KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ต้นทุน ผลตอบแทนการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและการปลูกข้าวโดยใช้สารชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมีของเกษตรกร ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

ต้นทุน ผลตอบแทนการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและการปลูกข้าวโดยใช้สารชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมีของเกษตรกร ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

รายละเอียด

จากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาครั้งนี้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ได้ศึกษาเรื่อง ต้นทุน ผลตอบแทนการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและการปลูกข้าวโดยใช้สารชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมีของเกษตรกร ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาต้นทุน ผลตอบแทนการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและการปลูกข้าวโดยใช้ชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมีของเกษตรกร ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาปัญหาการใช้สารชีวภัณฑ์ในการปลูกข้าวของเกษตรกร ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการผลการศึกษาพบว่าต้นทุนการผลิตข้าวนาปีโดยใช้สารเคมีและสารชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมีปีเพาะปลูก 2567/68 แปลงที่ใช้สารชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมี มีต้นทุนการผลิตรวมทั้งหมด 5,099.50 บาทต่อไร่ ประกอบด้วย ต้นทุนผันแปร 4,432.50 บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่ 667.00 บาทต่อไร่ แปลงที่ใช้สารเคมี มีต้นทุนการผลิตรวมทั้งหมด 5,129.00 บาทต่อไร่ ประกอบด้วย ต้นทุนผันแปร 4,390.00 บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่ 739.00 บาทต่อไร่ ผลต่างของต้นทุนการปลูกข้าวนาปีระหว่างแปลงที่ใช้สารเคมีและแปลงที่ใช้สารชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมีเท่ากับ 114.50 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนการผลิตข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2567/68 ของแปลงที่ใช้สาร ชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมี ประกอบด้วย ปริมาณผลผลิต 1,000.00 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิตเฉลี่ย 8,500.00 บาทต่อไร่ เกษตรกรมีรายได้ 8,585.00 บาทต่อไร่ และมีกำไร 3,485.50 บาทต่อไร่ แปลงที่ ใช้สารเคมี ประกอบด้วย ปริมาณผลผลิต 1,000.00 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิตเฉลี่ย 8,500.00 บาทต่อไร่ เกษตรกรมีรายได้ 8,500 บาทต่อไร่ และมีกำไร 3,371.00 บาทต่อไร่ ผลต่างของรายได้รวมทั้งหมดในการปลูกข้าวนาปีระหว่างเกษตรกรที่ใช้สารเคมีและเกษตรกรที่ใช้สารชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมีเท่ากับ 114.50 บาทต่อไร่ ด้านปัญหาในการจัดซื้อ/จัดหาสารชีวภัณฑ์ สารชีวภัณฑ์หาซื้อยากบางพื้นที่มีแหล่งจําหน่ายน้อยหรือไม่มีเลย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สนับสนุนสารชีวภัณฑ์ให้เกษตรกรอย่างต่อเนื่องมีระดับปัญหามากที่สุด ด้านปัญหาการใช้สารชีวภัณฑ์ เมื่อผสมเชื้อสดกับส่วนผสมแล้วต้องใช้ให้หมดไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ เนื่องจากจะทำให้เสื่อมประสิทธิภาพลงมีระดับปัญหาที่มากที่สุด

วัตถุประสงค์

ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทย แนวโน้มความต้องการข้าว ในตลาดโลกที่สูงขึ้น โดยในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคมของปี 2567 ประเทศไทยส่งออกข้าวกว่า 4.6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.18 มูลค่าการส่งออกกว่า 106 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.59 จากปี 2566 (สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย, 2567) ส่งผลการผลิตข้าวของไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิต เพื่อการค้ามากยิ่งขึ้น เกษตรกรส่วนใหญ่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การระบาดของโรคและแมลง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในแปลงเกษตร ปัญหาสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ต้นทุนสารเคมีและปุ๋ย ที่สูงขึ้นทำให้เกษตรกรต้องลงทุนมากขึ้น แต่ราคาผลผลิตกลับไม่สูงขึ้นตามต้นทุน ทำให้เกษตรกรขาดทุนและมีหนี้สิน อีกทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคเนื่องจากสารพิษตกค้างในผลิตผลทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อม (สำนักวิจัยและพัฒนาข้าวกรมการข้าว, 2565) การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดต้นทุนการปลูกข้าวจะทำให้ได้ปริมาณและคุณภาพเพิ่มขึ้นโดยการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการปลูกข้าวที่สำคัญ เน้นการลดปัจจัยการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ได้แก่ ลดการใช้ปุ๋ย ลดการใช้ยาฆ่าแมลง ลดค่าจ้างในการปลูกข้าว และลดการใช้เมล็ดพันธุ์ หนึ่งในเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตข้าว คือการใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมี สอดคล้องกับแนวทางของ กรมส่งเสริมการเกษตรมีการส่งเสริมการใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์มา เชื้อราบิวเวอเรีย เชื้อราเมธาไรเซียมในการผลิตข้าวของเกษตรกร แบ่งได้เป็น การใช้เชื้อเชื้อราไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรคข้าวที่เกิดจากเชื้อรา การใช้เชื้อราบิวเวอเรียในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในนาข้าวการผลิตข้าวและการใช้สารชีวภัณฑ์ในการผลิตข้าวของเกษตรกร (กรมส่งเสริมการเกษตร, กระทรวงกระเกษตรและสหกรณ์, 2567) การผลิตข้าวของเกษตรกรใน ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ จำเป็นต้องลดการใช้สารเคมีและปรับใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อช่วยลดต้นทุน เนื่องจากสารชีวภัณฑ์สามารถใช้แทนสารเคมีในการควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชในนาข้าว อีกทั้งยังช่วยให้ดินอุดมสมบูรณ์ ลดการตกค้างของสารพิษในดิน เมื่อดินมีคุณภาพดีขึ้น ข้าวก็จะมีคุณภาพดีตามไปด้วย ซึ่งสารชีวภัณฑ์ที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่ เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา เชื้อราบิวเวอเรีย และเชื้อราเมธาไรเซียม การใช้สารชีวภัณฑ์เหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรในตำบลบางพลีน้อยลดการใช้สารเคมีได้ แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีการใช้สารชีวภัณฑ์อย่างจริงจัง การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์จะช่วยให้เกษตรกรเห็นประโยชน์และนำไปใช้ทดแทนสารเคมีได้ (สำนักงานเกษตรอำเภอบางบ่อ, 2567) ทั้งนี้ผู้วิจัยสนใจศึกษาต้นทุน ผลตอบแทนการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและการปลูกข้าวโดยใช้ สารชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมีเพื่อนำผลไปให้เกษตรกรใน ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ได้นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเกษตรของตนเองต่อไป

