ในปัจจุบันการประชาสัมพันธ์และการเรียนรู้ในรูปแบบดั้งเดิมมักขาดความน่าสนใจ และไม่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ลึกซึ้งให้แก่ผู้ใช้งานได้ นอกจากนี้ยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมายังสถานที่จริงได้ โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงและการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับหอเทิดพระเกียรติและหอประวัติของสถาบันพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง การใช้เทคโนโลยีเมตาเวิร์สในการจำลองสถานที่สำคัญช่วยให้ผู้ใช้สามารถ สำรวจสถานที่และรับชมข้อมูลที่สำคัญในรูปแบบเสมือนจริงเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของนักศึกษา บุคลากร ศิษย์เก่า และบุคคลทั่วไป ในการพัฒนาระบบเมตาเวิร์ส ได้พัฒนาผ่านระบบ Unity ซึ่งเป็นเกมเอนจินที่มีความสามารถในการพัฒนาระบบเมตาเวิร์ส เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่สามารถโต้ตอบได้ Unity ยังรองรับ การจัดการฟิสิกส์ แสง และเสียง เพื่อเพิ่มความสมจริง อีกทั้งให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึงโครงงานได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมต่อกับเว็บเบราวเซอร์ โดยใช้เทคโนโลยี WebGL ซึ่งช่วยให้โครงานที่สร้างขึ้นใน Unity สามารถแสดงผลได้โดยตรงผ่านเว็บเบราวเซอร์ ผู้ใช้งานสามารถเข้าชมได้จากทุกที่ และโต้ตอบกับสถานที่ในเมตาเวิร์สได้ทันที โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติม ผู้พัฒนาจึงพัฒนาระบบระบบเมตาเวิร์สเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สมจริงและดึงดูดความสนใจ ช่วยเพิ่มโอกาสในการประชาสัมพันธ์และสร้างความผูกพันกับสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพ
ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีเมตาเวิร์สมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ และการเรียนรู้ช่วยให้ผู้คนสามารถเข้าถึงข้อมูล และประสบการณ์ในรูปแบบใหม่ที่มีความน่าสนใจ และมีประสิทธิภาพมากขึ้นการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงนี้ช่วยสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความผูกพัน ต่อองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ได้อย่างลึกซึ้งและสมจริง อาคารนวัตกรรมเฉลิมพระเกียรติเป็นดั่งสถานที่สำคัญประจำสถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังในการจัดกิจกรรมสำคัญต่างๆ รวมถึงเพื่อระลึกถึงและเทิดพระเกียรติแก่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 นอกจากนี้ยังมีห้องจัดแสดงประวัติการก่อตั้งสถาบันฯ และผลงานที่โดดเด่นจากคณาจารย์ นักศึกษา ทั้งด้านงานวิจัย วิชาการ นวัตกรรม และงานบริการสังคม โครงงานเมตาเวิร์ส อาคารนวัตกรรมเฉลิมพระเกียรติ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาวิธีการนำเสนอ และการเรียนรู้โดยการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง มาสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้เข้าชม เพื่อช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความผูกพันต่อสถาบันฯ รวมถึงการส่งเสริมให้มีการใช้งานแพลตฟอร์มเมตาเวิร์สในการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมต่างๆ ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในรูปแบบใหม่ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การวิจัยนี้มีวัตถุเพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างโรงเรือนพรางแสงและโรงเรือนอีแวปสำหรับการ ผลิตพิทูเนียกระถางที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต การออกดอกและประสิทธิภาพการสังเคราะห์ ด้วยแสงของพิทูเนีย โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มประชากรดังนี้ 1) โรงเรือนอีแวป (evaporative cooling house) 2) โรงเรือนพรางแสง (shade net house) โดยแต่ละกลุ่มใช้พิทูเนียจำนวน 50 กระถางในการบันทึกผล ผลการทดลองพบว่า การปลูกพิทูเนียในโรงเรือนอีแวปส่งผลให้ลำต้นมี ความสูงมากที่สุด ดอกมีขนาดใหญ่และบานได้นานกว่า แต่การปลูกในโรงเรือนพรางแสงส่งผลให้ พิทูเนียแทงตาดอก ออกดอกได้เร็วกว่า รวมถึงดอกมีสีเข้มกว่า และมีจำนวนดอกใหม่ต่อต้น มากกว่าเท่าตัวหลังการย้ายปลูก 21 วัน ในส่วนของประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงในรอบวันหลัง การย้ายปลูก 30 วัน พบว่าในช่วงเวลา 12.00 