KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การออกแบบและพัฒนาหัวรถจักรไฟฟ้า สำหรับการแข่งขัน TRRN Railway Challenge 2025

รายละเอียด

การออกแบบและพัฒนาหัวรถจักรไฟฟ้าเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน TRRN Railway Challenge 2025 มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีในภาคปฏิบัติ โดยเน้นการพัฒนาหัวรถจักรให้สามารถพิชิตบททดสอบต่างๆ เช่น อัตราเร่ง ระบบหยุดรถอัตโนมัติ เสียงรบกวน การสั่นสะเทือน การใช้พลังงาน และความทนทาน รวมถึงการพัฒนาทักษะในการเขียนรายงานการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะในการวิเคราะห์และอภิปราย เพื่อให้สามารถผ่านการทดสอบตามกฎเกณฑ์ของการแข่งขันได้อย่างครบถ้วน

วัตถุประสงค์

การแข่งขัน TRRN Railway Challenge เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ทีมนักศึกษาและวิศวกรรุ่นใหม่จากทั่วโลกได้ออกแบบและพัฒนาหัวรถจักรไฟฟ้าขนาดเล็กเพื่อนำไปแข่งขันภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดที่กำหนดไว้ การแข่งขันนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการและการพัฒนาทักษะทางวิศวกรรมระบบราง ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อการขนส่งและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่างๆ 1. พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและวิศวกรรุ่นใหม่ ส่งเสริมการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมระบบรางในสถานการณ์จริง สร้างโอกาสให้ผู้เข้าร่วมฝึกฝนการทำงานเป็นทีมและการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ยกระดับมาตรฐานเทคโนโลยีระบบราง 2. ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในการออกแบบและพัฒนาหัวรถจักรไฟฟ้า กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น ระบบควบคุมอัตโนมัติและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า 3. เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล เปิดโอกาสให้นักศึกษาและวิศวกรได้แสดงศักยภาพในเวทีระดับโลก เพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง 4. เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีกับการปฏิบัติจริง ผู้เข้าร่วมจะได้ฝึกฝนทักษะการออกแบบ การวิเคราะห์ และการทดสอบหัวรถจักร ช่วยให้เกิดความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของหัวรถจักร เช่น อัตราเร่ง ระบบเบรก เสียงรบกวน และความทนทาน

นวัตกรรมอื่น ๆ

การห่อหุ้มร่วมระหว่างวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นที่ส่งผลต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพการกักเก็บ : ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

การห่อหุ้มร่วมระหว่างวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นที่ส่งผลต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพการกักเก็บ : ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการห่อหุ้มร่วม (Co-encapsulation) ของวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นภายในลิโปโซม เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและประสิทธิภาพการกักเก็บของสารสำคัญ รวมถึงศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการปลดปล่อยในสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร โดยทำการเตรียมลิโปโซมด้วยวิธี High-Speed Homogenization Method และวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ เช่น ขนาดอนุภาค ศักย์ไฟฟ้า การกักเก็บสารสำคัญ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระผ่าน DPPH, ABTS และ FRAP assay ผลการศึกษาพบว่าการห่อหุ้มร่วมสามารถเพิ่มความเสถียรของวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการห่อหุ้มเดี่ยว โดยมีค่าประสิทธิภาพการกักเก็บสูง และสามารถรักษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดี นอกจากนี้ ลิโปโซมที่เตรียมขึ้นยังแสดงประสิทธิภาพการปลดปล่อยที่เหมาะสมในสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคนิค Co-encapsulation ในการเพิ่มประสิทธิภาพของสารอาหารเชิงหน้าที่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพได้

การประมาณสถานะสุขภาพของแบตเตอรี่ลิเทียม

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การประมาณสถานะสุขภาพของแบตเตอรี่ลิเทียม

ปัจจุบันแบตเตอรี่ลิเทียมถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้การประมาณสถานะสุขภาพ (State of Health: SOH) ของแบตเตอรี่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสามารถช่วยยืดอายุการใช้งาน ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และป้องกันปัญหาด้านความปลอดภัย เช่น ความร้อนสูงเกินหรือการระเบิด โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของแบตเตอรี่ ตลอดจนพัฒนาเทคนิคการประมาณสถานะสุขภาพโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม (Neural Networks) เพื่อเพิ่มความแม่นยำและความรวดเร็วในการประเมิน การทดลองได้ทำการเก็บข้อมูลการประจุและคายประจุของแบตเตอรี่ลิเทียมจำนวน 3 เซลล์ ภายใต้อุณหภูมิที่ควบคุม และใช้กระแสคงที่ในการชาร์จและคายประจุไฟฟ้า พร้อมทั้งบันทึกค่ากระแส แรงดัน และเวลา จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาค่าความจุของแบตเตอรี่ในแต่ละรอบการใช้งาน และใช้เป็นข้อมูลฝึกสอนโครงข่ายประสาทเทียม ผลลัพธ์ที่ได้ช่วยให้สามารถคาดการณ์สถานะสุขภาพของแบตเตอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลจากโครงงานนี้สามารถนำไปพัฒนาระบบจัดการแบตเตอรี่ (Battery Management System) เพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ทั้งยังเป็นแนวทางในการนำเทคนิคปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การผลิตกากชานอ้อยพร้อมใช้สำหรับใช้รมควันเนื้อสัตว์

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

การผลิตกากชานอ้อยพร้อมใช้สำหรับใช้รมควันเนื้อสัตว์

ผู้วิจัยมีแนวคิดพัฒนากากชานอ้อยผสมโมลาสเพื่อใช้เป็นวัสดุรมควันเนื้อสัตว์ โดยเพิ่มกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ตอบโจทย์ธุรกิจอาหารและความต้องการของผู้บริโภค ทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือใช้จากโรงงานน้ำตาล ลดของเสีย และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า