KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ผลของการเคลือบผลด้วยกัมอารบิกร่วมกับสารสกัดจากเปลือกมังคุดต่อการยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง

ผลของการเคลือบผลด้วยกัมอารบิกร่วมกับสารสกัดจากเปลือกมังคุดต่อการยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง

รายละเอียด

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรสารเคลือบที่เหมาะสมสำหรับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง โดยใช้กัมอารบิก (GA) 10% ร่วมกับสารสกัดจากเปลือกมังคุด (MPE) ในความเข้มข้นต่างๆ (1%, 3%, 5%) เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำกลั่น) ภายใต้การเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง 14 วัน ผลการทดลองพบว่า การเคลือบผิวด้วย GA 10% ร่วมกับ MPE สามารถลดการเปลี่ยนแปลงสีของเนื้อผล ลดการเกิดโรค และคงความแน่นเนื้อได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของ TSS, TA, วิตามินซี, แคโรทีนอยด์ และฟีนอลิก โดยเฉพาะสูตรที่ใช้ GA 10% + MPE 1% มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยืดอายุการเก็บรักษาและเพิ่มความเงางามของผลมะม่วง

วัตถุประสงค์

มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นผลไม้ที่มีรสชาติและกลิ่นที่ได้รับความนิยมและมีความต้องการในตลาดในประเทศและนอกประเทศ โดยเราจะพบว่าการส่งออกมะม่วงในไทยมีการส่งออกมากเป็นอันดับ 1 ในประเทศประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ด้านการส่งออกและเป็นอันดับ 3 ด้านการผลิตมะม่วงโดยความสำคัญในด้านส่งออกมีการให้ความสำคัญในด้านคุณภาพด้านสี กลิ่นและคุณภาพด้านระยะเวลาการเก็บ แต่ปัญหาที่สำคัญของมะม่วงในระหว่างการเก็บรักษาและการ ส่งออก คือ การสูญเสียน้ำหนัก การสุกในระหว่างการขนส่งและการเกิดโรค ทําให้ผลิตผลไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและทําให้ผลมะม่วงที่ผลิตได้มีมูลค้าลดลง (อนุธิดา, 2549) การเคลือบผิวผลิตผลเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาและลดการเสื่อมคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวได้ ทั้งนี้การเลือกใช้สารเคลือบผิวควรเลือกชนิด และความเข้มข้นให้เหมาะสมกับผลิตผลแต่ละชนิด ที่สําคัญคือควรคํานึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคให้มากที่สุด (จรัญญา และคณะ, 2550) โดยการเลือกใช้สารเคลือบ กัมอารบิก (Gum Arabic) เป็นสารประกอบธรรมชาติชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มสารไฮโดรคอลลอยด์ (Hydrocolloids) ที่นิยมใช้กันแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมอาหาร เป็นสารประกอบจากธรรมชาติที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่มีรส ที่สำคัญไม่เป็นพิษต่อร่างกายและ มลภาวะ ปัจจุบันได้ผ่านการรับรองระบบมาตรฐาน ของอาหารโลก และได้รับกำหนดในตำรับ GRAS (Generally Recognized as Safe) และมาตรฐานของ United State pharmacopeia, Food Chemical Codex และ EU Number E414 รวมทั้งผ่านการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศไทย (มูทาดา, 2543) ควบคู่กับสารสกัดจากเปลือกมังคุด ซึ่งล่าสุดมีการนำแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์กับ ‘มังคุด’ ในบ้านเรา ซึ่งแต่ละปีมีผลผลิตกว่า 3 แสนตัน จำนวนนี้เป็นมังคุดเพื่อการส่งออกถึง 70% และขายในประเทศอีก 30% และเมื่อรับประทานเสร็จแล้วเปลือกจะถูกทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์ ดังนั้นจึงควรมีการนำมังคุดไปใช้ให้คุ้มค่ามากที่สุด โดยจากการศึกษามีรายงานว่าในส่วนของเปลือกมังคุดมีสารสําคัญที่สามารถนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรกันอย่างแพร่หลาย เปลือกมังคุดมีคุณสมบัติใช้เป็นยา ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสำคัญจากการสกัดเปลือกผลมังคุด ได้แก่ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ อนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น (สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร, 2452) การใช้สารสกัดจากเปลือกมังคุดจะเป็นการนำของที่เป็นขยะเหลือใช้ที่ไม่มีราคาให้มีประโยชน์เพิ่มมากขึ้นในการเลือกใช้เป็นสารสกัดที่ใช้ร่วมกับสารเคลือบเพื่อช่วยในการเก็บรักษามะม่วงหลักการเก็บเกี่ยวได้

นวัตกรรมอื่น ๆ

ผลของระดับความเค็มที่แตกต่างกันต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของหอยเชอรี่สีทอง (Pomacea canaliculata) เพื่อการพัฒนาการเลี้ยงในระบบน้ำกร่อย

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

ผลของระดับความเค็มที่แตกต่างกันต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของหอยเชอรี่สีทอง (Pomacea canaliculata) เพื่อการพัฒนาการเลี้ยงในระบบน้ำกร่อย

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระดับความเค็มที่แตกต่างกันต่ออัตรารอดและการเจริญเติบโตของหอยเชอรี่สีทอง (Pomacea canaliculata) โดยทำการทดลองเลี้ยงในระบบน้ำที่มีระดับความเค็ม 0, 5, 10 และ 15 พีพีที แต่ละชุดการทดลองมี 4 ซ้ำ ใช้ระยะเวลาทดลอง 8 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าหอยเชอรี่สีทองที่เลี้ยงในน้ำที่มีความเค็ม 5-10 พีพีที มีอัตรารอดและการเจริญเติบโตไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่เลี้ยงในน้ำจืด (0 พีพีที) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาการเลี้ยงหอยเชอรี่สีทองในระบบน้ำกร่อยและการเลี้ยงแบบผสมผสานร่วมกับสัตว์น้ำกร่อยชนิดอื่น

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 20 คน ปีการศึกษา 2567 เพื่อเป็นสื่อสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองและเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้เรียนมากยิ่งขึ้น โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ จะมีเนื้อหาการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย แบบฝึกทักษะการเรียนรู้และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งยังมีการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนได้ด้วยตนเอง เพื่อทำให้ผู้เรียนมีความสนใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น โดยมีสมมุติฐานการวิจัยว่า บทเรียนนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 ไม่ต่ำกว่า 80/80 เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัยเน้นการพัฒนาทางด้านความรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ วิชา การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 71.50/89.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียน

การกระตุ้นของสมองในการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนส่วนบนด้วยระดับแรงที่ต่างกัน

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การกระตุ้นของสมองในการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนส่วนบนด้วยระดับแรงที่ต่างกัน

การควบคุมการเคลื่อนไหว (Motor control) เป็นกระบวนการสำคัญสำหรับการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งเริ่มต้นจากกระแสประสาทที่ควบคุมโดยคอร์เทกซ์สั่งการ (motor cortex) กระบวนการนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการทำกิจวัตรประจำวัน (Activities of Daily Living, ADLs) ดังนั้น หากการสื่อสารระหว่างสมองและกล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติ เช่น ในผู้ที่มีภาวะหรือโรคเรื้อรังบางชนิด ก็อาจส่งผลให้การเคลื่อนไหวของร่างกายและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลงได้ การประเมินปฏิสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของสมองและการควบคุมการเคลื่อนไหวจึงมีความสำคัญต่อการวินิจฉัยและการรักษาความผิดปกติด้านการควบคุมการเคลื่อนไหว อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีเชื่อมต่อสมองมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ (Brain-Computer Interfaces, BCIs) วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการตรวจสอบการกระตุ้นสมอง (brain activation) ระหว่างการทำงานควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนส่วนบน (upper extremity motor control tasks) ในการปรับระดับแรงผลักที่แตกต่างกัน และสมองส่วนต่าง ๆ อีกทั้งยังพัฒนาวิธีการตรวจวัดเพื่อประเมินการควบคุมการเคลื่อนไหวและการกระตุ้นสมอง โดยใช้แขนกล (robotic arm) ในการกำหนดทิศทางและระดับแรงสำหรับการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนส่วนบน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาวสุขภาพดีจำนวน 18 คน ได้ทำการทดลองการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนส่วนบนพร้อมกับบันทึกสัญญาณทางโลหิตวิทยา (hemodynamic response) โดยใช้เครื่อง Functional near Infrared spectroscopy (fNIRs) และแขนกล (Robotic arm) เพื่อประเมินการกระตุ้นของสมองและการปรับระดับแรงผลัก รวมถึงการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนส่วนบน ในการทดสอบมีการเคลื่อนไหวสองแบบ ได้แก่ การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ (static) และการเคลื่อนไหวแบบไดนามิก (dynamic) ซึ่งเคลื่อนที่ไปและกลับตามเส้นทางที่กำหนด รวมถึงใช้ระดับแรงสามระดับ คือ 4, 12 และ 20 นิวตัน (N) ที่คัดเลือกจากช่วงแรงในกิจวัตรประจำวัน เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนส่วนบนโดยการปรับแรง และวัดสัญญาณทางโลหิตวิทยาในที่บริเวณสมองที่สนใจ ได้แก่ คอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ (primary motor cortex, M1) คอร์เทกซ์พรีมอเตอร์ (premotor cortex, PMC) เขตสั่งการเสริม (supplementary motor area, SMA) และคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex, PFC) จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทางสำหรับการวัดซ้ำ (two-way repeated measures ANOVA) ร่วมกับการปรับแก้ค่า Bonferroni (p < 0.00625) ในทุกบริเวณสมองที่วัด ไม่พบอิทธิพลร่วมระหว่างระดับแรงและประเภทการเคลื่อนไหวต่อระดับเฮโมโกลบินที่มีออกซิเจน (oxygenated hemoglobin, HbO) อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม พบว่าการเคลื่อนไหวอยู่กับที่และไดนามิก ส่งผลต่อการกระตุ้นสมองอย่างมีนัยสำคัญในคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าทั้งด้านตรงข้าม (contralateral, cPFC) และด้านเดียวกัน (ipsilateral, iPFC) นอกจากนี้ ยังพบว่าระดับแรงมีผลต่อการกระตุ้นสมองอย่างมีนัยสำคัญในบริเวณคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิด้านตรงข้าม (cM1) คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้าด้านเดียวกัน (iPFC) และคอร์เท็กซ์พรีมอเตอร์ (PMC) อีกด้วย