น. ทำให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสุทธิทั้ง 2 โรงเรือนสูงสุด และทำให้ค่าการนำไฟฟ้าของปากใบและอัตราการคายน้ำเพิ่มขึ้นสูงสุดในโรงเรือน อีแวป หลังการย้ายปลูก 60 วัน พบว่าอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสุทธิ ค่าการนำไฟฟ้าของปาก ใบและค่าการคายน้ำมีค่าสูงสุดในโรงเรือนพรางแสงในช่วงเวลา 10.00 น. ส่วนการสังเคราะห์ด้วย แสงในความเข้มแสงที่แตกต่างกัน หลังการย้ายปลูก 30 วัน พบว่าอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง สุทธิ ค่าการนำไฟฟ้าปากใบและอัตราการคายน้ำสูงสุดเมื่อให้ความเข้มแสงที่ 2000 µmol m-2 s-1 โดยมีค่าสูงสุดในโรงเรือนพรางแสง หลังการย้ายปลูก 60 วัน อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงสุทธิ สูงสุดเมื่อให้ความเข้มแสงที่ 1400 µmol m-2 s-1 โดยมีค่าสูงสุดในโรงเรือนพรางแสง จากการศึกษา จึงสรุปผลได้ว่า การปลูกพิทูเนียในโรงเรือนพรางแสง เหมาะสมสำหรับการผลิตพิทูเนียกระถาง และมีประสิทธิภาพการสังเคราะห์ด้วยแสงของพิทูเนียมากกว่าการปลูกพิทูเนียในโรงเรือนอีแวป
คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุดมุ่งหมายของการประดิษฐ์นี้ เพื่อพัฒนาสารป้องกันการเกิดไฟป่าให้มีความสามารถในการป้องกันการเกิดไฟป่าระยะยาว มิใช่เพียงการใช้ระงับไฟป่า หรือป้องกันไม่ให้ไฟป่านั้นแพร่กระจายเป็นวงกว้าง แต่มุ่งเน้นที่การป้องกันไม่ให้เกิดการติดไฟตั้งแต่เริ่มต้น สามารถป้องกันการเกิดไฟป่าได้อย่างครอบคลุม สามารถป้องกันได้ยาวนานตลอดช่วงระยะเวลาที่เกิดไฟป่าสูงสุดหรือช่วงเข้าสู่ฤดูแล้ง นับเป็นระยะเวลาประมาณ 3 - 4 เดือน โดยหลังจากการที่มีการผลสารกันไฟป่าจะไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในน้ำ ไม่มีสารตกค้างหรือตกค้างน้อยที่สุดโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบภายใต้มาตรฐานที่มีการระบุไว้ เน้นการใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ และเคมีภัณฑ์ที่สามารถหาได้ง่ายในประเทศไทย รวมไปถึงการใช้มูลค่าต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งทำให้เหมาะสมต่อการใช้งานในปริมาณมากสำหรับการฉีดพ่นป้องกันพื้นที่ป่าไม้บริเวณพื้นที่ป่าที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย จากค่าเฉลี่ยโดยประมาณสำหรับมลพิษที่เกิดในรหว่างการเกิดไฟป่า ได้แก่ ฝุ่นละออง (PM) ประกอบด้วย PM2.5 PM10, คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO), คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx), สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เป็นต้น
คณะวิศวกรรมศาสตร์
งานวิจัยนี้เสนอแนะการใช้โพลีเมอร์เชือกเสริมเส้นใยธรรมชาติ เพื่อเสริมกำลังเสาคอนกรีตสี่เหลี่ยมรวมรีไซเคิลที่ประกอบด้วยอิฐมวลรวมแข็งจากดินเหนียวเผา เพื่อลดต้นทุนสูงที่เกี่ยวข้องกับโพลีเมอร์เสริมใยสังเคราะห์ ตัวอย่างคอนกรีตจำนวน 24 คอลัมน์เพื่อทำการศึกษาครั้งนี้ ตัวอย่างได้รับการทดสอบภายใต้แรงอัดตามแนวแกนแบบโมโนโทนิก ตัวแปรที่น่าสนใจคือ กำลังของคอนกรีตไม่จำกัดจำนวน และจำนวนชั้น FRR จากผลการทดสอบ ชิ้นงานที่ได้รับการปรับปรุงให้แข็งแกร่งขึ้นแสดงให้เห็นถึงกำลังรับแรงอัดและความเหนียวที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชิ้นงานที่มีความแข็งแรงไม่จำกัดน้อยที่สุดแสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงที่ใหญ่ที่สุดในด้านกำลังรับแรงอัดและความเหนียว โดยเฉพาะกำลังรับแรงอัดและความเครียดเพิ่มขึ้นถึง 181% และ 564% ตามลำดับ เพื่อที่จะคาดการณ์ความเครียดและความเครียดจากแรงอัดที่จำกัดขั้นสุดท้าย การศึกษานี้จึงได้ตรวจสอบแบบจำลองความเครียด-ความเครียดเชิงวิเคราะห์จำนวนหนึ่ง การเปรียบเทียบผลการทดลองและทางทฤษฎีสรุปได้ว่าแบบจำลองความแข็งแกร่งเพียงจำนวนจำกัดเท่านั้นที่ส่งผลให้เกิดการคาดการณ์อย่างใกล้ชิด ในขณะที่มีการสังเกตการกระจายที่ใหญ่กว่าสำหรับการทำนายความเครียด การเรียนรู้ของเครื่องถูกนำมาใช้โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมเพื่อทำนายกำลังรับแรงอัด ชุดข้อมูลที่ประกอบด้วย 142 ตัวอย่างเสริมความแข็งแกร่งด้วยกัญชา FRP ถูกดึงออกมาจากวรรณกรรม โครงข่ายประสาทเทียมได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับชุดข้อมูลที่แยกออกมา และประสิทธิภาพของมันได้รับการประเมินสำหรับผลการทดลองของการศึกษานี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงข้อตกลงที่ใกล้ชิด