KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่กราฟีนควันตัมดอท

รายละเอียด

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้เทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ร่วมกับแบตเตอรี่กราฟีนควันตัมดอท (Graphene Quantum Dot Battery) ซึ่งถือเป็นแนวทางใหม่ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บพลังงานและยืดอายุการใช้งานของระบบพลังงานทดแทน การเลือกใช้กราฟีนและควันตัมดอทเป็นวัสดุในการพัฒนาแบตเตอรี่เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นในการนำไฟฟ้า ความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้า การส่งผ่านพลังงานที่มีประสิทธิภาพและความเสถียรสูงขึ้น

วัตถุประสงค์

การใช้พลังงานทดแทนจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับความสนใจเนื่องจากเป็นพลังงานสะอาดและยั่งยืน แต่การเก็บพลังงานที่ผลิตได้ในระหว่างวันยังคงมีข้อจำกัดในการใช้งานในช่วงกลางคืนหรือเมื่อพลังงานผลิตต่ำ การพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงจึงมีความสำคัญเพื่อให้การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นไปอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพสูงสุด แบตเตอรี่กราฟีนควันตัมดอทมีคุณสมบัติเด่นในการเก็บพลังงานและการถ่ายโอนพลังงานอย่างรวดเร็ว โดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์

นวัตกรรมอื่น ๆ

การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของเบอร์เกอร์เเพลนต์เบสจากถั่วลูกไก่ เเละถั่วเเดง

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพของเบอร์เกอร์เเพลนต์เบสจากถั่วลูกไก่ เเละถั่วเเดง

ในปัจจุบัน การบริโภคโปรตีนจากพืชได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของถั่วลูกไก่และถั่วแดง รวมถึงพัฒนาสูตรเบอร์เกอร์เนื้อเทียมจากพืชที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับเบอร์เกอร์จากเนื้อสัตว์ ในด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส และคุณค่าทางโภชนาการ การทดลองประกอบด้วยการให้ความร้อนโดยการนึ่ง และวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ได้แก่ ค่าเนื้อสัมผัส (Texture) ค่าสี (Color) ค่า Water Activity (aW) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และค่าการอุ้มน้ำและอุ้มน้ำมัน นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค ผลการศึกษาคาดว่าจะช่วยพัฒนาสูตรเบอร์เกอร์พืชที่มีคุณภาพสูงและสามารถเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ได้

การพัฒนาเครื่องมือโอเพ่นซอร์สสำหรับการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลังและไมโครกริด

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การพัฒนาเครื่องมือโอเพ่นซอร์สสำหรับการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้ากำลังและไมโครกริด

ในงานวิจัยนี้ เรานำเสนอ Power Grid Analyzer (PGAz) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่พัฒนาโดยใช้ MATLAB ออกแบบมาเพื่อวิเคราะห์และควบคุมโครงข่ายไฟฟ้าแห่งอนาคต ในระยะแรก PGAz ได้รวมคุณสมบัติหลัก 4 ประการ ได้แก่ การวิเคราะห์การไหลของกำลังไฟฟ้า (PF), การวิเคราะห์การไหลของกำลังไฟฟ้าที่เหมาะสมที่สุด (OPF), การวิเคราะห์เสถียรภาพเชิงสัญญาณขนาดเล็ก (SSSA) และ การจำลองผลตอบสนองในโดเมนเวลา (TS) ในส่วนที่ 1 ของงานวิจัยนี้ เรามุ่งเน้นไปที่การพัฒนา PF และ OPF โดยนำเสนอรูปแบบของเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น รวมถึงคำสั่งที่ใช้ในซอฟต์แวร์ สำหรับการแก้ปัญหา PF และ OPF เราได้พัฒนาและรวมเอาหลายเทคนิคทั่วไปที่มีประสิทธิภาพไว้ใน PGAz ได้แก่ Newton-Raphson Method, Gauss-Seidel Method, Interior Point Method, Iwamoto’s Method, Fast Decoupled Load Flow, Genetic Algorithm - GA, Particle Swarm Optimization - PSO นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับประเด็นที่สำคัญ อัลกอริธึม และกรณีศึกษาต่างๆ ที่ได้รับการทดสอบกับระบบทดสอบมาตรฐานของ IEEE ตั้งแต่ IEEE 5-bus ไปจนถึง IEEE 300-bus ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้รับแสดงให้เห็นถึงความสามารถของ PGAz ในการใช้งานเพื่อการศึกษาและการวิจัยในด้าน PF และ OPF สุดท้าย เราได้วางแผนพัฒนา Part II ซึ่งจะเน้นไปที่ SSSA และ TS เป็นหลัก โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของ PGAz ในการศึกษาการวิเคราะห์เสถียรภาพและการจำลองเชิงเวลาของโครงข่ายไฟฟ้าแห่งอนาคต

วัลนาแชท

คณะวิศวกรรมศาสตร์

วัลนาแชท

โครงงานนี้นำเสนอการพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับช่องโหว่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับ Common Vulnerabilities and Exposure (CVE) และระบบ Common Vulnerability Scoring System (CVSS) โครงงานนี้มีศักยภาพในการปรับปรุงแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีเครื่องมือที่เข้าถึงได้ง่ายและให้ข้อมูลสำหรับการทำความเข้าใจและลดความเสี่ยงจากช่องโหว่