KMITL Innovation Expo 2025 Logo

Vision-Based Spacecraft Pose Estimation

Vision-Based Spacecraft Pose Estimation

รายละเอียด

-

วัตถุประสงค์

In one, docking is defined as “when one incoming spacecraft rendezvous with another spacecraft and flies a controlled collision trajectory in such a manner to align and mesh the interface mechanisms”, and defined docking as an on-orbital service to connect two free-flying man-made space objects. The service should be supported by an accurate, reliable, and robust positioning and orientation (pose) estimation system. Therefore, pose estimation is an essential process in an on-orbit spacecraft docking operation. The position estimation can be obtained by the most well-known cooperative measurement, a Global Positioning System (GPS), while the spacecraft attitude can be measured by an installed Inertial Measurement Unit (IMU). However, these methods are not applicable to non-cooperative targets. Many studies and missions have been performed by focusing on mutually cooperative satellites. However, the demand for non-cooperative satellites may increase in the future. Therefore, determining the attitude of non-cooperative spacecrafts is a challenging technological research problem that can improve spacecraft docking operations. One traditional method, which is based on spacecraft control principles, is to estimate the position and attitude of a spacecraft using the equations of motion, which are a function of time. However, the prediction using a spacecraft equation of motion needs support from the sensor fusion to achieve the highest accuracy of the state estimation algorithm. For non-cooperative spacecraft, a vision-based pose estimator is currently developing for space application with a faster and more powerful computational resource.

นวัตกรรมอื่น ๆ

รถสองแถวไฟฟ้าดัดแปลง

คณะวิศวกรรมศาสตร์

รถสองแถวไฟฟ้าดัดแปลง

ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ทดแทนเทคโนโลยียานยนต์พลังงานน้ำมันเชื้อเพลิง (Internal Combustion Engine: ICE) เพื่อลดปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งประเทศไทยเริ่มมีการผลักดันนโยบายการส่งเสริมยานยนต์พลังงานไฟฟ้าผ่านหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เช่น การนำรถโดยสารไฟฟ้ามาทดสอบให้บริการประชาชนผ่านหน่วยงาน ขสมก. แต่อุปสรรคสำคัญของโครงการคือต้นทุนเริ่มต้นของราคายานยนต์ไฟฟ้ามีราคาสูง แม้ว่ายานยนต์ไฟฟ้าจะมีค่าดำเนินการต่อระยะทางต่ำกว่าการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากก็ตาม จึงทำให้ผู้ประกอบการยังไม่ให้ความสนใจในการเปลี่ยนการใช้งานจากรถเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นการดัดแปลงรถเดิมเป็นรถไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยลดต้นทุนส่วนนี้ลงได้ โครงการนี้จะใช้เทคโนโลยีนี้กับการดัดแปลงรถกระบะเก่าให้เป็นรถ 2 แถวไฟฟ้า เพราะการใช้งานรถ 2 แถวมีระยะทางเฉลี่ยต่อวันค่อนข้างคงที่ ทำให้การออกแบบที่เหมาะสมมีเงื่อนไขที่ไม่เป็นอุปสรรคมากนัก และผู้ประกอบการขับรถ 2 แถว มีข้อจำกัดด้านงบประมาณในการเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้นโครงการนี้จะส่งผลให้เป็นการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปใช้งานยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น นอกจากนี้เมื่อรถเครื่องยนต์สันดาปลดลงจะช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วย

นวัตกรรมอุปกรณ์ตรวจคัดกรองโรคไตด้วยมือถือ

คณะวิทยาศาสตร์

นวัตกรรมอุปกรณ์ตรวจคัดกรองโรคไตด้วยมือถือ

อัลบูมินสมาร์ทเทสท์ เป็นนวัตกรรมอุปกรณ์ตรวจคัดกรองโรคไตโดยการตรวจวัดโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะด้วยมือถือ ประกอบไปด้วย (1) ชุดภาชนะและน้ำยาทดสอบ ที่มีความจำเพาะเจาะจงกับอัลบูมิน และ (2) โทรศัพท์มือถือที่ลงแอพพลิเคชันชื่อ “อัลบูมินสมาร์ทเทสท์” โดยขั้นตอนการตรวจวัดจะนำน้ำยาทดสอบหยดลงบนตัวอย่างปัสสาวะ อัลบูมินจะทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำยาทดสอบ แล้วใช้มือถือถ่ายรูปสีของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น จากนั้นแอพพลิเคชันจะประมวลผลภาพเพื่อเปลี่ยนความเข้มสีของผลิตภัณฑ์ให้เป็นความเข้มข้นของอัลบูมิน รายงานผลผ่านหน้าจอมือถือ การตรวจวัดเสร็จสิ้นภายใน 3 นาทีสามารถทดลองได้สะดวก รวดเร็ว ผู้ทดสอบทำได้ด้วยตนเอง

ผลของความหนาบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพข้าวโพดหมักอาหารสัตว์

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

ผลของความหนาบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพข้าวโพดหมักอาหารสัตว์

สภาพแวดล้อมที่แปรปรวนในปัจจุบันทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ในฤดูแล้งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น การศึกษาผลของความหนาบรรจุภัณฑ์ ต่อคุณภาพข้าวโพดอาหารสัตว์ในระหว่างการเก็บรักษาระยะยาวเพื่อคงคุณภาพของข้าวโพดหมักในฤดูแล้งเนื่องจากเกิดการขาดแคลน ผลการศึกษาพบว่า บรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดความหนา 80, 120, 150 และ 200 ไมครอนที่อายุ 0-21 วัน มีคุณสมบัติทางกายภาพได้แก่ กลิ่น, เนื้อพืชหมัก, สี และค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยกลิ่นของพืชหมักจะมีความคล้ายกลิ่นผลไม้ดอง หรือน้ำส้มสายชู เนื้อพืชหมักจะมีความแน่น ส่วนใบและลำต้นคงสภาพเดิม สีของพืชหมักมีสีเหลืองอมเขียว และมีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 3.7-4.7 การวิเคราะห์ปริมาณกรดแลคติก พบว่า บรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดความหนา 200 ไมครอนที่อายุเก็บรักษา 21 วัน มีปริมาณกรดแลคติกมากที่สุด (5.64%) และคุณค่าทางโภชนะของข้าวโพดหมักในบรรจุภัณฑ์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