โครงงานนี้มุ่งเน้นการพัฒนาอุปกรณ์ทดสอบเครื่องอัดประจุของยานยนต์ไฟฟ้าแบบกระแสสลับ (AC Charger) ตามมาตรฐาน IEC 61851-1 ภาคผนวก A โดยการจำลองวงจรทดสอบภายในยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตฐาน เพื่อใช้ทดสอบการทำงานของเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ โดยในหัวข้อการทดสอบเกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างยานยนต์ไฟฟ้ากับเครื่องอัดประจุผ่านระบบวงจรควบคุมด้วยสัญญาณ Pulse Width Modulation (PWM) และจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน (WI) เพื่อเตรียมการทดสอบให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการในการดำเนินการทดสอบและ/ หรือสอบเทียบ ซึ่งภาพรวมของโครงการนี้คือ พัฒนาอุปกรณ์ทดสอบและจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน โดยได้นำเอาองค์ความรู้และอุปกรณ์ต่างๆมาทำการเก็บข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลมาเปรียบเทียบให้เป็นไปตามมาตรฐานข้างต้น เพื่อทดสอบเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ Type II ในแต่ละสถานะ อุปกรณ์การทดสอบประกอบไปด้วยส่วนของการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ทดสอบกับเครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ โดยใช้ PLC S7-1200 และ HMI เพื่อควบคุมการทำงานของสวิตช์ในวงจรอุปกรณ์ทดสอบ รวมถึงการควบคุมพารามิเตอร์และแสดงผล ส่วนของอุปกรณ์ที่ใช้วัดค่าออสซิโลสโคปและมัลติมิเตอร์ที่ผ่านกระบวนการสอบเทียบเครื่องมือวัด เพื่อให้สอดคล้องกับมาตฐานที่กำหนดไว้
เครื่องอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EVSE) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน การทดสอบและตรวจสอบ EVSE ให้เป็นไปตามมาตรฐาน IEC 61851-1 จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรับรองความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือของ EVSE ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศที่มีนโยบายส่งเสริมการใช้ EV เช่น จีน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ความต้องการในการติดตั้ง EVSE เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความปลอดภัยในการใช้งาน EVSE ถือเป็นประเด็นที่สำคัญมาก การเกิดความผิดพลาดในระบบชาร์จจนอาจนำไปสู่การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้าช็อต หรือความเสียหายต่อระบบยานยนต์ การปฏิบัติตามมาตรฐาน IEC 61851-1 จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่า EVSE ที่ติดตั้งทั่วโลกมีมาตรฐานเดียวกัน ทั้งในด้านความปลอดภัยและการทำงาน นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งาน EV ในการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าในสถานีต่างๆ อย่างปลอดภัย ในปัจจุบัน อุปกรณ์ EVSE ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่อาจยังไม่ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน IEC 61851-1 อย่างครบถ้วน ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบชาร์จมีปัญหาในการสื่อสารหรือควบคุมกระแสไฟระหว่างการชาร์จ การทดสอบ EVSE ตามมาตรฐานนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อยืนยันว่าอุปกรณ์สามารถทำงานได้ถูกต้องตามข้อกำหนด และมีการตอบสนองที่รวดเร็วเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาณควบคุม นอกจากนี้ การทดสอบ EVSE กับระบบจริงอาจมีความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายต่อยานยนต์ไฟฟ้าหรือระบบชาร์จ หากอุปกรณ์ยังไม่ผ่านการทดสอบที่ถูกต้อง การสร้างแบบจำลองวงจรการสื่อสารของยานยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นวิธีที่ช่วยให้การทดสอบสามารถทำได้อย่างปลอดภัยโดยไม่ต้องเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายต่อระบบจริง
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
แอปที่ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดโดยนำเสนอในรูปแบบเกมที่สนุกสนานที่ให้ผู้ใช้เลือกภารกิจทำความสะอาด ติดตามค่าฝุ่น และสะสมคะแนนรางวัล
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียมร่วมกับจำนวนชั่วโมงในการให้แสงต่อการเจริญเติบโตของต้นวิโอลา (Viola) ภายใต้โรงงานผลิตพืช เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต ลดระยะเวลา และเพิ่มรอบการผลิตให้เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยวางแผนการทดลองแบบ 3x3 Factorial in CRD มี 9 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซ้ำๆ ละ 6 ต้น ซึ่งปัจจัยที่ใช้ศึกษามีอยู่ 2 ชนิด คือ ปัจจัยที่ 1 ความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจน (N) ร่วมกับโพแทสเซียม (K) ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน 3 ระดับ ดังนี้ 1) N:K 1:1, 2) N:K 1:2 และ 3) N:K 2:1 ปัจจัยที่ 2 จำนวนชั่วโมงในการให้แสงต่อวันที่แตกต่างกัน 3 กรรมวิธี ดังนี้ 1) จำนวนชั่วโมงในการให้แสง 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง 2) จำนวนชั่วโมงในการให้แสงช่วง Vegetative 8 ชั่วโมงพัก 16 ชั่วโมง จากนั้นช่วงกระตุ้นตาดอกเพิ่มแสงเป็น 13 ชั่วโมง พัก 11 ชั่วโมง หลังจากเกิดตาดอก จะให้แสง 8 ชั่วโมง พัก 16 ชั่วโมง และ 3) จำนวนชั่วโมงในการให้แสง 5 ชั่วโมงพัก 3 ชั่วโมง โดยทุกกรรมวิธีปรับอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ค่า EC 1.5-2.0 mS/cm และ ค่า pH 5.8-6.5 ผลการทดลอง พบว่า การให้ระดับความเข้มข้นของปุ๋ย N:K ในอัตราส่วน 1:1 ร่วมกับแสง 24 ชั่วโมง ทำให้การเจริญเติบโตทางลำต้นและมีคุณภาพดอกมากที่สุด รวมทั้งการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เหมาะแก่การนำไปประกอบอาหารหรือตกแต่งจาน ซึ่งกรรมวิธีนี้ทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพของผลผลิตได้ดีที่สุด สามารถลดระยะเวลาในการผลิตดอกวิโอลาในแต่ละรอบจาก 90-100 วัน ลดลงเหลือ 43-45 วัน และเพิ่มรอบการผลิตให้เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยไม่ต้องคำนึงถึงฤดูกาล หรือสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งดีต่อเกษตรกรผู้ผลิต
วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
บทคัดย่อ: เฟรนช์ฟรายกล้วย โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เฟรนช์ฟรายกล้วย ซึ่งเป็นของว่างที่นำกล้วยมาทอดในรูปแบบคล้ายเฟรนช์ฟรายส์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกล้วยและสร้างทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค การทดลองประกอบด้วยการคัดเลือกสายพันธุ์กล้วยที่เหมาะสม การพัฒนาสูตรแป้งชุบ และการทดสอบรสชาติจากกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่ากล้วยน้ำว้ามีความเหมาะสมที่สุดในการทำเฟรนช์ฟรายกล้วย เนื่องจากมีเนื้อสัมผัสที่แน่นและให้รสหวานตามธรรมชาติ สูตรแป้งชุบที่ดีที่สุดประกอบด้วยแป้งสาลี ไข่ และนม ซึ่งให้ความกรอบนานขึ้น การทดสอบรสชาติพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้การตอบรับในระดับดีมาก และมีความพึงพอใจต่อรสชาติและเนื้อสัมผัส โครงงานนี้แสดงให้เห็นว่าเฟรนช์ฟรายกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นของว่างเพื่อสุขภาพและสามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต