KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ระบบเล็งอาวุธ

รายละเอียด

โปรเจคนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาต้นแบบของระบบเล็งอาวุธที่จำลองเป็นปืนต่อต้านอากาศยาน โดยใช้กล้องออปติคอลเพื่อตรวจจับวัตถุที่เคลื่อนที่และคำนวณวิถีแบบ Real time ผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะส่งไปยังเลเซอร์พอยน์เตอร์บนมอเตอร์ 2 แกนหมุน แบบ degrees of freedom(DoF) ส่งผลให้สามารถเล็งไปยังเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ได้ ระบบนี้ถูกสร้างขึ้นบนแพตฟอร์มของ Raspberry Pi 4 ร่วมกับซอฟแวร์ machine vision โปรแกรมการ tracking นั้นถูกพัฒนาภายใต้ไลบรารีของ OpenCV โดยอาศัย color detections algorithms ผลการทดลองตอนนี้สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของลูกเทนนิสแบบ real time ที่อัตรา 30 เฟรมต่อวินาที(fps) ขณะนี้โปรเจคอยู่นขั้นตอนการออกแบบและทดลองกับระบบแมคคานิคเพื่อควบคุมเลเซอร์พอยน์เตอร์ให้แม่นยำ โปรเจคนี้มีการนำความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์(computer programing) และวิศวกรรมเครื่องกล(การควบคุมมอเตอร์)มาใช้งาน

วัตถุประสงค์

โปรเจคนี้เกิดจากความสนใจในการพัฒนาระบบที่มีการผสมผสานของ Machine Vision และระบบความคุมกลไกมอเตอร์ 2 แกนแบบ Degrees of Freedom(DoF) เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ต้นแบบที่สามารถตรวจจับ ติดตาม และเล็งเป้าหมายได้อย่างมีแม่นยำ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโปรเจคนี้จะมีประโยชน์ต่องานในอนาคตต่างๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ทางการทหาร ทางการแพทย์ หรือทางอุตสาหกรรม

นวัตกรรมอื่น ๆ

พลังจากใบไม้: นวัตกรรมการเคลือบเมล็ดพันธุ์เรืองแสงจากธรรมชาติ เพื่อป้องกันการปลอมแปลง

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

พลังจากใบไม้: นวัตกรรมการเคลือบเมล็ดพันธุ์เรืองแสงจากธรรมชาติ เพื่อป้องกันการปลอมแปลง

การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของพอลิเมอร์ที่เหมาะสมในการเคลือบร่วมกับสารสกัดคลอโรฟิลล์และคุณภาพของเมล็ดพันธุ์แตงกวาหลังจากการเคลือบ วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำ โดยมี 5 กรรมวิธี ประกอบด้วยเมล็ดพันธุ์ที่เคลือบด้วยพอลิเมอร์ชนิดต่างกัน คือ Polyvinylpyrrolidone, Sodium Alginate, Carboxy Methyl Cellulose, Hydroxypropyl methylcellulose โดยพอลิเมอร์แต่ละชนิดทำการเคลือบร่วมกับ Chlorophyll และมีเมล็ดพันธุ์ที่ไม่เคลือบสารเป็นกรรมวิธีควบคุม ดำเนินการทดลองโดยเตรียมสารเคลือบด้วยการสกัด Chlorophyll จากใบมะม่วง แล้วนำมาเตรียมสารเคลือบโดยนำมาผสมกับพอลิเมอร์แต่ละชนิดที่มีความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้สารสกัด Chlorophyll ที่มีความเข้มข้น 8 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นตรวจสอบคุณสมบัติของสารเคลือบแต่ละกรรมวิธี ได้แก่ ความเป็นกรดด่างและความหนืดของสารเคลือบ แล้วจึงนำมาเคลือบเมล็ดพันธุ์แตงกวาด้วยเครื่องเคลือบระบบจานหมุนรุ่น RRC150 ในอัตราสารเคลือบ 1,100 มิลลิลิตรต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม จากนั้นนำมาลดความชื้นให้เมล็ดพันธุ์มีระดับความชื้นเท่ากับระดับความชื้นเริ่มต้นด้วยเครื่องเป่าลมร้อน แล้วตรวจคุณภาพเมล็ดพันธุ์ในลักษณะต่างๆ ได้แก่ ความชื้นของเมล็ดพันธุ์ ความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในสภาพห้องปฏิบัติการ ดัชนีการงอก และการเรืองแสงของเมล็ดพันธุ์ภายใต้เครื่องฉายแสงอัลตราไวโอเลตแบบพกพารวมถึงตรวจสเปกตรัมการคายแสงด้วยเครื่อง Spectrophotometer ผลการทดลองพบว่าพอลิเมอร์แต่ละชนิดสามารถนำมาใช้เป็นสารก่อฟิล์มร่วมกับคลอโรฟิลล์ได้ ซึ่งมีความเป็นกรด-ด่างและมีความหนืดของสารเคลือบที่เหมาะสม ไม่มีผลต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์และมีการเรืองแสงที่ผิวของเมล็ดพันธุ์ทั้งการตรวจสอบภายใต้เครื่องฉายแสงอัลตราไวโอเลตแบบพกพาและการตรวจสเปกตรัมการคายแสงภายใต้เครื่อง Spectrophotometer โดยการใช้ HPMC เป็นสารก่อฟิล์มร่วมกับคลอโรฟิลล์ เป็นกรรมวิธีที่เหมาะสมทำให้เมล็ดพันธุ์มีประสิทธิภาพในการเรืองแสงมากที่สุด

