KMITL Innovation Expo 2025 Logo

Development of Catfish Strips Labels of Lam Sai Phatthana Community Enterprise Group, Lamsai Subdistrict, Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province

Development of Catfish Strips Labels of Lam Sai Phatthana Community Enterprise Group, Lamsai Subdistrict, Lam Luk Ka District, Pathum Thani Province

Abstract

This research aimed to (1) analyze the problems and needs in designing labels for catfish strip products of the Lam Sai Phatthana Community Enterprise Group, (2) develop the labels for catfish strip products, and (3) evaluate the satisfaction levels of consumers and community group members with the developed labels. The study involved 17 members of the community enterprise group and 151 consumers. Research methods included in-depth interviews and questionnaires to gather satisfaction data. The results showed that the newly developed product labels were effective in attracting attention and building trust in the product. The satisfaction levels among the Lam Sai Phatthana Community Enterprise Group members and consumers were high (x ̅= 4.17 and 3.75, respectively).

Objective

ปลาดุกถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่เป็นที่นิยมเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน ปลาดุกเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ปลาดุกเป็นปลาน้ำจืดจำพวกไม่มีเกล็ดที่ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำโคลน ไม่ชอบน้ำใสอยู่ได้ทั้งในน้ำนิ่งและน้ำไหล เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว และเนื้อมีรสชาติดี อยู่ในความนิยมของคนไทยโดยเฉพาะ “ปลาดุกบิ๊กอุย” ปัจจุบันปลาดุกบิ๊กอุยเป็นที่ต้องการของตลาดเฉลี่ย 107,584 ตัน ด้วยเหตุนี้เกษตรกรจึงได้เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยมากขึ้น และสามารถสร้างรายได้สูง เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 62,951.22 บาทต่อเดือน (กรมประมง, 2559) แต่เมื่อมีเกษตรกรเริ่มมีการเลี้ยงปลาดุกมากขึ้นทำให้ราคาปลาดุกลดลง โดยมีอัตราการลดลงอยู่ที่ร้อยละ 10.5 ทำให้นายวีระวงศ์ ปั้นทองสุข ได้นำปลาดุกมาทดลองแปรรูป เริ่มจากการนำปลาดุกตัวเล็กมาแปรรูปเป็นปลาแดดเดียว และขายภายในหมู่บ้านโดยใช้รถจักรยานยนต์ ทำให้ผู้บริโภคชื่นชอบในรสชาติทำให้ขายดียิ่งขึ้น ต่อมาจึงได้พัฒนาสินค้าในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ปลาดุกเส้นเค็ม และปลาดุกเส้นหวาน และยังมีส่วนหนังที่เหลือก็ได้มีการนำมาทำหนังปลาดุกทอดกรอบขายด้วย ซึ่งสินค้าที่ได้ทำขึ้นมาได้สนอง ความต้องการของผู้บริโภคในกลุ่มที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว หรือเนื้อไก่ แต่ก็เป็นที่นิยมเพียงในชุมชนเท่านั้น จึงได้เข้าจดทะเบียนสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ขึ้นกับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงได้มีโอกาสจำหน่ายสินค้าตามงานแสดงสินค้าและ จำหน่ายสินค้า OTOP ทั้งระดับจังหวัด ภูมิภาคและประเทศ ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักและได้รับการตอบรับ ซึ่งจากเดิมที่ทำคนเดียวก็ได้มีกลุ่มชาวบ้านในชุมชนเริ่มสนใจได้มาร่วมช่วยกันแปรรูปปลาดุกจนทำให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา ตำบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ขึ้นจนในปัจจุบันมีสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจถึง 17 คน (สำนักงานเกษตรอำเภอลำลูกกา, 2566) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนา เป็นกลุ่มของเกษตรกรที่เลี้ยงปลาดุก โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันคือการเพิ่มรายได้ของสมาชิก แต่เดิมนั้นสมาชิกในกลุ่มไม่มีประสบการณ์ในการทำงานในด้านการแปรรูปมาก่อน ทำให้ไม่สามารถผลิตให้ทันจำหน่าย หรือมีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร แต่ด้วยเพราะมีความสามัคคีเป็นหัวใจหลักทำให้อยู่ร่วมกันได้และช่วยกันระดมความคิด วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของกลุ่ม จัดแจงตำแหน่งการทำงานตามความถนัดและความเหมาะสม ทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไทรพัฒนาได้มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นถึงสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) และยังเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน (สำนักงานเกษตรอำเภอลำลูกกา, 2566) ในปัจจุบันสินค้าได้เป็นที่ยอมรับของผู้คนบางกลุ่มจำนวนกว่า 1,000 คน แต่ก็มีผู้บริโภคบางกลุ่มที่ยังไม่ยอมรับ เนื่องจากมีปัจจัยบางอย่างที่ไม่สามารถเลือกที่จะบริโภคสินค้าดังกล่าวได้ เช่น ในกลุ่มผู้บริโภคบางกลุ่มยังไม่นิยมบริโภคปลาดุกเท่าที่ควร เนื่องจากรูปลักษณ์ของปลาดุก ความกังวลในกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ หรือภาพจำการใช้ชีวิตของปลาดุกที่มักอาศัยในโคลนตมใต้น้ำ จึงทำให้เกิดความกังวลเรื่องของความสะอาด ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในความสะอาดและรสชาติของสินค้าเท่าที่ควร จึงเลือกที่จะไม่ยอมรับในตัวสินค้านี้ จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์นี้ นั่นก็คือ การออกแบบฉลากสินค้าที่เหมาะสมกับตัวสินค้าภายใน ที่สามารถลดปัญหาในเรื่องของภาพลักษณ์ต่าง ๆ ในปลาดุก และยังเป็นฉลากสินค้าที่สามารถเข้าถึงได้กับผู้บริโภคทุกกลุ่ม

Other Innovations

The Designing of 3D-Printed Modular Artificial Reef through Design Thinking Framework: A Case study in Koh Khai, Chumphon Province, Thailand

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

The Designing of 3D-Printed Modular Artificial Reef through Design Thinking Framework: A Case study in Koh Khai, Chumphon Province, Thailand

This study explores the design, production, and installation of 3D-printed modular artificial reefs (3DMARs) at Koh Khai, Chumphon Province, Thailand, through a design thinking framework. Collaborating with SCG Co., Ltd. and the Department of Marine and Coastal Resources, the research establishes design criteria and installation methods, utilizing content analysis and qualitative research. Key principles such as modularity, flexibility, environmental sustainability, and usability are identified. The user-centered approach optimizes the 3DMARs for transport and deployment, enabling local community involvement and fostering sustainable practices. The modular design supports scalability, enhancing marine habitats and coral larval settlement. Furthermore, underwater monitoring techniques enable site-specific data collection, allowing for the generation of digital twin models. This research offers a practical framework for marine ecosystem restoration and empowers coastal communities in Thailand and beyond

Read more
LoRa Based Smart Farming Simulation for Agricultural Applications

คณะวิทยาศาสตร์

LoRa Based Smart Farming Simulation for Agricultural Applications

Developing a Smart Farming Simulation Utilizing LoRa Communication and Presenting Knowledge on LoRa Communication System Components

Read more
The increasing of quality and value-added product of mango : Case study of mango (Mangifera indica L.)

วิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ

The increasing of quality and value-added product of mango : Case study of mango (Mangifera indica L.)

-

Read more