KMITL Innovation Expo 2025 Logo

อิทธิพลของความเค็มต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าว

รายละเอียด

-

วัตถุประสงค์

เนื่องจากดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้ในระดับสูง ซึ่งมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต คุณภาพ และปริมาณของผลผลิตพืช เกลือที่สะสมอยู่ในดินส่งผลให้พืชไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในพืชที่มีความไวต่อความเค็ม อย่างเช่นข้าว และสำหรับในประเทศไทย ปัญหาดินเค็มเป็นปัญหาที่พบในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีพื้นที่ดินเค็มประมาณ 18 ล้านไร่

นวัตกรรมอื่น ๆ

มัลเบอร์รีคีเฟอร์ พรีไบโอติกพลัส

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

มัลเบอร์รีคีเฟอร์ พรีไบโอติกพลัส

มัลเบอร์รีคีเฟอร์ เป็นเครื่องดื่มจากผลหม่อนสุกที่ผ่านการหมัก ผลิตจากน้ำสกัดจากผลหม่อนสุก มีลักษณะปรากฎเป็นสีแดงชมพูซึ่งเป็นสีของสารแอนโทไซยานินตามธรรมชาติในผลหม่อน โดยแอนโทไซยานินมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีสารพรีไบโอติกฟรุคโทโอลิโกแซคคาไรด์ จุลินทรีย์โพรไบโอติก Lactobacillus และ Saccharomeces มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีความซ่า มีแอลกอฮอล์เล็กน้อย รสชาติและความซ่าเกิดจากเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งใช้กระบวนการหมักจากจุลินทรีย์ มัลเบอร์รีคีเฟอร์ จัดเป็นเครื่องดื่มฟังค์ชัน (Functional Beverage) ที่ผลิตจากพืช (Plant Based Beverage) เหมาะกับผู้ที่แพ้น้ำตาลแลคโทส รวมถึงผู้ที่ไม่บริโภคเครื่องดื่มที่ผลิตจากน้ำนม ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น

การพัฒนาทางเท้าเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงระบบสาธารณูปการสำหรับผู้สูงอายุ  กรณีศึกษา : ชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

การพัฒนาทางเท้าเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงระบบสาธารณูปการสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : ชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

แนวคิดเรื่องการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุด้วยการปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยเหตุนี้การออกแบบทางเท้าที่เหมาะสมและคำนึงถึงความต้องการของผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาศัยภายในชุมชนวัดธาตุและชุมชนวัดกลางเขตเทศบาลนครขอนแก่น ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพแวดล้อมกายภาพของทางเดินเท้าในการเข้าถึงสาธารณูปการ 2) สำรวจพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อทางเดินเท้าภายในชุมชน 3) จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทางเดินเท้าที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเมือง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสำรวจสภาพแวดล้อมทางกายภาพของทางเดินเท้าเพื่อวิเคราะห์ปัญหา ข้อจำกัดและศักยภาพของทางเดินเท้า ร่วมกับแบบสัมภาษณ์สำนักการ ช่าง เทศบาลนครขอนแก่น แบบสอบถามพฤติกรรมการเดินทาง แบบสอบถามความพึงพอใจและทัศนคติของผู้สูงอายุที่มีต่อทางเดินเท้าในชุมชน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน ผลการศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพตามรายการตรวจสอบทั้ง 6 องค์ประกอบ พบว่า มีองค์ประกอบที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การใช้ประโยชน์ที่ดินในชุมชน 2) การเชื่อมต่อของโครงข่ายสัญจร และ 3) ความสวยงามของสถานที่น่าสนใจดึงดูดการเดิน องค์ประกอบที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การมีเส้นทางเดินเท้าที่ปลอดภัย 2) การออกแบบเพื่อทุกคนและ 3) การเดินเข้าถึงสาธารณูปการและสิ่งอำนวยความสะดวก การศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของผู้สูงอายุที่ตอบแบบสอบถามพบว่า วัตถุประสงค์ในการเดินทางส่วนใหญ่เดินทางเพื่อไปแหล่งจับจ่ายใช้สอย และพื้นที่ นันทนาการ มีความถี่ในการเดินทาง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ด้านความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อทางเดินเท้าภายในชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้มีการพัฒนาเส้นทางเดินเท้าที่ปลอดภัย เพื่อรองรับการเดินทางเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปการได้อย่างปลอดภัย

