ปัจจุบันการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในภาคเกษตรกรรมเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยเฉพาะสารพาราควอตซึ่งเป็นสารกำจัดวัชพืชที่ถูกห้ามใช้ในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารธรรมชาติกำจัดวัชพืช ที่สามารถใช้ทดแทนสารเคมีเหล่านี้ได้ โดยทำการสกัดสารออกฤทธิ์จากพืชที่มีศักยภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช และทดสอบประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่า สารธรรมชาติที่พัฒนาขึ้นสามารถควบคุมวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์ได้ ช่วยลดการพึ่งพาสารเคมีที่เป็นอันตราย และส่งเสริมแนวทางการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน การพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญในการสนับสนุนการเกษตรที่ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ที่มาของโครงการนี้เกิดจากปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในภาคเกษตรกรรม ซึ่งแม้ว่าสารเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืช แต่กลับก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว โดยเฉพาะสารพาราควอต ซึ่งเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ได้รับความนิยมแต่ถูกห้ามใช้ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย เนื่องจากมีความเป็นพิษสูงและไม่มีวิธีการรักษาหากได้รับสารเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ การตกค้างของสารเคมีในดินและแหล่งน้ำยังส่งผลต่อความสมดุลของระบบนิเวศและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร ด้วยเหตุนี้ โครงการวิจัยนี้จึงถูกพัฒนาขึ้นโดยมีเป้าหมายในการค้นหาและพัฒนาสารจากธรรมชาติที่สามารถทดแทนสารเคมีดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของเกษตรกร ลดปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน นอกจากนี้ การวิจัยยังตอบสนองต่อนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการใช้สารชีวภาพและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสมดุลระหว่างผลผลิตทางการเกษตรและการดูแลสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนในระยะยาว
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
การแสดงถึงธรรมชาติในการเริ่มต้นใหม่
คณะทันตแพทยศาสตร์
Aggregatibacter actinomycetemcomitans เป็นเชื้อก่อโรคหลักของโรคปริทันต์ โดยสามารถทำลายเอ็นยึดปริทันต์และกระดูกเบ้าฟันผ่านการสร้างไบโอฟิล์ม D-LL-31 ซึ่งเป็นเปปไทด์ต้านจุลชีพที่ถูกดัดแปลงทางวิศวกรรม แสดงศักยภาพที่สูงในการกำจัดเชื้อที่ฝังตัวในไบโอฟิล์มได้ดีกว่าวิธีรักษาแบบดั้งเดิม ขณะที่ DNase I ช่วยเสริมประสิทธิภาพโดยการสลายเมทริกซ์ของไบโอฟิล์ม โดยวัตถุประสงศ์ของงานวิจัยนี้ต้องศึกษาผลของ D-LL-31 ร่วมกับ DNase I ต่อไบโอฟิล์มของ A. actinomycetemcomitans ผลการทอลองพบว่า D-LL-31 สามารถกำจัดไบโอฟิล์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อใช้ร่วมกับ DNase I จะช่วยเพิ่มการทำลายไบโอฟิล์มได้มากขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุเหงือก ดังนั้นการใช้ D-LL-31 ร่วมกับ DNase I มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นน้ำยาบ้วนปาก เพื่อช่วยรักษาสุขภาพช่องปากและลดความเสี่ยงของโรคปริทันต์
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
แนวคิดเรื่องการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุด้วยการปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยเหตุนี้การออกแบบทางเท้าที่เหมาะสมและคำนึงถึงความต้องการของผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาศัยภายในชุมชนวัดธาตุและชุมชนวัดกลางเขตเทศบาลนครขอนแก่น ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพแวดล้อมกายภาพของทางเดินเท้าในการเข้าถึงสาธารณูปการ 2) สำรวจพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อทางเดินเท้าภายในชุมชน 3) จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทางเดินเท้าที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเมือง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสำรวจสภาพแวดล้อมทางกายภาพของทางเดินเท้าเพื่อวิเคราะห์ปัญหา ข้อจำกัดและศักยภาพของทางเดินเท้า ร่วมกับแบบสัมภาษณ์สำนักการ ช่าง เทศบาลนครขอนแก่น แบบสอบถามพฤติกรรมการเดินทาง แบบสอบถามความพึงพอใจและทัศนคติของผู้สูงอายุที่มีต่อทางเดินเท้าในชุมชน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน ผลการศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพตามรายการตรวจสอบทั้ง 6 องค์ประกอบ พบว่า มีองค์ประกอบที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การใช้ประโยชน์ที่ดินในชุมชน 2) การเชื่อมต่อของโครงข่ายสัญจร และ 3) ความสวยงามของสถานที่น่าสนใจดึงดูดการเดิน องค์ประกอบที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การมีเส้นทางเดินเท้าที่ปลอดภัย 2) การออกแบบเพื่อทุกคนและ 3) การเดินเข้าถึงสาธารณูปการและสิ่งอำนวยความสะดวก การศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของผู้สูงอายุที่ตอบแบบสอบถามพบว่า วัตถุประสงค์ในการเดินทางส่วนใหญ่เดินทางเพื่อไปแหล่งจับจ่ายใช้สอย และพื้นที่ นันทนาการ มีความถี่ในการเดินทาง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ด้านความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อทางเดินเท้าภายในชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้มีการพัฒนาเส้นทางเดินเท้าที่ปลอดภัย เพื่อรองรับการเดินทางเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปการได้อย่างปลอดภัย