KMITL Innovation Expo 2025 Logo

วัลนาแชท

วัลนาแชท

รายละเอียด

โครงงานนี้นำเสนอการพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับช่องโหว่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับ Common Vulnerabilities and Exposure (CVE) และระบบ Common Vulnerability Scoring System (CVSS) โครงงานนี้มีศักยภาพในการปรับปรุงแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีเครื่องมือที่เข้าถึงได้ง่ายและให้ข้อมูลสำหรับการทำความเข้าใจและลดความเสี่ยงจากช่องโหว่

วัตถุประสงค์

ในยุคที่การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว องค์กรต่างๆต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในการระบุและลดความเสี่ยงจากช่องโหว่ต่างๆ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นทำให้จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อช่วยให้นักทดสอบเจาะระบบสามารถประเมินช่องโหว่และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ วิธีการปัจจุบันมักเกี่ยวข้องกับการค้นหาด้วยตนเองผ่านฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งอาจใช้เวลานานและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ แชทบอทที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์สามารถทำให้กระบวนการนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้ข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำเกี่ยวกับช่องโหว่เฉพาะ รวมถึงคำอธิบาย คะแนน CVSS และระดับความรุนแรง

นวัตกรรมอื่น ๆ

สเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพิมพ์สามมิติสำหรับการตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ ในอาหารทะเลสด

คณะวิศวกรรมศาสตร์

สเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพิมพ์สามมิติสำหรับการตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ ในอาหารทะเลสด

งานวิจัยนี้ศึกษาการสร้างสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งได้ทำการสร้างสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบพิมพ์ 3 มิติ ด้วยโปรแกรม AutoCAD ทำให้ตัวเครื่องนั้นมีความแข็งแรงทนทาน ต้นทุนต่ำ และพกพาสะดวก เพื่อใช้ในการตรวจวัดปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์ในอาหารทะเลสด

ระบบติดตามดวงตาเพื่อช่วยเหลือการสื่อสารสำหรับผู้ป่วยอัมพาตที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ระบบติดตามดวงตาเพื่อช่วยเหลือการสื่อสารสำหรับผู้ป่วยอัมพาตที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้

โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อออกแบบ และพัฒนาระบบติดตามดวงตาเพื่อช่วยเหลือการสื่อสารสำหรับผู้ป่วยอัมพาตที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสาร หรือบอกความต้องการกับผู้ดูแล หรือสมาชิกในครอบครัวด้วยวิธีการตรวจจับและติดตามดวงตาด้วยอุปกรณ์ Tobii Eye Tracker 5 วิธีการนี้เป็นการสื่อสารแทนการขยับร่างกาย หรือการพูดของผู้ป่วยอัมพาต ระบบสามารถตรวจจับและติดตามดวงตาที่ระยะสายตา 55 ถึง 85 เซนติเมตร ระบบถูกออกแบบให้สามารถติดตั้งได้บนคอมพิวเตอร์เพื่อง่ายต่อการใช้งาน หน้าจอของโปรแกรมประกอบด้วย 3 ส่วน 1) ชุดคำสั่งทางความรู้สึก และ 2) ชุดคำสั่งทางความต้องการ 3) ชุดคำสั่งเพิ่มเติม สามารถรับค่าได้จากแป้นพิมพ์เสมือนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และสามารถระบุความต้องการเพิ่มเติมผ่านการพิมพ์ด้วยการตรวจจับสายตา นอกจากนี้ระบบยังสามารถสร้างเสียงสังเคราะห์จากข้อความที่มีความยากในการอ่านออกเสียง ส่งข้อความแจ้งเตือนไปที่แอปพลิเคชันไลน์ และจัดเก็บข้อมูลการใช้งานบนฐานข้อมูลในรูปแบบแดชบอร์ด จากผลการทดสอบระบบพบว่าระยะทาง 65 ถึง 75 เซนติเมตร เป็นระยะที่ตรวจจับที่ดีที่สุดเนื่องจากมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ สามารถตอบสนองการมองเพื่อสื่อสารผ่านเสียงตามปุ่มการทำงานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องโดยใช้เวลา 3 วินาที ระบบนี้สามารถติดตามดวงตาของผู้ป่วยอัมพาตที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เพื่อช่วยในการสื่อสาร เช่น การแสดงความรู้สึก การแสดงความต้องการ เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต่อผู้ป่วยและผู้ดูแลหรือสมาชิกในครอบครัวให้มีความเข้าใจต่อผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น

การพัฒนาฉลากสินค้าปลาดุกเส้นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา ตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การพัฒนาฉลากสินค้าปลาดุกเส้นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา ตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ปลาดุกเส้นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา 2) พัฒนาฉลากสินค้าปลาดุกเส้น และ 3) ประเมินระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีต่อฉลากสินค้าที่พัฒนาขึ้น โดยศึกษาจาก สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา จำนวน 17 คน และผู้บริโภค จำนวน 151 คน วิธีการวิจัยประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการใช้แบบสอบถาม เพื่อรวบรวมข้อมูลความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่า ฉลากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนามีความสามารถในการดึงดูดความสนใจและสร้างความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ได้ โดยสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนาและผู้บริโภคมีระดับความพึงพอใจต่อฉลากสินค้าในระดับมาก (x ̅= 4.17 และ 3.75 ตามลำดับ)