คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การออกแบบสวนสาธารณะ Dreamscape Park ในพื้นที่ 50 ไร่ ออกแบบอยู่ภายใต้คอนเซ็ปต์ ART โดยการออกแบบมุ่งเน้นการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว ควบคู่ไปกับการเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานให้ตอบโจทย์ทุกเพศทุกวัย มีแลนด์มาร์กเป็นบ่อน้ำรูปหยดหมึกและอัฒจันทร์ขนาดกลางไว้ทำกิจกรรมต่างๆ มีการเพิ่มพื้นที่พักผ่อนได้แก่ คาเฟ่ พื้นที่นั่งชิล โซนกิจกรรมกลางแจ้ง โซนกีฬาได้แก่ สนามบาสเกตบอล สนามตะกร้อ ทางเดิน-ทางวิ่งรอบสวน โซนสัตว์เลี้ยง โซนสนามเด็ก สวนประจำจุดต่างๆ และเส้นทางสัญจรสามารถเข้าถึงได้ทั่วพื้นที่ ผู้ใช้งานสามารถมาผักผ่อนได้อย่างสบายใจและทำกิจกรรมตามความต้องการได้อย่างเต็มที่
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
โครงการนี้มีเป้าหมายในการออกแบบรีสอร์ทลอยน้ำในเกาะเต่า โดยมุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์และยั่งยืนสำหรับนักท่องเที่ยว ด้วยการนำเสนอห้องพักใต้ท้องทะเลและการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ไม้ Marine, คอนกรีต Marine grade, และวัสดุเหล็กหรืออะลูมิเนียมที่มีคุณภาพสูง เพื่อมุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น แผงโซลาร์เซลล์และพลังงานจากคลื่นทะเล โดยคำนึงถึงการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพและส่งเสริมการรีไซเคิล วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ท้องทะเล โดยการให้ผู้เข้าพักมีส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์ต่างๆ เช่น การปลูกปะการัง การทำความสะอาดใต้ทะเล และการเก็บขยะในพื้นที่รอบๆ รีสอร์ท โครงการนี้คาดว่าจะมีผลกระทบเชิงบวกต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเกาะเต่า โดยสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดการท่องเที่ยวท้องถิ่นได้
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ปริญญานิพนธ์นี้นำเสนอการพัฒนาระบบ IoT ที่สามารถรวบรวมมาตราฐานการสื่อสารต่างๆให้ทำงานร่วมกันได้อย่างอิสระ โดยประกอบไปด้วย ระบบประมวลผลส่วนกลาง (Core Board) ทำหน้าที่เป็น IoT gateway เชื่อมต่อระหว่างอินเตอร์เฟซ Long Range (LoRa), Wireless Fidelity (Wi-Fi) และ Bluetooth Low Energy (BLE) โดยใช้ชิพประมวลผล STM32H563Zi บนสถาปัตยกรรม ARM Cortex M33 มีการออกแบบ slot ไว้รองรับมาตรฐานการสื่อสารอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้น มีการพัฒนา web platform สำหรับ monitor ข้อมูลที่ต้องการ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
การออกแบบและพัฒนาหัวรถจักรไฟฟ้าเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน TRRN Railway Challenge 2025 มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีในภาคปฏิบัติ โดยเน้นการพัฒนาหัวรถจักรให้สามารถพิชิตบททดสอบต่างๆ เช่น อัตราเร่ง ระบบหยุดรถอัตโนมัติ เสียงรบกวน การสั่นสะเทือน การใช้พลังงาน และความทนทาน รวมถึงการพัฒนาทักษะในการเขียนรายงานการออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะในการวิเคราะห์และอภิปราย เพื่อให้สามารถผ่านการทดสอบตามกฎเกณฑ์ของการแข่งขันได้อย่างครบถ้วน
คณะวิศวกรรมศาสตร์
โครงงานนี้มุ่งเน้นการพัฒนาอุปกรณ์ทดสอบเครื่องอัดประจุของยานยนต์ไฟฟ้าแบบกระแสสลับ (AC Charger) ตามมาตรฐาน IEC 61851-1 ภาคผนวก A โดยการจำลองวงจรทดสอบภายในยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตฐาน เพื่อใช้ทดสอบการทำงานของเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ โดยในหัวข้อการทดสอบเกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างยานยนต์ไฟฟ้ากับเครื่องอัดประจุผ่านระบบวงจรควบคุมด้วยสัญญาณ Pulse Width Modulation (PWM) และจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (WI) เพื่อเตรียมการทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการในการดำเนินการทดสอบและ/ หรือสอบเทียบ ซึ่งภาพรวมของโครงการนี้คือ พัฒนาอุปกรณ์ทดสอบและจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน โดยได้นำเอาองค์ความรู้และอุปกรณ์ต่างๆมาทำการเก็บข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลมาเปรียบเทียบให้เป็นไปตามมาตรฐานข้างต้น เพื่อทดสอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ Type II ในแต่ละสถานะ อุปกรณ์การทดสอบประกอบไปด้วยส่วนของการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทดสอบกับเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ โดยใช้ PLC S7-1200 และ HMI เพื่อควบคุมการทำงานของสวิตช์ในวงจรอุปกรณ์ทดสอบ รวมถึงการควบคุมพารามิเตอร์และแสดงผล ส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าออสซิโลสโคปและมัลติมิเตอร์ที่ผ่านกระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัด เพื่อให้สอดคล้องกับมาตฐานที่กำหนดไว้
วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง
งานวิจัยเรื่องการปรับปรุงความแข็งแรงของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ชนิดแข็ง มีวัตถุประสงค์ในการหาแนวทางปรับปรุง คุณสมบัติของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ชนิดแข็ง ซึ่งผลิตจากซีเมนต์และสารที่เป็นตัวช่วยในการพัฒนาโครงสร้างของซีเมนต์ให้กำเนิดกระแสไฟฟ้าได้ มีองค์ประกอบของ Sodium chloride (NaCl) และ Graphite เป็นองค์ประกอบหลัก ที่มีความสามารถในการให้กระแสไฟฟ้าในระดับอ่อนๆได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งกำเนิดกระแสไฟฟ้าสำหรับการใช้เป็นวัสดุปูพื้น ในงานวิจัยนี้มีขั้นตอนการดำเนินงาน โดยประกอบด้วยการเตรียมซีเมนต์กับน้ำ Sodium chloride (NaCl) และ Graphite เพื่อเพิ่มความสามารถในการนำไฟฟ้าของวัสดุงานวิจัยนี้คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะสามารถพัฒนาคอนกรีตปูพื้นที่สามารถให้กำเนิดแสงไฟฟ้าและสามารถที่จะพัฒนาต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้ในงานอื่นๆในอนาคต
คณะวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้นำเสนอการพัฒนา "บ้านแมวอัจฉริยะ (Smart Cat House)" โดยใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) และการประมวลผลภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยในการดูแลแมวของเจ้าของ โครงสร้างพื้นฐานของบ้านแมวอัจฉริยะประกอบด้วยบอร์ด ESP8266 ที่เชื่อมต่อกับกล้อง ESP32 CAM สำหรับการตรวจสอบแมว และบอร์ด Arduino ที่ควบคุมเซ็นเซอร์ต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวในกระบะทราย เซ็นเซอร์อุณหภูมิและความชื้น DHT22 เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำและอาหารด้วย Ultrasonic รวมถึงระบบจ่ายน้ำดื่มสำหรับแมว ระบบให้อาหารอัตโนมัติ และระบบระบายอากาศที่ควบคุมด้วย DC FAN ซึ่งปรับการทำงานตามอุณหภูมิที่วัดได้ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมี IR sensor สำหรับตรวจจับการเข้าห้องน้ำของแมว และระบบเปลี่ยนทรายอัตโนมัติด้วย SERVO MOTOR ระบบทั้งหมดเชื่อมต่อและควบคุมผ่านแอปพลิเคชัน Blynk ที่สามารถใช้งานบนมือถือ ทำให้เจ้าของสามารถติดตามและดูแลสัตว์เลี้ยงได้จากระยะไกล การตรวจจับและยืนยันตัวตนของแมว ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพจากกล้อง ESP32 CAM ร่วมกับ YOLO (You Only Look Once) ซึ่งเป็นอัลกอริทึมตรวจจับวัตถุที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อตรวจจับและแยกแยะระหว่างแมวกับคน ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่างๆ จะถูกส่งไปยังบอร์ด Arduino เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านแมวอัจฉริยะ เช่น การเปิด-ปิดไฟ การเปลี่ยนทรายอัตโนมัติ การปรับอุณหภูมิและความชื้น การให้อาหารและน้ำตามเวลาที่กำหนด หรือการระบายอากาศ การใช้ระบบเชื่อมต่อผ่าน ESP8266 และแอปพลิเคชัน Blynk ช่วยให้การควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ทำได้ง่ายและสะดวก เจ้าของสามารถติดตามและควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมดได้จากทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การออกแบบพื้นที่เกษตร 22 ไร่ ตั้งอยู่ภายในอำเภอทท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ แนวคิดในการออกแบบพื้นที่นี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรและชุมชนสามารถสร้างรายได้จากสินค้าการเกษตรที่ผลิตเองภายในพื้นที่ โดยเน้นให้พื้นที่นี้เป็น “ตลาดมีชีวิต” ที่ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งสร้างอาหารจากพืชพันธุ์หลากหลายชนิด แต่ยังเป็นการสร้างระบบนิเวศที่สมดุลและส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อีกด้วย ตลาดนี้จะกลายเป็นพื้นที่ตลาดที่ยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงแต่ดีต่อชุมชนในด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยพื้นที่นี้จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางสังคมและการเรียนรู้ ที่สมาชิกในชุมชนสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์การเกษตรกันได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย