KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การศึกษารีสอร์ทลอยน้ำ เพื่อแนวทางการออกแบบรีสอร์ทลอยน้ำบนเกาะเต่าสำหรับนักดำนํ้า

การศึกษารีสอร์ทลอยน้ำ เพื่อแนวทางการออกแบบรีสอร์ทลอยน้ำบนเกาะเต่าสำหรับนักดำนํ้า

รายละเอียด

โครงการนี้มีเป้าหมายในการออกแบบรีสอร์ทลอยน้ำในเกาะเต่า โดยมุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์และยั่งยืนสำหรับนักท่องเที่ยว ด้วยการนำเสนอห้องพักใต้ท้องทะเลและการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ไม้ Marine, คอนกรีต Marine grade, และวัสดุเหล็กหรืออะลูมิเนียมที่มีคุณภาพสูง เพื่อมุ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น แผงโซลาร์เซลล์และพลังงานจากคลื่นทะเล โดยคำนึงถึงการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพและส่งเสริมการรีไซเคิล วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ท้องทะเล โดยการให้ผู้เข้าพักมีส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์ต่างๆ เช่น การปลูกปะการัง การทำความสะอาดใต้ทะเล และการเก็บขยะในพื้นที่รอบๆ รีสอร์ท โครงการนี้คาดว่าจะมีผลกระทบเชิงบวกต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเกาะเต่า โดยสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดการท่องเที่ยวท้องถิ่นได้

วัตถุประสงค์

ที่มาเริ่มแรกของโครงการนี้ เกิดขึ้นจากการรับรู้ถึงปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะปัญหาการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งและเมืองใหญ่ต่างๆ รวมถึงกรุงเทพฯ ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการท่วมในอนาคต จากรายงานการศึกษาการคาดการณ์ของแผนที่โลกในปี 2050 พบว่า การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจะทำให้เมืองใหญ่หลายเมืองทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเสี่ยงต่อการจมลงใต้น้ำ ปัญหานี้ทำให้เกิดความตระหนักถึงความจำเป็นในการหาวิธีแก้ไข เพื่อการอยู่ร่วมกับน้ำอย่างยั่งยืน แนวคิดการออกแบบอาคารลอยน้ำจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการพยายามหาทางออกในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับน้ำได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน การศึกษาและพัฒนาอาคารลอยน้ำจึงมีความสำคัญในการมองหาแนวทางใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์การอยู่อาศัยในอนาคต ต่อมาจากการพัฒนาและค้นคว้าหาข้อมูลมากมาย ทำให้โครงการมีเป้าหมายหลักที่จะศึกษาและพัฒนาอาคารลอยน้ำในพื้นที่เกาะเต่า ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวและนักดำน้ำจากทั่วโลก เกาะเต่ามีความสวยงามของแนวปะการังและระบบนิเวศทางทะเลที่หลากหลาย แต่ยังขาดที่พักที่สามารถเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักดำน้ำที่ต้องการใกล้ชิดกับธรรมชาติและประสบการณ์ดำน้ำ การพัฒนารีสอร์ทลอยน้ำจึงเป็นทางเลือกใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รีสอร์ทนี้จะช่วยเสริมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล พร้อมทั้งให้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เข้าพักในการเชื่อมโยงกับทะเลและระบบนิเวศทางทะเล การออกแบบรีสอร์ทลอยน้ำในเกาะเต่าจะเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปต่อยอดการพัฒนาในพื้นที่อื่นๆ ที่มีความเสี่ยงจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ยังสามารถเป็นแนวทางในการสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

นวัตกรรมอื่น ๆ

การประเมินโปรไบโอจีโนมิกส์ของความสามารถของโปรไบโอติกเอนเทอโรคอคคัส แลคติก RRS4 ที่มีศักยภาพที่แยกได้จากหัวไช้เท้าดองในการรักษาเอนเทอโรคอคคัสที่ดื้อต่อแวนโคไมซิน

คณะวิทยาศาสตร์

การประเมินโปรไบโอจีโนมิกส์ของความสามารถของโปรไบโอติกเอนเทอโรคอคคัส แลคติก RRS4 ที่มีศักยภาพที่แยกได้จากหัวไช้เท้าดองในการรักษาเอนเทอโรคอคคัสที่ดื้อต่อแวนโคไมซิน

เนื่องจากสายพันธุ์ Enterococcus lactis มีความใกล้ชิดกับ E. faecium และ ด้านคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์และมีผลทางโปรไบโอติก ในการศึกษานี้ สายพันธุ์ RRS4 ถูกแยกจากหัวไช้เท้าดอง (Raphanus sativus Linn.) และทำการระบุชนิดโดยอาศัยลักษณะทางฟีโนไทป์และจีโนไทป์ สายพันธุ์ RRS4 แสดงความสามารถในการอยู่รอดในสภาวะแวดล้อมที่มี NaCl 2-8% ค่า pH ระหว่าง 4 ถึง 9 และอุณหภูมิระหว่าง 4°C ถึง 45°C การวิเคราะห์จีโนมแบบครอบคลุมยืนยันว่า RRS4 เป็น E. lactis นอกจากนี้ E. lactis RRS4 ยังแสดงฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ E. faecalis JCM 5803 ที่ดื้อต่อวานโคมัยซิน การประเมินความปลอดภัยโดยใช้วิธี in silico รวมถึงการวิเคราะห์ด้วย KEGG annotation พบว่า E. lactis RRS4 ไม่มียีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของเชื้อหรือยีนที่ไม่พึงประสงค์ การวิเคราะห์ด้วย VirulenceFinder พบว่ายีนที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของเชื้อมีความสอดคล้องกับยีนใน E. lactis สามสายพันธุ์ และ E. faecium สี่สายพันธุ์ แม้ว่าจะพบว่ายีนต้านทานยาปฏิชีวนะยังคงมีอยู่ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับลักษณะการก่อโรคที่สำคัญ นอกจากนี้ การประเมินความปลอดภัยยังชี้ให้เห็นว่า E. lactis RRS4 มีความปลอดภัยโดยทั่วไป แม้ว่าจะมียีนที่เกี่ยวข้องกับการดื้อยาปฏิชีวนะก็ตาม สุดท้ายนี้ เราขอเสนอแนวทางในการประเมินความปลอดภัยของสายพันธุ์จุลินทรีย์โดยใช้การวิเคราะห์จีโนมทั้งหมด ซึ่งผลการศึกษานี้เป็นก้าวสำคัญในการวิจัยโปรไบโอติก

โครงการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเครื่องขายของอัตโนมัติ

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

โครงการออกแบบกราฟฟิกสำหรับเครื่องขายของอัตโนมัติ

การออกแบบกราฟฟิกตู้ขายของอัตโนมัติ และพื้นที่โดยรอบขนาด 5*6 เมตร โดยนำแบรนด์สกินแคร์ INGU เป็นสินค้า

ศูนย์การค้าชุมชนและศูนย์กลางข้อมูลทางเกษตรกรรม

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

ศูนย์การค้าชุมชนและศูนย์กลางข้อมูลทางเกษตรกรรม

โครงการที่ประกอบด้วยศูนย์การค้าชุมชน ศูนย์กลางข้อมูลทางเกษตรกรรมที่มีศูนย์ข้อมูล พื้นที่โรงประลอง ห้องสมุดวัสดุและการปลูกพืชแนวตั้ง รวมถึงบ้านพักอาศัยแบบโฮมออฟฟิศ 4 จำนวนหลัง