การออกแบบอาร์ตทอยสำหรับคณะเทคโนโลยีการเกษตร

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การออกแบบอาร์ตทอยสำหรับคณะเทคโนโลยีการเกษตร

เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการออกแบบและสร้างสรรค์ Art Toy Mascot ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของ 12 สาขาวิชาในคณะเทคโนโลยีเกษตร ผ่านแนวคิดที่ผสมผสานระหว่างศิลปะและเทคโนโลยีเกษตร เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการจดจำที่ง่ายขึ้นเกี่ยวกับแต่ละสาขา โดยใช้การออกแบบเชิงสร้างสรรค์และเทคนิคการผลิตของเล่นศิลปะ

ระบบวินิจฉัยดีซ่านอัจฉริยะ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ระบบวินิจฉัยดีซ่านอัจฉริยะ

การตรวจวินิจฉัยโรคดีซ่าน ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปในทารกเนื่องจากระดับบิลิรูบินในเลือดที่สูงขึ้น มักต้องการการวินิจฉัยและการตรวจสอบอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง โดยเฉพาะในทารกแรกเกิด วิธีการวินิจฉัยแบบดั้งเดิมสามารถใช้เวลานานและอาจเกิดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ได้ งานวิจัยนี้เสนอแนวทางในการตรวจวินิจฉัยโรคดีซ่านแบบเรียลไทม์โดยใช้เทคนิคการประมวลผลภาพขั้นสูงและอัลกอริทึมแมชชีนเลิร์นนิง โดยการวิเคราะห์ภาพที่ถ่ายในพื้นที่สี RGB จะมีการสกัดและประมวลผลค่าพิกเซลผ่านการปรับค่าเกณฑ์ของ Otsu และการดำเนินการทางสัณฐานวิทยาเพื่อตรวจจับรูปแบบสีที่บ่งบอกถึงโรคดีซ่าน จากนั้นตัวจำแนกจะถูกฝึกฝนเพื่อแยกแยะระหว่างภาวะปกติและภาวะดีซ่าน นำเสนอนวัตกรรมเครื่องมือวินิจฉัยที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ การทำงานแบบเรียลไทม์ทำให้ระบบนี้เหมาะสำหรับสถานพยาบาล โดยให้ข้อมูลเชิงลึกที่ทันเวลาแก่บุคลากรทางการแพทย์เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ของผู้ป่วย วิธีการที่เสนอนี้เป็นนวัตกรรมสำคัญในด้านการดูแลสุขภาพ โดยการรวมปัญญาประดิษฐ์และการถ่ายภาพทางการแพทย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยและจัดการโรคดีซ่านได้เร็วขึ้น ลดการพึ่งพาการแทรกแซงแบบแมนนวล และปรับปรุงการให้บริการด้านสุขภาพโดยรวม