งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการห่อหุ้มร่วม (Co-encapsulation) ของวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นภายในลิโปโซม เพื่อเพิ่มเสถียรภาพและประสิทธิภาพการกักเก็บของสารสำคัญ รวมถึงศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการปลดปล่อยในสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร โดยทำการเตรียมลิโปโซมด้วยวิธี High-Speed Homogenization Method และวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ เช่น ขนาดอนุภาค ศักย์ไฟฟ้า การกักเก็บสารสำคัญ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระผ่าน DPPH, ABTS และ FRAP assay ผลการศึกษาพบว่าการห่อหุ้มร่วมสามารถเพิ่มความเสถียรของวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็นได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการห่อหุ้มเดี่ยว โดยมีค่าประสิทธิภาพการกักเก็บสูง และสามารถรักษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดี นอกจากนี้ ลิโปโซมที่เตรียมขึ้นยังแสดงประสิทธิภาพการปลดปล่อยที่เหมาะสมในสภาวะจำลองระบบทางเดินอาหาร แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเทคนิค Co-encapsulation ในการเพิ่มประสิทธิภาพของสารอาหารเชิงหน้าที่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพได้
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ โคเอนไซม์คิวเท็น (CoQ10) เป็นสารสำคัญที่ช่วยผลิตพลังงานในเซลล์และมีบทบาทในการปกป้องเซลล์จากความเสียหาย โดยปกติโคเอนไซม์คิวเท็นเป็นสารที่ร่างกายสามารถผลิตเองได้แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะทำให้การผลิตโคเอนไซม์คิวเท็นลดลง ส่วน วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน การห่อหุ้มร่วม (Co-encapsulation) ใน ลิโปโซม (Liposome) ช่วยเพิ่มเสถียรภาพของสารสำคัญ ป้องกันการเสื่อมสลายของสารสำคัญในระบบทางเดินอาหาร โดยลิโปโซมสามารถกักเก็บสารที่ละลายในน้ำและไขมันไว้ภายในโครงสร้างเดียวกัน นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่าการใช้เทคนิคนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรักษาได้ ดังนั้น การวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการห่อหุ้มร่วมของวิตามินซีและโคเอนไซม์คิวเท็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสารทั้งสองในการดูแลสุขภาพและความงาม
คณะวิศวกรรมศาสตร์
การประดิษฐ์หุ่นยนต์การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2567 เกม “วิถีข้าว วิถีไทย สู่วิถีสากล (HARVEST DAY)”
คณะวิศวกรรมศาสตร์
โครงการนี้นำเสนอระบบจัดเก็บแผ่นเหล็กแนวตั้งอัตโนมัติ ทำงานโดยเรียนรู้วิธีการออกแบบและสร้างระบบจัดเก็บแผ่นเหล็กแนวตั้งอัตโนมัติที่รวมเข้ากับอุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์ โครงการประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ โครงสร้างและระบบควบคุมระบบจัดเก็บแผ่นเหล็กแนวตั้งอัตโนมัติ ซึ่งจะออกแบบและเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์และสร้างโดยใช้โครงสร้างหลักอะลูมิเนียมตามขนาดจริงที่ออกแบบในโปรแกรม และระบบควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์ใช้โปรแกรม GX Works 2 ของ Mitsubishi PLC เพื่อออกแบบระบบที่ควบคุมการขึ้นและลง เข้าและออกของพาเลท สามารถชั่งน้ำหนักได้และมีหน้าจอสัมผัสแสดงข้อมูลแผ่นเหล็กและใช้ควบคุมระบบจัดเก็บแผ่นเหล็กแนวตั้งอัตโนมัติและม่านแสงนิรภัยเพื่อป้องกันด้านความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ทดสอบการทำงานของเครื่องจัดเก็บแผ่นเหล็กแนวตั้งอัตโนมัติ แล้วพบว่าทำงานได้ตามปกติ มีข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่อยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้
คณะอุตสาหกรรมอาหาร
ในปัจจุบัน การบริโภคโปรตีนจากพืชได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของถั่วลูกไก่และถั่วแดง รวมถึงพัฒนาสูตรเบอร์เกอร์เนื้อเทียมจากพืชที่มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับเบอร์เกอร์จากเนื้อสัตว์ ในด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส และคุณค่าทางโภชนาการ การทดลองประกอบด้วยการให้ความร้อนโดยการนึ่ง และวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ได้แก่ ค่าเนื้อสัมผัส (Texture) ค่าสี (Color) ค่า Water Activity (aW) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) และค่าการอุ้มน้ำและอุ้มน้ำมัน นอกจากนี้ ยังมีการทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค ผลการศึกษาคาดว่าจะช่วยพัฒนาสูตรเบอร์เกอร์พืชที่มีคุณภาพสูงและสามารถเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ได้