การออกแบบต้นแบบเมตาเวิร์สหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อสร้างประสบการณ์ดิจิทัลเสมือนจริง

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

การออกแบบต้นแบบเมตาเวิร์สหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เพื่อสร้างประสบการณ์ดิจิทัลเสมือนจริง

งานวิจัยการออกแบบต้นแบบเมตาเวิร์สหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เป็นการศึกษารูปแบบการสร้างประสบการณ์เสมือนจริง (Immersive Experience) โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบแนวคิดและเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างประสบการณ์การรับรู้ดิจิทัลเสมือนจริง 2) สร้างสรรค์งานออกแบบประสบการณ์การรับรู้ดิจิทัลเสมือนจริงและนำเสนอบนโลกต้นแบบเมตาเวิร์สหอภาพยนตร์ ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติ 3) ประเมินผลการออกแบบและสรุปเป็นองค์ความรู้การออกแบบนิทรรศการเสมือนจริง โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จัดให้มีการทดสอบตัวต้นแบบ พร้อมทั้งสัมภาษณ์แบบกลุ่ม สอบถามทัศนคติและประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า หลักการออกแบบต้นแบบเมตาเวิร์สหอภาพยนตร์นั้น ประกอบไปด้วย 1) การใช้แนวคิดการออกแบบสถาปัตยกรรม 2) แนวคิดการออกแบบนิทรรศการ 3) แนวคิดการออกแบบประสบการณ์ จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการสร้างงานในโลกเสมือนจริง ประกอบไปด้วย 1) สร้างโมเดลโครงสร้าง3มิติ 2) สร้างการใช้งานปฏิสัมพันธ์ 3) การออกแบบนิทรรศการ 4) ดำเนินการทดสอบตัวต้นแบบ จากนั้นทดสอบพร้อมประเมินผล โดยมีขั้นตอนคือ 1) ทดสอบโดยผู้ทดสอบ 10 คน 2) สัมภาษณ์แบบกลุ่มทั้ง 4 ประเด็นคือ ประเด็นหมวดประสบการณ์โดยรวม ประเด็นหมวดหอภาพยนตร์เนื้อหาคุณค่า ประเด็นหมวดการออกแบบเมตาเวิร์ส และประเด็นหมวดส่งเสริมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ ผลการประเมินการออกแบบหมวดที่หนึ่ง 1) หมวดประสบการณ์โดยรวม ได้รับประสบการณ์ที่ดี ร้อยละ 70 การใช้งานเสถียร ร้อยละ 50 อุปสรรคในการรับชมร้อยละ 90 เสียงบรรยายดังรบกวนร้อยละ 50 รับชมภาพยนตร์ติดขัดร้อยละ 40 มีความต้องการคำอธิบายการใช้งาน ร้อยละ 60 ต้องการสัญลักษณ์นำทางร้อยละ 70 หมวดที่สอง 2) หมวดหอภาพยนตร์ สามารถรับรู้และเข้าใจเนื้อหาร้อยละ 80 หมวดที่สาม 3) หมวดเมตาเวิร์ส ได้มีการสื่อสารพูดคุยปฏิสัมพันธ์ร้อยละ 70 หมวดที่สี่ 4) หมวดการส่งเสริมการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ เห็นว่าสามารถส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ร้อยละ 90 จากผลสรุปการประเมินการออกแบบต้นแบบเมตาเวิร์สหอภาพยนตร์เพื่อสร้างประสบการณ์ดิจิทัลเสมือนจริง พบว่าประสบการณ์ที่ผู้ทดสอบได้รับ อยู่ในเกณฑ์ดี คือร้อยละ 70 แต่ปัญหาที่พบจะอยู่ที่ระบบและอุปกรณ์ที่รองรับการทดสอบยังไม่เสถียรเนื่องจากความพร้อมของเทคโนโลยีในปัจจุบัน (2566) ส่วนอุปสรรคในการใช้งานประสบการณ์ปฏิสัมพันธ์ภายในจำเป็นต้องมีการทดสอบและปรับปรุงซ้ำหลายครั้ง ส่วนเรื่องของคุณค่าการสนับสนุนการเรียนรู้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี