KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ชุดดับไฟป่า (Wildland Fire Suit)

ชุดดับไฟป่า (Wildland Fire Suit)

รายละเอียด

ชุดดับไฟป่า มีส่วนประกอบและการใช้งาน ดังนี้ออกแบบพัฒนาชุดดับไฟป่าให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่และสภาพพื้นที่ปฏิบัติงาน ซึ่งประกอบด้วย เสื้อ และกางเกงวัสดุที่ใช้ในการตัดเย็บชุดเป็นผ้าอรามิด ที่มีคุณสมบัติสามารถกันไฟลามได้ เพื่อป้องกันไฟคลอกเจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติหน้าที่กรณีไฟป่าลามมาประชิดตัว ต่างจากชุดที่สวมใส่ในปัจจุบันที่ไม่สามารถช่วยกันไฟได้ ตัวเสื้อออกแบบให้ด้านข้างลำตัวมีตะข่ายระบายอากาศ เพื่อระบายความร้อนภายในให้อากาศสามารถท่ายเทได้ดี แขนเสื้อบริเวณข้อศอกมีจุด Support เพื่อป้องกันการสัมผัสกับพื้นหรือสัมผัสสิ่งกีดขวางปกคอเสื้อมีช่องสำหรับใส่พัดลมพกพา และมีช่องหมุนเวียนอากาศของพัดลมอยู่ด้านหลัง ซึ่งพัดลมสามารถเปิดใช้งานขณะปฏิบัติหน้าที่ดับไฟป่าได้ ช่วยให้อุณหภูมิภายในร่างกายไม่ร้อนจนเกินไป ลดความเสี่ยงต่อการเกิด ฮีทสโตรก เมื่อพัดลมแบตหมดสามารถถอดนำออกมาชาร์จและใส่กลับเข้าไปเมื่อต้องการใช้งานกางเกงออกแบบให้ด้านข้างบริเวณด้านในหรือจุดอับมีตะข่ายระบายอากาศ เพื่อระบายความร้อนภายในให้อากาศสามารถท่ายเทได้ดี กางเกงบริเวณหัวเข่ามีจุด Support เพื่อป้องกันการสัมผัสกับพื้นหรือสัมผัสสิ่งกีดขวาง ชุดดับไฟป่า ประกอบด้วย เสื้อ และ กางเกง ได้ออกแบบและพัฒนาให้สามารถผลิตได้ภายในประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ

วัตถุประสงค์

ปัญหาไฟป่าที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบในหลายๆด้านโดยเฉพาะผู้ที่พักอาศัยบริเวณใกล้ไฟป่าต้องเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดจากฝุ่น PM2.5 ประกอบกับทางภาครัฐยังขาดแคลนบุคลากรเจ้าหน้าที่ ที่มีความชำนาญในการดับไฟป่า รวมถึงยังขาดชุดดับไฟป่าที่เป็นชุดสามารถกันไฟได้เหมาะสมต่อการดับไฟ เนื่องจากในปัจจุบันชุดที่เจ้าหน้าที่อุทยาน และเจ้าหน้าที่ศูนย์ดับไฟป่า สวมใส่ในการปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นชุดลายพลาง กางเกงกับเสื้อแบบทั่วไป ไม่สามารถปกป้อง หรือกันไฟเมื่อไฟมาถึงระยะประชิดตัวได้ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งสาเหตุนี้ส่งผลให้เจ้าหน้าที่บางรายได้รับอันตรายถึงขั้นไฟคลอกได้ ผู้วิจัยจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการออกแบบและพัฒนาชุดดับไฟป่า เพื่อให้เจ้าหน้าที่อุทยาน และเจ้าหน้าที่ศูนย์ดับไฟป่า สามารถสวมใส่ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปลอดภัย ช่วยลดอุปสรรคในการดับไฟป่าและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นวัตกรรมอื่น ๆ

การกำกับภาพยนตร์แอนิเมชันสั้น 3 มิติ เรื่อง “สงครามในม่านหมอก”

