ในปัจจุบัน ผู้บริโภคอาจเคยประสบเหตุการณ์ที่ไม่รู้ว่าจะเลือกผลิตภัณฑ์ใดตามปัญหาผิว, ผลิตภัณฑ์ที่ใช้นั้นไม่ให้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ, ผลิตภัณฑ์นั้นไม่คุ้มค่ากับราคา, แพ้สารเคมีบางชนิดในผลิตภัณฑ์ หรือใช้ผลิตภัณฑ์หลายชิ้นแล้วมีส่วนผสมที่ไม่ควรใช้ร่วมกันนำไปสู่การระคายเคือง ด้วยเหตุผลนี้คณะผู้จัดทำจึงพัฒนาแอปพลิเคชันวิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจข้อมูลส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและรู้ว่าควรใช้ผลิตภัณฑ์ใดตามปัญหาผิวโดยไม่ต้องอาศัยความรู้ด้านเคมีและได้ผลิตภัณฑ์ที่คุ้มค่ากับราคาที่สุด โครงงานได้มีการบูรณาการความรู้ด้าน Software เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับวิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เพื่อค้นหาและแนะนำผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่เหมาะสมให้กับผู้บริโภค โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมููลของส่วนผสมที่สำคัญต่าง ๆ จากบทความและงานวิจัยที่เชื่อถือได้
ในยุคที่ข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผู้บริโภคมักสับสนกับผลิตภัณฑ์ดูแลผิวมากมายบนท้องตลาด ผู้บริโภคอาจเคยประสบเหตุการณ์ที่ไม่รู้ว่าจะเลือกผลิตภัณฑ์ใดตามปัญหาผิว, ผลิตภัณฑ์ที่ใช้นั้นไม่ให้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ, ผลิตภัณฑ์นั้นไม่คุ้มค่ากับราคา, แพ้สารเคมีบางชนิดในผลิตภัณฑ์ หรือใช้ผลิตภัณฑ์หลายชิ้นแล้วมีส่วนผสมที่ไม่ควรใช้ร่วมกันนำไปสู่การระคายเคือง ด้วยเหตุนี้ คณะผู้จัดทำจึงพัฒนาแอปพลิเคชันวิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ดูแลผิว เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจข้อมูลส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและรู้ว่าควรใช้ผลิตภัณฑ์ใดตามปัญหาผิวโดยไม่ต้องอาศัยความรู้ด้านเคมี โดยแอปพลิเคชันแสดงรายละเอียดส่วนผสมทั้งหมดในผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งอธิบายหน้าที่ ประสิทธิภาพและความปลอดภัยเพียงแค่ถ่ายรูปส่วนผสมของผลิตภัณฑ์นั้น ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับสภาพผิวและความต้องการ มีการแสดงผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลลัพธ์คล้ายกันแต่คุ้มค่ากว่า โดยพิจารณาจากส่วนผสมหลักและกลไกการออกฤทธิ์ ช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ใด ๆ ได้ง่ายขึ้น สามารถพิมพ์ปัญหาผิว เช่น ฝ้า, สิว, ผิวคล้ำ เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ปัญหาผิวได้ ช่วยให้ผู้บริโภคที่ไม่รู้จักผลิตภัณฑ์ใด ๆ ในท้องตลาดเลยก็สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ด้วยตนเองได้ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันที่ให้ผู้ใช้เพิ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นประจำลงไปเพื่อตรวจสอบว่ามีส่วนผสมจากผลิตภัณฑ์ใดที่ไม่ควรใช้ร่วมกันหรือไม่ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงสาเหตุของการระคายเคืองได้
วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง
เนื่องจากไซโลเก็บข้าวอินทรีย์เผชิญกับปัญหาแมลง เจ้าของจึงแก้ไขปัญหานี้โดยใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES) ในกระบวนการควบคุมบรรยากาศ (CAP) ภายใต้มาตรฐานที่กำหนด โดยทำการรมแมลงด้วยไนโตรเจน (N₂) และลดความเข้มข้นของออกซิเจน (O₂) ให้น้อยกว่า 2% เป็นเวลา 21 วัน บทความนี้นำเสนอการใช้พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (CFD) ร่วมกับ ES ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นแรก CFD ถูกนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการไหลของก๊าซ ความเข้มข้นของ O₂ สภาวะการทำงานที่เหมาะสม และค่าสัมประสิทธิ์การแก้ไข (K) ของไซโล ซึ่งผลลัพธ์ของ CFD สอดคล้องกับผลการทดลองและทฤษฎี ยืนยันความน่าเชื่อถือของ CFD อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ของ CFD ยังแสดงให้เห็นว่า ES สามารถควบคุมการกระจายตัวของไนโตรเจนภายในไซโลได้อย่างทั่วถึงและลดความเข้มข้นของ O₂ ให้เป็นไปตามข้อกำหนด จากนั้น ระบบ ES ถูกพัฒนาขึ้นโดยอาศัยกลไกการวินิจฉัย (Inference Engine) ที่ได้รับการสนับสนุนจากผลลัพธ์ของ CFD และหลักการกวาดผ่านเพื่อล้าง (Sweep-Through Purging) ก่อนจะนำไปใช้ในกระบวนการ CAP สุดท้าย การทดลองถูกดำเนินการเพื่อประเมินประสิทธิภาพของ CAP ในการควบคุมความเข้มข้นของ O₂ และกำจัดแมลงภายในไซโลจริง ผลการทดลองและข้อเสนอแนะจากเจ้าของยืนยันว่า การนำ ES ไปใช้มีประสิทธิภาพสูง จึงทำให้ CAP เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิผลและสามารถนำไปใช้ได้จริง ความแปลกใหม่ของงานวิจัยนี้อยู่ที่การใช้วิธีการ CFD ในการสร้างกลไกการวินิจฉัยและพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ (ES)
คณะวิศวกรรมศาสตร์
กรรมวิธีผลิตแผ่นแสดงระดับความหืนของอาหารประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ 1. การเตรียมสารละลายอินดิเคเตอร์ 2. การเตรียมสารละลายเซลลูโลส และ 3. การขึ้นรูปแผ่น มีสารละลายโบรโมไทมอลบลู และสารละลายเมทิลเรดทำหน้าที่เป็นอินดิเคเตอร์ ส่วนสารละลายเซลลูโลสประกอบด้วยสารไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส สารคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ สารโพลิเอทิลีน ไกลคอล 400 และสารละลายอินดิเคเตอร์ สำหรับการขึ้นรูปแผ่นใช้สารละลายเซลลูโลสผสมกับน้ำยางธรรมชาติเพื่อเพิ่มความยืนหยุ่นและทำให้มีคุณสมบัติไม่น้ำชอบ หลังการอบแห้งสิ่งประดิษฐ์จะมีลักษณะเป็นแผ่นบางสีน้ำเงินเข้ม เมื่อสัมผัสกับสารระเหยของความหืนของอาหารทอด จะเปลี่ยนสีจากสีน้ำเงินเข้มเป็นสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ตามปริมาณสารระเหยของความหืนของอาหารทอดที่เพิ่มขึ้น
คณะวิศวกรรมศาสตร์
งานวิจัยนี้ศึกษาการสร้างสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งได้ทำการสร้างสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพิมพ์ 3 มิติ ด้วยโปรแกรม AutoCAD ทำให้ตัวเครื่องนั้นมีความแข็งแรงทนทาน ต้นทุนต่ำ และพกพาสะดวก เพื่อใช้ในการตรวจวัดปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ในอาหารทะเลสด