KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ระบบควบคุม (DCS) สำหรับหม้อไอน้ำในโรงงานน้ำตาล

รายละเอียด

รายงานสหกิจศึกษาฉบับนี้ เป็นการนำเสนอโครงงานการสร้างระบบควบคุม (DCS) สำหรับหม้อไอน้ำในโรงงานน้ำตาล ซึ่งต้องการพัฒนาระบบควบคุมหม้อไอน้ำ 1-8 ให้ทำงานร่วมกันได้ภายใต้ระบบ DCS ของ ABB โดยใช้โปรแกรม ABB Ability™ System 800xA ภาพรวมการทำงานของระบบคือการสร้างโปรแกรมควบคุมที่เริ่มจากรับกากอ้อยที่เหลือจากการหีบอ้อยในการผลิตน้ำตาลมาใช้เป็นเชื้อเพลิงให้หม้อไอน้ำ ควบคุมการทำงานของหม้อไอน้ำตั้งแต่การดูดอากาศเข้าห้องเชื้อเพลิง ควบคุมการทำงานภายในหม้อไอน้ำ ตลอดจนการบำบัดอากาศที่ออกจากหม้อไอน้ำก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ โดยโครงงานเริ่มตั้งแต่การสร้างโปรแกรม DCS ออกแบบและจัดทำกราฟิกหน้าจอแสดงผล HMI ศึกษาและออกแบบระบบควบคุมการทำงานของหม้อไอน้ำ จัดทำเอกสารเกี่ยวกับโครงงานและกระบวนการควบคุมด้วยระบบ DCS โดยใช้โปรแกรม ABB Ability™ System 800xA ตลอดจนถึงผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน

วัตถุประสงค์

บริษัท คอนโทรลอจิค จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญในระบบควบคุมและเครื่องมือวัดแบบบูรณาการ รวมถึงเครื่องวิเคราะห์สำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพ บริษัทให้บริการโซลูชั่นแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การออกแบบขั้นวิศวกรรมพื้นฐาน โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการติดตั้ง การเริ่มต้นใช้งานระบบ รวมถึงการจัดการคุณภาพโครงงาน ทั้งช่วยในการสนับสนุน และอำนวยความสะดวกให้บุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบในโครงงานนี้ ในกระบวนการของการผลิตน้ำตาลในโรงงานผลิตน้ำตาล พบว่า มีกากอ้อยปริมาณมากที่ได้จากการหีบน้ำอ้อย ซึ่งสามารถนำไปใช้ผลิตเป็นเชื้อเพลิงให้กับหม้อต้มไอน้ำ เกิดเป็นพลังงานไอน้ำสามารถนำไปผ่าน turbine เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และนำกลับไปใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานอีกครั้ง เพื่อประโยชน์สูงสุดของการนำกากอ้อยที่เหลือจากการผลิตน้ำตาลกลับมาใช้ โรงงานจึงต้องพัฒนาระบบควบคุม (DCS) ซึ่งเป็นโปรแกรมเกี่ยวกับการทำงานของหม้อไอน้ำในโรงงานน้ำตาลเพื่อควบคุมระบบการทำงานของหม้อไอน้ำเนื่องจากมีส่วนสำคัญในการนำกากอ้อยที่เหลือกลับมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด โครงงานหกิจศึกษาฉบับนี้จะกล่าวถึงการสร้างโปรแกรม DCS โดยการออกแบบและจัดทำกราฟิกหน้าจอแสดงผล HMI ภายใต้ระบบ DCS ของ ABB โดยใช้โปรแกรม ABB Ability™ System 800xA ออกแบบระบบควบคุมการทำงานของหม้อไอน้ำ รวมถึงจัดทำเอกสารเกี่ยวข้องของโครงงาน

นวัตกรรมอื่น ๆ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลาจากปลาหมอคางดำ

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นปลาจากปลาหมอคางดำ

เนื่องจากมีการระบาดของปลาหมอคางดำ ทำให้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยรวมของธรรมชาติ เพราะปลาหมอคางดำมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ปลาหมอคางดำมีจำนวนประชากรมากเกินไป ทำให้มีการแย่งชิงของอาหารและที่อยู่อาศัยของปลาพื้นถิ่น อีกทั้งพฤติกรรมการกินที่หลากหลายของปลาหมอคางดำอาจส่งผลให้เกิดการลดลงของสัตว์น้ำขนาดเล็กหรือพืชน้ำที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศอีกด้วย

บ้านแมวอัจฉริยะ

คณะวิทยาศาสตร์

บ้านแมวอัจฉริยะ

โครงงานนี้นำเสนอการพัฒนา "บ้านแมวอัจฉริยะ (Smart Cat House)" โดยใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) และการประมวลผลภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยในการดูแลแมวของเจ้าของ โครงสร้างพื้นฐานของบ้านแมวอัจฉริยะประกอบด้วยบอร์ด ESP8266 ที่เชื่อมต่อกับกล้อง ESP32 CAM สำหรับการตรวจสอบแมว และบอร์ด Arduino ที่ควบคุมเซ็นเซอร์ต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวในกระบะทราย เซ็นเซอร์อุณหภูมิและความชื้น DHT22 เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำและอาหารด้วย Ultrasonic รวมถึงระบบจ่ายน้ำดื่มสำหรับแมว ระบบให้อาหารอัตโนมัติ และระบบระบายอากาศที่ควบคุมด้วย DC FAN ซึ่งปรับการทำงานตามอุณหภูมิที่วัดได้ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมี IR sensor สำหรับตรวจจับการเข้าห้องน้ำของแมว และระบบเปลี่ยนทรายอัตโนมัติด้วย SERVO MOTOR ระบบทั้งหมดเชื่อมต่อและควบคุมผ่านแอปพลิเคชัน Blynk ที่สามารถใช้งานบนมือถือ ทำให้เจ้าของสามารถติดตามและดูแลสัตว์เลี้ยงได้จากระยะไกล การตรวจจับและยืนยันตัวตนของแมว ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพจากกล้อง ESP32 CAM ร่วมกับ YOLO (You Only Look Once) ซึ่งเป็นอัลกอริทึมตรวจจับวัตถุที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อตรวจจับและแยกแยะระหว่างแมวกับคน ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่างๆ จะถูกส่งไปยังบอร์ด Arduino เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านแมวอัจฉริยะ เช่น การเปิด-ปิดไฟ การเปลี่ยนทรายอัตโนมัติ การปรับอุณหภูมิและความชื้น การให้อาหารและน้ำตามเวลาที่กำหนด หรือการระบายอากาศ การใช้ระบบเชื่อมต่อผ่าน ESP8266 และแอปพลิเคชัน Blynk ช่วยให้การควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ทำได้ง่ายและสะดวก เจ้าของสามารถติดตามและควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมดได้จากทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต

การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีเเละกายภาพของเบอร์เกอร์เนื้อเทียมจากถั่วลูกไก่เเละเบอร์เกอร์เนื้อเทียมแบบผสมเนื้อหมูด้วยวิธีการปรุงสุกเเบบซูวีด

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีเเละกายภาพของเบอร์เกอร์เนื้อเทียมจากถั่วลูกไก่เเละเบอร์เกอร์เนื้อเทียมแบบผสมเนื้อหมูด้วยวิธีการปรุงสุกเเบบซูวีด

ปัจจุบันการบริโภคผลิตภัณฑ์จากพืชได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมอาหารจึงมีการพัฒนาเนื้อเทียมที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของเบอร์เกอร์เนื้อเทียมจากถั่วลูกไก่และเบอร์เกอร์แบบผสมเนื้อหมู โดยใช้กระบวนการปรุงสุกแบบซูวีด ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยรักษาคุณภาพของอาหาร ทั้งในด้านเนื้อสัมผัส ความชุ่มชื้น และคุณค่าทางโภชนาการ ในการทดลอง ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติต่างๆ ของเบอร์เกอร์ทั้งสองประเภท โดยวิเคราะห์การสูญเสียน้ำระหว่างการปรุง (Cooking loss) ความสามารถในการอุ้มน้ำ (Water holding capacity) ค่าแรงตัดเฉือน (Shear force) ค่า pH และการวิเคราะห์สี นอกจากนี้ยังมีการทดสอบทางประสาทสัมผัส โดยให้กลุ่มผู้บริโภคประเมินด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ผลการศึกษาจะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการซูวีดที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเบอร์เกอร์จากพืชและแบบผสม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาทางเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ผลการศึกษานี้ยังสามารถเป็นแนวทางสำหรับอุตสาหกรรมอาหารในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยลดการใช้เนื้อสัตว์ลง ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความยั่งยืนในภาคการผลิตอาหาร การวิจัยนี้จึงมีความสำคัญทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์อาหารและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดอาหารแห่งอนาคต