วาเนเดียมไดออกไซด์เป็นวัสดุเปลี่ยนเฟส โดยคุณสมบัติเฉพาะคือโครงสร้างผลึกจะเปลี่ยนแปลงเมื่อเพิ่มความร้อนจนถึงอุณหภูมิเปลี่ยนเฟสและโครงสร้างจะเปลี่ยนเฟสกลับเมื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่าอุณหภูมิเปลี่ยนเฟส หากเทียบกับวัสดุทั่วไปแล้วการเปลี่ยนเฟสจะส่งผลให้คุณสมบัติทางแสงเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราสามารถใช้คุณสมบัตินี้ในการออกแบบอุปกรณ์ฟิล์มบางเพื่อการใช้งานเป็นโหมดได้ ในงานวิจัยนี้ ผู้ทำได้เลือกอุปกรณ์ฟิล์มบางสองประเภทที่ทำจากวาเนเดียมไดออกไซด์ มาออกแบบเพื่อเพิ่มโครงสร้างสั่นพ้องแบบไม่สมมาตรขึ้นมาใหม่ โดยโครงสร้างถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของชั้นวาเนเดียมไดออกไซด์ที่อยู่ตรงกลาง และมีลักษณะลดการสะท้อนในโหมดการทำงานปกติ อภิปรายถึงช่องสั่นพ้อง, ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้วัสดุเปลี่ยนเฟส, ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการออกแบบใหม่นี้ด้วย
ปัจจุบันมีงานวิจัยเพื่อออกแบบอุปกรณ์ฟิล์มบางทางแสงเป็นจำนวนมาก เราสามารถใช้คุณสมบัติของวัสดุเปลี่ยนเฟส (PCMs) เพื่อออกแบบอุปกรณ์ที่ทำงานได้สองโหมด อีกทั้งยังมีการออกแบบฟิล์มบางให้มีโครงสร้างเป็นช่องสั่นพ้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและปรับย่านการทำงานให้เหมาะสม แต่วิธีการออกแบบช่องสั่นพ้องปกติไม่สามารถใช้ได้กับวัสดุเปลี่ยนเฟส งานวิจัยนี้จะเป็นการเปรียบเทียบวิธีการออกแบบช่องสั่นพ้องที่ไม่สมมาตรเพื่อแก้ปัญหาข้างต้น โดยจะเทียบกับวิธีปกติของอุปกรณ์ฟิล์มบางในงานวิจัยที่มีอยู่ โดยแสดงถึงข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการออกแบบใหม่นี้
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้พลังงานในอนาคต Net Zero ของกรุงเทพครั้งใหม่ โดยมีเป้าหมายที่จะตอบข้อบกพร่องของโครงสร้างเมืองในปัจจุบัน ซึ่งยังคงไม่มีประสิทธิภาพและก่อมลพิษอย่างมาก ในทางกลับกันโครงการนี้สามารถผลิตพลังงานและส่งพลังงานส่วนเกินกลับคืนสู่เมืองและชุมชนโดยรอบ
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
โปรเจคสวนสาธารณะ: วิถีชาวเล เป็นการออกแบบสวนสาธารณะในพื้นที่ ตำบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ในขนาดพื้นที่ 56 ไร่ เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อน นันทนาการ ทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ อนุรักษ์ ชายทะเลและวิถีชีวิตดั้งเดิมของพื้นที่
คณะวิทยาศาสตร์
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และประมวลผลปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนในประเทศไทย และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนในประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ 57,600 ครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 54.31 ปี มีสถานภาพสมรสแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาอยู่ที่ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวไม่มีลูกจ้าง, อาชีพลูกจ้างเอกชน และอื่น ๆ ในด้านลักษณะทางสังคมขนาดของครัวเรือนเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ที่ 2.71 คน มีที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่ภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกัน รองลงมาเป็นภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ ส่วนใหญ่อาศัยในบ้านเดี่ยว และลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นแบบตึก รองลงมาเป็นแบบครึ่งตึกครึ่งไม้ ส่วนสถานภาพการครอบครองที่อยู่อาศัยพบว่าเกือบทั้งหมด เป็นเจ้าของบ้าน โดยมีจำนวนห้องในที่อยู่อาศัยเฉลี่ยที่ 2.88 ห้อง มีไฟฟ้าใช้ในที่อยู่อาศัยทุกครัวเรือน มียานพาหนะที่ใช้พลังงานเฉลี่ย 2.30 คันต่อครัวเรือน รวมถึงมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 22 ชิ้น และในด้านลักษณะทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ และได้รับผลประโยชน์จากโครงการช่วยเหลือของรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เคยกู้ยืมเงินจากกองทุนต่าง ๆ ที่รัฐจัดให้ สำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสื่อสารผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 788.46 บาท และมีค่าเฉลี่ยหนี้สินของครัวเรือนอยู่ที่ 4,760.74 บาท ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนในประเทศไทย ได้แก่ เพศ, ระดับการศึกษา, สถานภาพสมรส, อาชีพ, จำนวนสมาชิก, ภาคที่อยู่อาศัย, ประเภทที่อยู่อาศัย, ลักษณะที่อยู่อาศัย, สถานภาพการครอบครองที่อยู่อาศัย, จำนวนห้อง, จำนวนยานพาหนะ, จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า, สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล, การได้รับผลประโยชน์จากโครงการช่วยเหลือของรัฐ, การกู้ยืมเงินจากกองทุนต่าง ๆ ที่รัฐจัดให้, ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสื่อสาร และจำนวนหนี้สินของครัวเรือน ส่วนอายุไม่มีผลต่อค่าใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนในประเทศไทย และผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรงพบว่ามีตัวแปรอิสระเชิงปริมาณ 6 ตัว ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสื่อสาร, จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน, จำนวนยานพาหนะที่ใช้พลังงานในครัวเรือน, จำนวนหนี้สินของครัวเรือน, จำนวนห้อง และขนาดของครัวเรือน ที่มีส่วนในการอธิบายความผันแปรของค่าใช้จ่ายพลังงานของ โดยมีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.561