KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีเเละกายภาพของเบอร์เกอร์เนื้อเทียมจากถั่วลูกไก่เเละเบอร์เกอร์เนื้อเทียมแบบผสมเนื้อหมูด้วยวิธีการปรุงสุกเเบบซูวีด

รายละเอียด

ปัจจุบันการบริโภคผลิตภัณฑ์จากพืชได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมอาหารจึงมีการพัฒนาเนื้อเทียมที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของเบอร์เกอร์เนื้อเทียมจากถั่วลูกไก่และเบอร์เกอร์แบบผสมเนื้อหมู โดยใช้กระบวนการปรุงสุกแบบซูวีด ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยรักษาคุณภาพของอาหาร ทั้งในด้านเนื้อสัมผัส ความชุ่มชื้น และคุณค่าทางโภชนาการ ในการทดลอง ได้ทำการศึกษาคุณสมบัติต่างๆ ของเบอร์เกอร์ทั้งสองประเภท โดยวิเคราะห์การสูญเสียน้ำระหว่างการปรุง (Cooking loss) ความสามารถในการอุ้มน้ำ (Water holding capacity) ค่าแรงตัดเฉือน (Shear force) ค่า pH และการวิเคราะห์สี นอกจากนี้ยังมีการทดสอบทางประสาทสัมผัส โดยให้กลุ่มผู้บริโภคประเมินด้านรสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ผลการศึกษาจะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการซูวีดที่เหมาะสมสำหรับการผลิตเบอร์เกอร์จากพืชและแบบผสม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาทางเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ผลการศึกษานี้ยังสามารถเป็นแนวทางสำหรับอุตสาหกรรมอาหารในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยลดการใช้เนื้อสัตว์ลง ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความยั่งยืนในภาคการผลิตอาหาร การวิจัยนี้จึงมีความสำคัญทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์อาหารและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดอาหารแห่งอนาคต

วัตถุประสงค์

ปัจจุบัน การบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น โรคอ้วนและโรคหัวใจ รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการทำปศุสัตว์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งอุตสาหกรรมเกษตรคิดเป็น 24% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก โดยเฉพาะภาคปศุสัตว์ที่มีสัดส่วน 14% เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซจากภาคคมนาคมขนส่ง ก๊าซหลักที่ปล่อยออกมาคือ มีเทนจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง ไนตรัสออกไซด์จากการใช้ปุ๋ย และคาร์บอนไดออกไซด์จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ทำให้ผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจกับอาหารจากพืชมากขึ้น เช่น เบอร์เกอร์ที่ทำจากถั่วลูกไก่ ถั่วเหลือง และข้าวสาลี เนื่องจากมีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การทำซูวีด (Sous-vide) เป็นเทคนิคการปรุงอาหารที่ใช้ความร้อนต่ำและควบคุมอุณหภูมิอย่างแม่นยำ โดยบรรจุอาหารในถุงสุญญากาศแล้วนำไปแช่ในน้ำที่มีอุณหภูมิคงที่ต่ำกว่าวิธีปรุงปกติ ทำให้เนื้อสุกอย่างสม่ำเสมอ ทั้งยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นและรสชาติได้ดีกว่า การวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาคุณสมบัติของเบอร์เกอร์จากเนื้อสัตว์และพืช โดยเน้นที่เนื้อสัมผัส สี อุณหภูมิ และระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ซูวีด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นทางเลือกที่ยั่งยืนในอนาคต งานวิจัยนี้จึงมีความสำคัญทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์อาหารและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

นวัตกรรมอื่น ๆ

โดรนสำหรับการส่งมอบอุปกรณ์การแพทย์

คณะวิศวกรรมศาสตร์

โดรนสำหรับการส่งมอบอุปกรณ์การแพทย์

หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการตอบสนองต่อกรณีทางการแพทย์คือเวลาการตอบสนอง โดยทั่วไปแล้ว ความเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยไม่สามารถไปถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา นอกจากนี้ยังรวมถึงการมาถึงของอุปกรณ์การแพทย์ในที่เกิดเหตุ สมองของมนุษย์จะเริ่มเสื่อมลงหลังจากขาดออกซิเจนเป็นเวลา 3 นาที ซึ่งวิธีการขนส่งทางถนนที่หน่วยปฐมพยาบาลใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถไปถึงที่เกิดเหตุได้ภายใน 3 นาที ส่งผลให้มีการเสียชีวิตระหว่างการขนส่งหรือก่อนหน่วยปฐมพยาบาลจะมาถึงที่เกิดเหตุ ดังนั้นจึงได้มีการสำรวจการขนส่งอุปกรณ์การแพทย์ด้วยอากาศยานที่ควบคุมด้วยตนเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านการจัดส่งด้วยโดรนที่รวดเร็วกว่าใช้วิธีการทางถนน เนื่องจากอุปกรณ์สามารถบินตรงไปยังที่เกิดเหตุได้ ในโครงการนี้ เราจะสำรวจระบบการส่งมอบทางอากาศสำหรับอุปกรณ์การแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติ (AEDs) อุปกรณ์ปฐมพยาบาล และอุปกรณ์การแพทย์ขนาดเล็กอื่น ๆ ที่ร้องขอ เราจะทำสิ่งนี้ผ่านแพลตฟอร์มโดรนของ DJI และแอปพลิเคชัน SDK ของพวกเขา เป้าหมายหลักของโครงการนี้คือการลดเวลาการตอบสนองโดยการใช้โดรนอัตโนมัติเพื่อส่งมอบอุปกรณ์การแพทย์ เราพบว่าโดรนเป็นแพลตฟอร์มที่สามารถส่งมอบเครื่องกระตุ้นหัวใจไปยังผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านข้อมูลการบินที่รวบรวมและการทดสอบเบื้องต้น ซึ่งให้แพลตฟอร์มที่ยอดเยี่ยมสำหรับการพัฒนาระบบในอนาคต

การออกแบบอาร์ตทอยสำหรับคณะเทคโนโลยีการเกษตร

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การออกแบบอาร์ตทอยสำหรับคณะเทคโนโลยีการเกษตร

เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการออกแบบและสร้างสรรค์ Art Toy Mascot ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของ 12 สาขาวิชาในคณะเทคโนโลยีเกษตร ผ่านแนวคิดที่ผสมผสานระหว่างศิลปะและเทคโนโลยีเกษตร เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการจดจำที่ง่ายขึ้นเกี่ยวกับแต่ละสาขา โดยใช้การออกแบบเชิงสร้างสรรค์และเทคนิคการผลิตของเล่นศิลปะ

ตู้แช่เวชภัณฑ์ชนิดกระจายความเย็นอย่างทั่วถึงพร้อมระบบบันทึกข้อมูลและควบคุมระยะไกล

คณะบริหารธุรกิจ

ตู้แช่เวชภัณฑ์ชนิดกระจายความเย็นอย่างทั่วถึงพร้อมระบบบันทึกข้อมูลและควบคุมระยะไกล

ตู้แช่เวชภัณฑ์ชนิดกระจายความเย็นอย่างทั่วถึงพร้อมระบบบันทึกข้อมูลและควบคุมระยะไกล เป็นตู้แช่เวชภัณฑ์ที่มีระบบควบคุมการกระจายความเย็นภายในตู้แช่ให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกันทุกระดับความสูงภายในตู้แช่ พร้อมระบบบันทึกข้อมูล (Data Logging) เพื่อตรวจสอบห่วงโซ่ความเย็น (Cold Chain) ในการเก็บรักษาเวชภัณฑ์ พร้อมระบบแจ้งเตือนและควบคุมการทำงานระยะไกล