KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การออกแบบรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า เพื่อพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ใหม่

รายละเอียด

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนารถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าโดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงจากระบบเครื่องยนต์สันดาปเป็นระบบไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนการลดมลพิษทางอากาศและเสริมสร้างเทคโนโลยียานยนต์ที่ยั่งยืน รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าได้รับการออกแบบโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้า BLDC และระบบควบคุมที่ปรับแต่งให้เข้ากับการขับขี่แบบเฉพาะของรถสามล้อในประเทศไทย การศึกษาได้พิจารณาถึงระบบพลังงานที่เหมาะสม รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ขับขี่รถตุ๊กตุ๊กแบบดั้งเดิมเพื่อออกแบบรถที่ตอบสนองต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการนำรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามาใช้นอกจากจะลดการปล่อยมลพิษและฝุ่น PM2.5 ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแก่ภาคการท่องเที่ยวไทย พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจภายในประเทศ

วัตถุประสงค์

ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาปัญหาสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจอย่างมากจากทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นหนึ่งในวิกฤตสำคัญของเมืองใหญ่เช่นกรุงเทพฯ ที่ค่าฝุ่น PM2.5 สูงถึง 27.4ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือเกินมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ถึง 5 เท่า สาเหตุหลักของปัญหานี้มาจากยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน(ICE) โดยเฉพาะในยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งปล่อยทั้งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และฝุ่น PM2.5 ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศและสุขภาพของประชาชนรถตุ๊กตุ๊กซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทยและเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งยานพาหนะที่ใช้งานมาอย่างยาวนานและมักใช้เครื่องยนต์สันดาปที่มีประสิทธิภาพต่ำ ทำให้ปล่อยมลพิษสูงกว่ายานพาหนะที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ดังนั้นการพัฒนารถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าจึงมีความสำคัญเพื่อลดการปล่อยมลพิษ ควบคู่ไปกับการรักษาเอกลักษณ์ของไทยให้คงอยู่ การเปลี่ยนรถตุ๊กตุ๊กจากเครื่องยนต์สันดาปเป็นรถไฟฟ้าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมาก โดยหากตุ๊กตุ๊กเปลี่ยนมาเป็นรถไฟฟ้าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากเดิม 6.2 ตันต่อปีเหลือเพียง2 ตันต่อปี หรือคิดเป็นการลดลงถึง 67% ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20-25% ภายในปี 2573 ตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) นอกจากนี้รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ายังมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำกว่ารถที่ใช้เครื่องยนต์เชื้อเพลิง เพราะไม่มีเครื่องยนต์สันดาปที่ซับซ้อนช่วยให้เจ้าของรถประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ประเทศไทย สนับสนุนการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีในประเทศซึ่งนอกจากจะเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมแล้วยังสร้างโอกาสใหม่ๆในด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

นวัตกรรมอื่น ๆ

นวัตกรรมเมืองสีเขียว "Green and Smart City Innovation" + “APOLE” Cultural Product Design: มิติการออกแบบ “เอโพล”

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

นวัตกรรมเมืองสีเขียว "Green and Smart City Innovation" + “APOLE” Cultural Product Design: มิติการออกแบบ “เอโพล”

นวัตกรรมเมืองสีเขียว "Green and Smart City Innovation" การบูรณาการนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation) และนวัตกรรมเพื่อเมืองอัจฉริยะ (Innovation for Smart City) อย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่ต้นแบบ จ.เชียงราย โดยมีฐานการวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ในพื้นที่แบบสหวิทยาการ (Interdisiplinary collabarative learning approach) โดยชุมชน เพื่อชุมชนอันมีกลไกของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องช่วยหนุนเสริม และขับเคลื่อน วัฒนผลิตภัณฑ์สู่่การประยุกต์ใช้ในงานออกแบบสถาปัตยกรรม Project Title : “APOLE” Cultural Product Design: The Cultural Product Design Beyond. เสาอัจฉริยะ A POLE ตอบโจทย์ SMART CITY ครอบคลุมวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ “การพัฒนาเมืองที่มีความประสงค์ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ การบริหารจัดการเมือง การลดค่าใช้จ่าย และการใช้ทรัพยากร โดยเน้นกลไกการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาควิชาการ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ทันสมัย อย่างยั่งยืน ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นเครื่องมือ” เพื่อก้าวสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City ในอนาคต ภาครัฐบาลใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวขับเคลื่อน โดยเน้นการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น โดยดำเนินการวางโครงสร้างพื้นฐานสื่อสารโทรคมนาคม เสาอัจฉริยะ การจัดระเบียบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารลงดิน การติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ระบบปรับปรุงคุณภาพอากาศ อุปกรณ์ Internet of Things (IoT) และระบบการควบคุมเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้สามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพมากขึ้น เสาไฟอัจฉริยะ A Pole สามารถรองรับนวัตกรรมที่ทันสมัยได้อย่างไร้ขีดจำกัดและมีประสิทธิภาพ เป็นหนึ่งสัญญาณหลักว่าเมืองกำลังพัฒนาไปสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ

Air Rack ตู้อุปกรณ์พร้อมระบบทำความเย็นเพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในตู้

วิทยาลัยการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม

Air Rack ตู้อุปกรณ์พร้อมระบบทำความเย็นเพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในตู้

Air Rack เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่และงบประมาณในการสร้างห้องเซิร์ฟเวอร์ ระบบระบายความร้อน และการจัดการเสียงรบกวน ระบบนี้ช่วยให้สามารถใช้งานอุปกรณ์ไอทีในพื้นที่เปิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรองรับทั้งการทำงานแบบ On-premise และ On-cloud ผ่านการแปลงข้อมูลจากเซ็นเซอร์เป็นข้อมูลดิจิทัลและแสดงผลผ่าน Dashboard ผู้ใช้สามารถควบคุม ติดตาม และวิเคราะห์ข้อมูลได้จากระยะไกล อีกทั้งระบบยังช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการห้องเซิร์ฟเวอร์แบบเดิมได้อย่างมีนัยสำคัญ

ระบบปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่งสำหรับติดตามและควบคุมการให้น้ำพืชโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศ

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ระบบปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่งสำหรับติดตามและควบคุมการให้น้ำพืชโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศ

งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบระบบปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่งสำหรับติดตามและควบคุมการให้น้ำพืชโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศ โดยระบบประกอบไป 4 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนที่ 1 สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station) ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และความยาวนานของแสง เป็นต้น ส่วนที่ 2 หน่วยประมวลผล (Controller Unit) โดยจะมีการติดตั้งอัลกอริทึมหรือแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อใช้ประเมินค่าการคายระเหยน้ำของพืชอ้างอิง (ETo) และจะใช้คำนวณร่วมกับค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืชนั้น ๆ (Crop Coefficient: Kc) และข้อมูล อื่น ๆ เกี่ยวกับพืชนั้น ๆ เพื่อประเมินปริมาณการใช้น้ำตามความต้องการของพืชโดยอัตโนมัติ ส่วนที่ 3 ส่วนติดต่อผู้ใช้งานและหน้าจอแสดงผล (User Interface (UI) and Display) เป็นส่วนที่ให้เกษตรกรหรือผู้ใช้งานสามารถป้อนข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของพืช ชนิดของดินที่ปลูก ประเภท ของระบบการให้น้ำ จำนวนหัวจ่ายน้ำ ระยะปลูก และช่วงการเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น และส่วนที่ 4 หน่วยควบคุมและหัวจ่ายน้ำ (Irrigation Unit)