การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรและกระบวนการผลิตขนมขบเคี้ยวจากแป้งข้าวกล้องงอกและแป้งกล้วยน้ำว้าโดยใช้กระบวนการเอ็กซ์ทรูชัน ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสามารถนำแป้งข้าวกล้องงอกและแป้งกล้วยน้ำว้ามาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตขนมขบเคี้ยวด้วยกระบวนการเอ็กซ์ทรูชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสัดส่วนของแป้งในสูตรและสภาวะการผลิต เช่น ความชื้นของวัตถุดิบ อุณหภูมิของบาร์เรล และความเร็วของสกรู ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ ปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ
ขนมขบเคี้ยวส่วนใหญ่ทำจากแป้งและไขมัน ทำให้มีแคลอรี่สูง ในขณะที่ปริมาณโปรตีน แร่ธาตุ และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพค่อนข้างต่ำ การบริโภคขนมขบเคี้ยวอย่างต่อเนื่องและมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยสามารถทำได้ผ่านการปรับสูตรส่วนผสมโดยใช้วัตถุดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และการพัฒนากระบวนการผลิตที่ไม่ต้องทอด เช่น การใช้กระบวนการเอกซ์ทรูชัน การศึกษาในครั้งนี้จึงมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากแป้งข้าวกล้องงอกและแป้งกล้วยน้ำว้า ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพโดดเด่น พร้อมทั้งศึกษาสภาวะที่เหมาะสมของกระบวนการเอกซ์ทรูชันเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ต่อยอดจากโปรเจ็คออกแบบสวนสาธารณะ สู่การออกแบบพื้นที่วิทยาเขต บนพื้นที่ 50 กว่าไร่ในตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นทั้งสถานศึกษาและพื้นที่พักผ่อนและให้การเรียนรู้แก่ผู้คนโดยรอบ
คณะบริหารธุรกิจ
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ thesis ของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ หลักสูตร นานาชาติ ในหัวข้อ Business Plan เกี่ยวกับ recycled fabric นำมาผลิตเป็น blazers และ trousers
คณะวิทยาศาสตร์
แบคเทอริโอซินเป็นเปปไทด์ต้านจุลชีพชนิดหนึ่งที่จุลินทรีย์เป็นคนผลิตออกมาซึ่งมีความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคได้ จากงานวิจัยนี้นั้นได้มีการศึกษาความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคและระบุชนิดของแบคเทอริโอซินของแบคเรียกรดแลคติกสายพันธุ์ TKP1-5 ที่คัดแยกมาจากอุจจาระเป็ด ซึ่งมีการระบุลักษณะสปีชีส์ของสายพันธุ์ TKP1-5 โดยใช้การวิเคราะห์จากลำดับ 16s rRNA และลำดับจีโนมทั้งหมด พบว่าจากค่า ANIb, ANIm, และค่า dDDH พบว่าสายพันธุ์นี้คือ Lactococcus lactis อีกทั้งยังมีการทดสอบลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์นี้พบว่ามีความสามารถในการเจริญเติบโตใดในสภาวะแวดล้อมดังต่อไปนี้ สามารถโตได้ที่เปอร์เซ็นต์เกลือที่ 2-6% อุณหภูมิ 25-45 องศาเซลเซียส และพีเอช 3-9 ตามลำดับ โดยการศึกษาและระบุชนิดของแบคเทอริโอซินผ่านการวิเคราะห์ลำดับจีโนมนั้นพบว่าเป็นชนิด ไนซิน-ซี (Nisin-Z) ที่ค่าคะแนนเท่ากับ 114.775 รวมไปถึงการวิเคราะห์ความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคพบว่ามีความสามารถในการยับยั้งจุลชีพก่อโรคดังนี้ Pediococcus pentosaceus JCM5885, Listeria monocytogenes ATCC 19115, Enterococcus faecalis JCM 5803T, Salmonella Typhimurium ATCC 13311ᵀ, Aeromonas hydrophila B1 AhB1, Streptococcus agalactiae 1611 และ Streptococcus cowan I ตามลำดับ การวิเคราะห์ลำดับจีโนมทั้งหมดยังยืนยันได้อีกว่า L.lactis TKP 1-5 นี้ไม่พบยีนที่สามารถจะเป็นจุลชีพก่อโรค ยีนดื้อยา และพลาสมิด อีกด้วย อีกทั้งยังพบยีนที่มีความเกี่ยวข้องในการเป็นโพรไบโอติกหรือยีนที่ก่อให้เกิดประโยชน์อีกด้วย ทั้งนี้หวังว่าสายพันธุ์ TKP1-5จะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่อุตสาหกรรมอาหารนั้นนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารในการต้านจุลชีพก่อโรคในอนาคต