KMITL Innovation Expo 2025 Logo

รถสองแถวไฟฟ้าดัดแปลง

รถสองแถวไฟฟ้าดัดแปลง

รายละเอียด

ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ทดแทนเทคโนโลยียานยนต์พลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง (Internal Combustion Engine: ICE) เพื่อลดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยเริ่มมีการผลักดันนโยบายการส่งเสริมยานยนต์พลังงานไฟฟ้าผ่านหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เช่น การนำรถโดยสารไฟฟ้ามาทดสอบให้บริการประชาชนผ่านหน่วยงาน ขสมก. แต่อุปสรรคสำคัญของโครงการคือต้นทุนเริ่มต้นของราคายานยนต์ไฟฟ้ามีราคาสูง แม้ว่ายานยนต์ไฟฟ้าจะมีค่าดำเนินการต่อระยะทางต่ำกว่าการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากก็ตาม จึงทำให้ผู้ประกอบการยังไม่ให้ความสนใจในการเปลี่ยนการใช้งานจากรถเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นการดัดแปลงรถเดิมเป็นรถไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ลงได้ โครงการนี้จะใช้เทคโนโลยีนี้กับการดัดแปลงรถกระบะเก่าให้เป็นรถ 2 แถวไฟฟ้า เพราะการใช้งานรถ 2 แถวมีระยะทางเฉลี่ยต่อวันค่อนข้างคงที่ ทำให้การออกแบบที่เหมาะสมมีเงื่อนไขที่ไม่เป็นอุปสรรคมากนัก และผู้ประกอบการขับรถ 2 แถว มีข้อจำกัดด้านงบประมาณในการเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นโครงการนี้จะส่งผลให้เป็นการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปใช้งานยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น นอกจากนี้เมื่อรถเครื่องยนต์สันดาปลดลงจะช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วย

วัตถุประสงค์

ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ทดแทนเทคโนโลยียานยนต์พลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง (Internal Combustion Engine: ICE) เพื่อลดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยเริ่มมีการผลักดันนโยบายการส่งเสริมยานยนต์พลังงานไฟฟ้าผ่านหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เช่น การนำรถโดยสารไฟฟ้ามาทดสอบให้บริการประชาชนผ่านหน่วยงาน ขสมก. แต่อุปสรรคสำคัญของโครงการคือต้นทุนเริ่มต้นของราคายานยนต์ไฟฟ้ามีราคาสูง แม้ว่ายานยนต์ไฟฟ้าจะมีค่าดำเนินการต่อระยะทางต่ำกว่าการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากก็ตาม จึงทำให้ผู้ประกอบการยังไม่ให้ความสนใจในการเปลี่ยนการใช้งานจากรถเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นการดัดแปลงรถเดิมเป็นรถไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ลงได้ โครงการนี้จะใช้เทคโนโลยีนี้กับการดัดแปลงรถกระบะเก่าให้เป็นรถ 2 แถวไฟฟ้า เพราะการใช้งานรถ 2 แถวมีระยะทางเฉลี่ยต่อวันค่อนข้างคงที่ ทำให้การออกแบบที่เหมาะสมมีเงื่อนไขที่ไม่เป็นอุปสรรคมากนัก และผู้ประกอบการขับรถ 2 แถว มีข้อจำกัดด้านงบประมาณในการเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นโครงการนี้จะส่งผลให้เป็นการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปใช้งานยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น นอกจากนี้เมื่อรถเครื่องยนต์สันดาปลดลงจะช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วยย

นวัตกรรมอื่น ๆ

โครงการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเครื่องขายของอัตโนมัติ

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

โครงการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเครื่องขายของอัตโนมัติ

การออกแบบกราฟฟิกตู้ขายของอัตโนมัติ และพื้นที่โดยรอบขนาด 5*6 เมตร โดยนำแบรนด์สกินแคร์ INGU เป็นสินค้า

คีออสก์: จอแสดงข้อมูลแบบโต้ตอบบนสมาร์ทบอร์ด

คณะวิศวกรรมศาสตร์

คีออสก์: จอแสดงข้อมูลแบบโต้ตอบบนสมาร์ทบอร์ด

โครงงานนี้นำเสนอระบบคีออสก์แบบอินเทอร์แอคทีฟที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษา บุคลากร และผู้มาเยี่ยมชมภายในมหาวิทยาลัย คีออสก์มีการนำเสนอกิจกรรมแบบเรียลไทม์ ข่าวสาร และการเข้าถึงเอกสารของมหาวิทยาลัยผ่านคิวอาร์โคดหรืออีเมล ระบบได้รวมฟังก์ชันแผนที่สามมิติของคณะวิศวกรรมศาสตร์พร้อมระบบนำทาง ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาห้องเรียน สำนักงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีระบบจองห้อง ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจองพื้นที่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และเช็คอินผ่านการสแกนคิวอาร์โคดที่คีออสก์ จากการผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบเมืองอัจฉริยะ ส่งผลให้ระบบนี้เพิ่มขีดความสามารถและการเข้าถึง การจัดการพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย เพิ่มพูนประสบการณ์ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยี่ยมชม

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหัวสร้างออกซิเจนชนิดนาโนกับขนาดกำลังปั๊มที่ต่างกันในบ่ออนุบาลปลากะพง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหัวสร้างออกซิเจนชนิดนาโนกับขนาดกำลังปั๊มที่ต่างกันในบ่ออนุบาลปลากะพง

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของหัวสร้างออกซิเจนชนิดหัวนาโนที่ ใช้ขนาดกำลังปั้มต่างกันในบ่ออนุบาลปลากะพง โดยทดลองใช้หัวสร้างออกซิเจนในขนาด กำลังปั้มหลายระดับเพื่อตรวจสอบการกระจายของออกซิเจนที่ละลายในน้ำและ ผลกระทบต่อ สุขภาพการเจริญเติบโตและอัตราการรอดของปลากะพงผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าขนาดกำลังปั้มที่ต่างกันส่งผลต่อระดับออกซิเจนที่ละลายในน้ำโดยขนาดกำลังปั้มที่เหมาะสมช่วยเพิ่มการกระจาย ตัวของออกซิเจนในบ่อเลี้ยงทำให้ปลากะพงมีอัตราการรอด และการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้หัวสร้างออกซิเจนและขนาดปั้มที่เหมาะสมในระบบบ่ออนุบาลปลา การทดลองนี้แบ่งออกเป็น 2 สภาวะ คือ 1.สภาวะไม่มีปลาทดสอบความสามารถในการเติมออกซิเจนค่าสัมประสิทธิ์ในการเติมออกซิเจนอัตราการถ่ายเทออกซิเจนเเละค่าประสิทธิภาพการถ่ายเทออกซิเจนที่ได้จากปั๊มที่กำลังต่างกัน 3 ขนาด 2.สภาวะมีปลาสภาวะนี้จะทดสอบความเพียงพอ ของออกซิเจนที่ได้จากปั๊มกำลังที่ต่างกัน 3 ขนาดโดยทดลอง วัดจากอัตราการเจริญเติบโต และอัตรารอดของปลาในบ่อ นับค่าโลหิตเพื่อตรวจภูมิคุ้มกัน ข้อมูลที่ได้จะนำไปวิเคระห์ข้อมูลทางสถิติ โดยวิเคราะห์ข้อมูล แบบ RCBD ในสภาวะไม่มีปลา เเละวิเคราะห์ข้อมูลแบบบ CRD ในสภาวะที่มีปลาผ่านโปรแกรม SPSS