นวัตกรรมอื่น ๆ

พริกสายพันธุ์ใหม่ต้านทานโรคแอนแทรกโนสและไวรัสใบหงิกเหลือง และเผ็ดสูง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

พริกสายพันธุ์ใหม่ต้านทานโรคแอนแทรกโนสและไวรัสใบหงิกเหลือง และเผ็ดสูง

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพริกพันธุ์การค้าของไทยให้ต้านทานต่อโรคแอนแทรกโนสและโรคไวรัสใบหงิกเหลือง เพื่อให้เกษตรได้ลดการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดโรคและแมลง และเป็นการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร โดยการพัฒนาพันธุ์พริกผ่านกระบวนการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสร้างนักปรับปรุงพันธุ์รุ่นใหม่ ที่มีทั้งความรู้ด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้วิธีมาตรฐานร่วมกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ และงานวิจัยนี้ยังได้เผยแพร่สายพันธู์เพื่อให้เกษตรกร และบริษัทเมล็ดนำไปต่อยอดใช้ในเชิงพานิชย์ และช่วยเสริมความเข้มแข็งให้กับธุรกิจเมล็ดพันธุ์ของประเทศไทยได้

ระบบควบคุมแขนกลอุตสาหกรรมและนิวเมติกส์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ระบบควบคุมแขนกลอุตสาหกรรมและนิวเมติกส์

โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ด้านระบบนิวเมติกส์และการควบคุมอัตโนมัติ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน โดยระบบนิวเมติกส์มีบทบาทสำคัญในกระบวนการผลิตหลายประเภท เช่น การควบคุมเครื่องจักร อุปกรณ์อัตโนมัติ และระบบสายการผลิต อย่างไรก็ตาม ภาควิชาวิศวกรรมวัดคุมไม่มีห้องปฏิบัติการที่รองรับการศึกษาและทดลองเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์ เนื่องจากอุปกรณ์เดิมที่เคยใช้เกิดการชำรุดและไม่ได้รับการซ่อมแซม ทำให้นักศึกษาขาดโอกาสในการฝึกฝนทักษะที่สำคัญต่อการทำงานในภาคอุตสาหกรรม คณะผู้จัดทำเห็นถึงความจำเป็นในการฟื้นฟูและพัฒนาห้องปฏิบัติการนิวเมติกส์ให้สามารถตอบโจทย์การเรียนการสอนและการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปริญญานิพนธ์นี้มุ่งเน้นการศึกษาและพัฒนาระบบควบคุมแขนกลอุตสาหกรรมและระบบนิวเมติกส์ ควบคู่ไปกับการบูรณาการเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น PLC (Programmable Logic Controller) และ AI Vision ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานจริงในบริบทอุตสาหกรรม ผลการดำเนินงานในโครงการนี้นอกจากจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังมุ่งหวังที่จะพัฒนาห้องปฏิบัติการให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับนักศึกษารุ่นปัจจุบันและรุ่นถัดไป รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของนักศึกษาในตลาดแรงงาน พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตต่อไปในอนาคต

การจัดการแบตเตอรี่ แบบ IoT

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การจัดการแบตเตอรี่ แบบ IoT

การออกแบบและพัฒนาระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ระยะไกล งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนาระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ที่สามารถมอนิเตอร์และควบคุมจากระยะไกล พร้อมทั้งรองรับการกำหนดคุณสมบัติของเซลล์แบตเตอรี่ได้ตามต้องการ ระบบนี้ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับใช้งานร่วมกับเซลล์แบตเตอรี่กราฟีน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระบบพลังงานทางเลือกสำหรับที่อยู่อาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