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

การกำกับภาพยนตร์แอนิเมชันสั้น 3 มิติ เรื่อง “สงครามในม่านหมอก”

ผลงานศิลปนิพนธ์หัวข้อเรื่อง “สงครามในม่านหมอก” เป็นการนำเสนอเรื่องราวที่ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นชื่อเดียวกันของ ผศ. ชาติณรงค์ วิสุตกุล เมื่อปี 2546 เกี่ยวกับโลกอนาคตที่ผู้คนแก่งแย่งและเห็นแก่ตัวจนก่อให้เกิดสงครามทำให้ผู้คนต้องพึ่งพา “เครื่องหายใจ” ในการใช้เพื่ออยู่รอดใน “หมอกพิษสีแดง” ภาคิน เด็กหนุ่มวัย 15 ต้องเดินทางร่วมกับกลุ่มผู้อพยพ พวกเขาเดินทางผ่านเมืองร้าง และบังเอิญพบเข้ากับเด็กชายไร้เครื่องหายใจที่พึ่งกำพร้าพ่อ ภาคินตัดสินใจช่วยเหลือ แม้คนอื่นจะไม่เห็นด้วยก็ตาม เด็กชายพยายามจะปลิดชีวิตตัวเองโดยการปิดเครื่องหายใจ ภาคินที่เข้าไปยื้อชีวิตเด็กกลับหมดสติลงจากการหายใจเอาอากาศพิษเข้าไป คนอื่น ๆ ที่เห็นสิ่งที่ภาคินทำเพื่อช่วยเพื่อนมนุษย์ ได้สำนึกและร่วมมือกันช่วยชีวิตทั้งสอง ภาคินทำให้ทุกคนรู้ว่า ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก มนุษย์เราต้องร่วมมือ ช่วยเหลือกันไม่ใช่แตกแยก และเห็นแก่ตัว

เครื่องคัดแยกเฉดสีของพลอยอัตโนมัติ

วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

เครื่องคัดแยกเฉดสีของพลอยอัตโนมัติ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องคัดแยกเฉดสีของพลอยแบบอัตโนมัติ เพื่อลดข้อจำกัดของการคัดแยกเฉดสีโดยอาศัยแรงงานมนุษย์ ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านความรวดเร็วและความแม่นยำ งานวิจัยนี้นำเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) มาใช้ในการวิเคราะห์และแยกเฉดสีของพลอย โดยพัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถตรวจจับและจำแนกเฉดสีได้อย่างแม่นยำ พร้อมด้วยการออกแบบระบบรางอัตโนมัติเพื่อขนส่งพลอยผ่านเครื่องคัดแยกเฉดสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบรางดังกล่าวช่วยให้กระบวนการคัดแยกดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง วิธีการทำงานของเครื่องคัดแยกประกอบด้วยการจับภาพสีของพลอยด้วยกล้องความละเอียดสูง จากนั้นประมวลผลภาพด้วยโปรแกรม เพื่อจำแนกเฉดสีของพลอย และส่งพลอยไปยังตำแหน่งที่กำหนดบนรางอัตโนมัติ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เครื่องคัดแยกเฉดสีอัตโนมัติที่รวมระบบรางมีความแม่นยำและรวดเร็วสูง สามารถช่วยลดต้นทุนแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดแยกเฉดสีของพลอยได้อย่างมีนัยสำคัญ

การพัฒนาชาจากเปลือกและเมล็ดของลำไย

คณะบริหารธุรกิจ

การพัฒนาชาจากเปลือกและเมล็ดของลำไย

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาชาจากเปลือกและเมล็ดของลำไย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากลำไย ในอำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ผลการศึกษาพบว่าจากกระบวนการผลิตลำไยอบแห้ง จะมีผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้คือเปลือกและเมล็ดลำไย ซึ่งสามารถนำมาแปรรูปเป็นชาผงสำเร็จรูปพร้อมดื่มได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการเกิดขยะจากกระบวนการผลิต ยังมีส่วนช่วยสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ดังกล่าวเพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง