แมลงศัตรูทางการแพทย์และสัตวแพทย์ที่สำคัญจำพวกยุงลายบ้าน แมลงวันบ้าน และแมลงสาบ ล้วนสร้างปัญหาทางด้านสุขอนามัยของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมถึงสร้างความบดบังความงามทางทัศนียภาพมากขึ้น ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้จึงค้นพบสูตรผสมของน้ำมันหอมระเหยและสารออกฤทธ์หลักจากพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมและกำจัดแมลงเหล่านี้เมื่อเทียบกับสารเคมีกำจัดแมลง รวมถึงมีความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่เป้าหมายที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ และพบว่ามีความเสถียรและรักษาคุณภาพการออกฤทธิ์ของสารได้เป็นอย่างดี ซึ่งสารสูตรดังกล่าวสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้แทนหรือลดการใช้สารเคมีกำจัดแมลงเหล่านี้ได้
แมลงศัตรูทางการแพทย์และสัตวแพทย์มีแมลงหลากหลายชนิดที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขและสัตว์เลี้ยงต่างๆอย่างมากมายกับประชากรทั่วโลก โดยเน้นแมลงที่มีความสำคัญในทางการแพทย์และสัตวแพทย์ในปัจจุบัน ได้แก่ ยุงลายบ้าน แมลงวันบ้าน แมลงวันคอกสัตว์ เหามนุษย์ แมลงสาบอเมริกัน และแมลงสาบเยอรมัน เพราะแมลงศัตรูเหล่านี้เป็นแมลงพาหะที่นำโรคมาสู่มนุษย์และสัตว์เลี้ยง อาทิเช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อ เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าวจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการหาแนวทางป้องกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงศัตรูเหล่านี้ เพื่อเป็นการตัดวงจรชีวิตและการควบคุมระบาด ซึ่งส่วนมากนิยมใช้สารเคมีสังเคราะห์ในการกำจัดแมลงที่สามารถลดจำนวนประชากรของแมลงได้อย่างรวดเร็ว แต่การใช้สารเคมีสังเคราะห์ในการกำจัดแมลงเป็นเวลานานๆ ทำให้เกิดผลเสียต่างๆตามมา เช่น แมลงศัตรูทางการแพทย์และสัตวแพทย์สร้างความต้านทานต่อสารเคมีสังเคราะห์ จำเป็นต้องเปลี่ยนสารเคมีสังเคราะห์ชนิดใหม่ๆ หรือใช้ในปริมาณที่สูงขึ้น ทำให้เกิดการระบาดของแมลงพาหะชนิดใหม่ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยมีความสำคัญเกิดการระบาดเป็นแมลงศัตรูขึ้นมาได้ และประการสำคัญคือสารเคมีสังเคราะห์มีความเป็นพิษสูงกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆที่ไม่ต้องการทำลายต้องตายไปด้วย เช่น ปลา แมลงในน้ำ ไส้เดือน เป็นต้น รวมทั้งผึ้งและแมลงมีประโยชน์ชนิดต่างๆ ปัจจุบันมีการนำน้ำมันหอมระเหยจากพืชและสารออกฤทธิ์หลักมาใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูทางการแพทย์และสัตวแพทย์อย่างแพร่หลาย ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นหาน้ำมันหอมระเหยจากพืชและสารออกฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพดีในการกำจัดทุกระยะการเจริญเติบโตของแมลงศัตรูทางการแพทย์และสัตวแพทย์ มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
คณะวิศวกรรมศาสตร์
แพลตฟอร์มที่มีจุดประสงค์ในการเชื่อมโยงนักศึกษาจากทุกคณะและสาขาวิชาเพื่อส่งเสริมการทำ กิจกรรมร่วมกัน และพัฒนาทักษะทางสังคมและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นไปที่การ ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองผ่านการทบทวนบทเรียนและการเรียนรู้ร่วมกันที่มีความสัมพันธ์กับ ทุกคณะและสาขาวิชาในมหาวิทยาลัย สร้างพื้นที่สำหรับการเจรจาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสนับสนุนการ ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างสัมพันธภาพและความร่วมมือในกลุ่มนักศึกษา
คณะวิศวกรรมศาสตร์
เซอร์คิวเรี่ยนสะเฟียร์ (SecurionSphere) เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเรียนรู้การทดสอบเจาะระบบที่เน้นไปที่การโจมตีช่องโหว่บนเว็บแอปพลิเคชัน (Web Exploitation) แพลตฟอร์มนี้ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบในแพลตฟอร์มการทดสอบเจาะระบบอื่นๆ เช่น การแบ่งปันทรัพยากรที่อาจส่งผลกระทบกับผู้ใช้งานคนอื่น และการมีสภาพแวดล้อมที่เหมือนกันเสมอ ทำให้สามารถคัดลอกคำตอบจากผู้อื่นได้ โดยผู้ดูแลการสอน (Supervisor) สามารถใช้เทมเพลตสำหรับโจทย์รูปแบบต่างๆ ของรูปแบบการโจมตีช่องโหว่ของเว็บแอปพลิเคชั่น โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกทำโจทย์ที่สร้างจากผู้ดูแลที่เลือกเทมเพลตไว้ และแพลตฟอร์มยังมีการสุ่มสภาพแวดล้อมในการทำโจทย์ ทำให้สภาพแวดล้อมและคำตอบของโจทย์มีความหลากหลายและแตกต่างกัน ช่วยให้ผู้ใช้งานได้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการกระทบทรัพยากรของผู้อื่น
คณะอุตสาหกรรมอาหาร
Zero-waste management is crucial for sustainable food systems, promoting the use of agricultural by-products like rice bran. Rich in bioactive polyphenols with antioxidant and antidiabetic properties, rice bran can enhance the nutritional value of food. Polyphenols can slow starch digestion by forming complexes with starch, making them useful for creating low-glycemic foods. While ultrasonication and freeze-thaw treatments have been beneficial individually, their combined effects on starch-polyphenol complexation remain understudied. This study aimed to evaluate the impact of combining these treatments on the interaction between rice starch and red rice bran polyphenols. The dual treatment increased the complexing index, altered functional properties, and affected granule morphology. Structural analysis indicated non-covalent interactions forming non-V-type complexes. Additionally, starch digestibility was reduced, lowering the estimated glycemic index (eGI) compared to the control. These findings suggest a sustainable and green approach to starch modification, with potential for developing functional food products and advancing zero-waste processing.