โครงการ ธรรมดุล Wellness Center เป็นศูนย์สุขภาพที่มุ่งเน้นการฟื้นฟูสมดุลของร่างกายและจิตใจผ่านแนวทางธรรมชาติบำบัดและการดูแลแบบองค์รวม ศูนย์แห่งนี้ถูกออกแบบให้เป็นสถานที่พักผ่อนและฟื้นฟูสุขภาพ โดยผสมผสานหลักการแพทย์ทางเลือก โภชนาการบำบัด การออกกำลังกายที่เหมาะสม และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการผ่อนคลาย ภายในศูนย์มีบริการที่ครอบคลุม เช่น การทำสปาบำบัดจากสมุนไพรไทย โยคะและสมาธิ การให้คำปรึกษาด้านโภชนาการ รวมถึงกิจกรรมฟื้นฟูสุขภาพที่ออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การออกแบบสถานที่คำนึงถึงการใช้วัสดุจากธรรมชาติและบรรยากาศที่กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เงียบสงบและช่วยให้ผู้มาเยือนได้เชื่อมโยงกับธรรมชาติ ศูนย์สุขภาพ ธรรมดุล มีเป้าหมายในการส่งเสริมแนวคิดของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยเน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถนำแนวทางเหล่านี้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน
1.ความเครียดและปัญหาสุขภาพจากวิถีชีวิตสมัยใหม่ 2.อนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ 3.ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันมากขึ้น ทำให้แนวทางธรรมชาติบำบัดได้รับความนิยม
คณะวิศวกรรมศาสตร์
โครงงานนี้พัฒนาแพลตฟอร์มที่ใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์วิเคราะห์ภาพจากกล้องวงจรปิดแบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจจับการกระทำผิดกฎหมายจราจร เช่น การฝ่าฝืนขับรถเข้าเขตที่มีเส้นทึบ ระบบสามารถระบุและบันทึกเหตุการณ์ละเมิดกฎจราจรโดยอัตโนมัติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายและลดภาระของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะ โดยบูรณาการข้อมูลเพื่อปรับปรุงการจัดการจราจรและความปลอดภัยบนท้องถนน
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มัลเบอร์รีคีเฟอร์ เป็นเครื่องดื่มจากผลหม่อนสุกที่ผ่านการหมัก ผลิตจากน้ำสกัดจากผลหม่อนสุก มีลักษณะปรากฎเป็นสีแดงชมพูซึ่งเป็นสีของสารแอนโทไซยานินตามธรรมชาติในผลหม่อน โดยแอนโทไซยานินมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีสารพรีไบโอติกฟรุคโทโอลิโกแซคคาไรด์ จุลินทรีย์โพรไบโอติก Lactobacillus และ Saccharomeces มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีความซ่า มีแอลกอฮอล์เล็กน้อย รสชาติและความซ่าเกิดจากเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งใช้กระบวนการหมักจากจุลินทรีย์ มัลเบอร์รีคีเฟอร์ จัดเป็นเครื่องดื่มฟังค์ชัน (Functional Beverage) ที่ผลิตจากพืช (Plant Based Beverage) เหมาะกับผู้ที่แพ้น้ำตาลแลคโทส รวมถึงผู้ที่ไม่บริโภคเครื่องดื่มที่ผลิตจากน้ำนม ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรด้วยเทคโนโลยี “ไอน้ำสมุนไพร” ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาจากความรู้ของคนในชุมชนบ้านรางยอม ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง จึงต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี “กระบวนการผลิตไอน้ำสมุนไพร” ให้กับชุมชนที่ด้อยโอกาสทางเทคโนโลยี เป็นการพัฒนาทักษะอาชีพของเกษตรในรูปแบบของกลุ่มเกษตร ให้เกิดความเท่าเทียมทางการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค รวมทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตลงได้ หลักการทำงานของชุดกลั่นไอน้ำสมุนไพร เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิต “ไอน้ำสมุนไพร” ตามวิธีการของปราชญ์ชุมชนบ้านรางยอม อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี กับองค์ความรู้ด้านการใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืชในการป้องกันกำจัดแมลงและไรพืชของนักวิจัย คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สามารถอธิบายรายละเอียดของเทคโนโลยีการผลิตได้ดังต่อไปนี้ การกลั่น “ไอน้ำสมุนไพร” เป็นหลักการกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรโดยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ (Water distillation) ทั่วไป เพียงแต่ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากการกลั่นแล้วนั้น ได้น้ำและน้ำมันหอมระเหยจากพืชอยู่รวมกัน ซึ่งไม่มีขั้นตอนการแยกออกจากกัน แต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที เรียกของผสมนี้ว่า “ไอน้ำสมุนไพร” วิธีการผลิตไอน้ำสมุนไพรเพื่อใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูพืช ดังนี้ 1. การเตรียมพืชสมุนไพรรวม 50 กิโลกรัม (ตามสูตรของแต่ละชุมชน ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามชนิดของแมลงและไรศัตรูพืช และชนิดของพืชปลูก) 2. นำพืชสมุนไพรตามสูตรมาสับให้ละเอียด ผสมกับน้ำสะอาด 50 ลิตร ใส่ในถังกลั่นขนาด 200 ลิตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝา รอจนน้ำเดือดเป็นไอออกมา ไอน้ำจะพาน้ำมันหอมระเหยจากพืชออกมาทางท่อทางออกของไอน้ำ ท่อนั้นผ่านไปยังถังควบแน่น และถูกควบแน่นเป็นของเหลวไหลออกมา สารที่ได้เรียกว่า “ไอน้ำสมุนไพร” ควบคุมคุณภาพการกลั่นโดยให้ได้ไอน้ำสมุนไพร 30 ลิตร (ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง) จึงหยุดกระบวนการกลั่น 3. ผสมไอน้ำสมุนไพรที่ได้ทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพิ่มสารช่วยผสมระหว่างน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรและน้ำด้วยสารช่วยผสม เช่น ปิโตรเลียมออยล์ ไวท์ออยล์ สารทวีน หรือสารจับใบ อัตรา 5 ซีซี ต่อ ลิตร เขย่าให้เข้ากัน บรรจุใส่ขวดพลาสติกทึบแสง 4. อัตราการใช้และวิธีการใช้ไอน้ำสมุนไพรในการป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูพืช - เป็นสารไล่ ใช้ในอัตรา 80-100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 15 วัน สามารถป้องกันการเข้าทำลายของแมลงและไรศัตรูพืชได้ - เป็นสารฆ่า ใช้ในอัตรา 200-400 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 3-4 วัน อย่างต่อเนื่อง สามารถฆ่าแมลงและไรศัตรูพืชได้"