ้าไหมไทยให้มากขึ้นผ่านการนำเสนอด้วยการเดินแบบแฟชั่นโชว์โดยภรรยา และหลานชาย ท่านทูตสหพันธรัฐรัสเซียเป็นผู้เดินแบบชุดที่ออกแบบจึงเป็นชุดสุภาพสตรี 1 ชุด ชุดเด็กชาย 1 ชุด ชุดสุภาพสตรีรูปแบบเสื้อด้านในประยุกต์มาจากชุดราชนิยมใช้ผ้าผ้าไหม มัดหมี่ ลายโกนกะเอ็ด มีลักษณะสองชิ้นแยกกัน เป็นเสื้อ 1 ชิ้นกระโปรง 1 ในส่วนเสื้อคลุมทรงสูทยาวประยุกต์ ผ้าไหมสีพื้นเนื้อเรียบ สีแดงชมพูเข้ม ชุดเด็กชายเสื้อประยุกต์จากทรงราชประแตนร่วมสมัยแขนยาว ตัดเย็บด้วยผ้าไหมสีครีม กางเกงขายาวทรงสแล็คตัดเย็บด้วยผ้าไหมสีหมากดิบเสื้อคลุมไม่มีปกผ้าไหมสีฟ้าลายกาบบัว ประยุกต์มาจากชุดราชปะแตนมีปกตัวยาวเป็นรูปแบบสากล วันที่ 2 สิงหาคม 2567 นำชุดที่ออกแบบ และตัดเย็บชุดต้นแบบผ้าดิบตาม ให้ภรรยา และหลานชายท่านทูตฯ ลองสวมใส่ในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 พบท่านทูตครั้งที่ 4 เพื่อนำชุดผ้าไหมที่ตัดเป็นชุดผ้าไหมจริง ส่งมอบเสื้อให้ภรรยา และหลานชายท่านทูตทดลองสวมใส่ สวมใส่เพื่อร่วมงานเดินแฟชั่นโชว์ในงาน มหกรรมขับเคลื่อนกิจกรรมมหกรรมผ้าไหม “ไหมไทยสู่เส้นทางโลก” ครั้งที่ 13 ณ หอประชุมกองทัพเรือซึ่งคณะอาจารย์ และนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เข้าร่วมเดินแบบในรอบฟินนาเล่ด้วยซึ่งงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย หลังงานนั้นคณะทำงานสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทยได้นำชุดเสื้อผ้าที่ออกแบบตัดเย็บโดยทีมงาน “รักแพรไหม” จัดแสดงนิทรรศการไหมไทยสู่เส้นทางโลก ระหว่างวันที่ 1-8 กันยายน 2567 ณ ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร ทีมงานสรุปรายงานจัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ ในการดำเนินโครงการในครั้งนี้ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับการสนับสนุนอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานตลอดโครงการ การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) การสนับสนุนผ้าในการตัดเย็บจากสมาคมส่งเสริมผ้าไหม และวัฒนธรรมไทย ข้อมูลประกอบการออกแบบชุดเสื้อผ้าไหมอันทรงคุณค่าสถานทูตสหพันธรัฐรัสเซีย ประจำราชอาณาจักรไทย นับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้การดำเนินงานครั้งนี้สำเร็จด้วยความราบรื่น เป็นประสบการณ์ที่สำคัญยิ่งสำหรับทีมงานอาจารย์ และนักศึกษา ครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หวังอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งในโอกาสต่อไป