KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การประยุกต์ใช้แชทบอทปัญญาประดิษฐ์และแนวคิดลีนในการลดเวลาการรอคอยของลูกค้าและบริษัทคู่สัญญา เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการ

การประยุกต์ใช้แชทบอทปัญญาประดิษฐ์และแนวคิดลีนในการลดเวลาการรอคอยของลูกค้าและบริษัทคู่สัญญา เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการ

รายละเอียด

โครงงานสหกิจฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า โดยเน้นการปรับปรุงตามแนวคิดแบบลีนและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในกรณีศึกษาของบริษัท เน็กซเตอร์ ดิจิตอล แอนด์ โซลูชั่น จํากัด ซึ่งผู้วิจัยมุ่งเน้นการปรับปรุงกระบวนการทำงานและสร้างมาตรฐานการทำงาน รวมถึงนำเทคโนโลยีบอท เข้ามาแก้ไขในกระบวนการทำงาน เพื่อให้ระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาลดลงและสามารถสร้างมาตรฐานการทำงานใหม่ให้กับทางบริษัทได้ งานวิจัยฉบับนี้ได้เสนอแนวคิดที่สำคัญในการหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา, การลดขั้นตอนของกระบวนการที่มีความซ้ำซ้อน, การนำวิธีแนวคิดลีน (Lean) มาปรับใช้, การประยุกต์เทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการ เป็นต้น อนึ่ง ในงานวิจัยนี้สามารถแยกปัญหาหลักที่แก้ไขได้ 2 ปัญหาหลัก โดยปัญหาแรกคือการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าที่ติดต่อเข้ามา ผลการวิจัย พบว่า สามารถลดเวลาการแก้ไขปัญหาจากค่าเฉลี่ย 5 วัน เหลือ 3 วัน นั่นคือสามารถลดได้ 38% และ ในปัญหาหลักที่สองคือการแก้ไขปัญหาให้ทาง Vendor ผลการวิจัย พบว่า สามารถลดเวลาการตอบกลับการแก้ไขปัญหาจากค่าเฉลี่ย 20 นาที เหลือ 0.3 นาที คิดเป็น 98.5% จากผลการทดลองของทั้งสองปัญหาหลักไม่เพียงช่วยยกระดับการให้บริการแก่ลูกค้า แต่ยังสร้างมาตรฐานในการตอบสนองและแก้ไขปัญหาภายในองค์กรให้มีระยะเวลาที่ลดลง

วัตถุประสงค์

ในยุคที่เทคโนโลยีและการแข่งขันทางธุรกิจพัฒนาอย่างรวดเร็ว คุณภาพการบริการเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืน โดยผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญของการยกระดับคุณภาพการบริการเพื่อตอบสนองลูกค้าของทางบริษัท เน็กซเตอร์ ดิจิตอล แอนด์ โซลูชั่น จำกัด โดยประยุกต์ใช้แนวคิด Lean เพื่อลดความสูญเสียในกระบวนการทำงาน พร้อมกับนำเทคโนโลยีบอทเข้ามาช่วยเสริมในการแก้ไขปัญหา ซึ่งช่วยลดเวลาการจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น AI และระบบอัตโนมัติ ยังช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วและแม่นยำ ลดความผิดพลาดจากมนุษย์ อีกทั้งยังช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ดีขึ้น จากการศึกษา พบว่าบริษัทยังขาดกระบวนการทำงานที่ชัดเจน มีเวลาเฉลี่ยในการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างนาน และพนักงานมีภาระงานที่มากเกินไป การปรับปรุงกระบวนการทำงานจึงเน้นการสร้างผังขั้นตอนที่ชัดเจน ลดเวลาการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสม และปรับภาระงานของพนักงานให้เหมาะสม เพื่อลดระยะเวลาการรอคอยและเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า

นวัตกรรมอื่น ๆ

การพัฒนาไส้อั่วจากขนุนอ่อน

คณะอุตสาหกรรมอาหาร

การพัฒนาไส้อั่วจากขนุนอ่อน

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้อั่วจากพืชโดยใช้ขนุนอ่อนเป็นวัตถุดิบหลัก เพื่อเป็นทางเลือกแทนเนื้อสัตว์ โดยศึกษาการพัฒนาสูตร การเปลี่ยนแปลงทางเคมีกายภาพระหว่างการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ ขนุนอ่อนมีคุณสมบัติเด่นด้านเส้นใยที่คล้ายเนื้อสัตว์และสามารถดูดซับกลิ่นและรสชาติของเครื่องเทศได้ดี ผลการศึกษาพบว่า ขนุนอ่อนที่ผ่านการต้มที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที มีเส้นใยใกล้เคียงกับเนื้อไก่ปรุงสุกมากที่สุด นอกจากนี้ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเก็บรักษา ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน พบว่า สีและค่า Water Activity (Aw) มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ในขณะที่ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ลดลง และค่า Thiobarbituric Acid Reactive Substances (T-BARS) เพิ่มขึ้น ด้านเนื้อสัมผัส พบว่าค่าความเหนียวเพิ่มขึ้นและค่าความยืดหยุ่นลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับสูตรควบคุม ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าขนุนอ่อนเป็นวัตถุดิบที่เหมาะสมสำหรับการผลิตไส้อั่วจากพืช และสามารถใช้เป็นทางเลือกทดแทนผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปได้

นวัตกรรมเครื่องยนต์สเตอร์ลิงพลังงานสะอาด

คณะวิศวกรรมศาสตร์

นวัตกรรมเครื่องยนต์สเตอร์ลิงพลังงานสะอาด

เนื่องจากความต้องการพลังงานที่มีมากขึ้น แต่เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักมีอยู่อย่างจำกัดและเป็นสาเหตุหนึ่งของมลพิษและภาวะโลกร้อน ดังนั้นพลังงานทางเลือกจึงเป็นกุญแจสำคัญเพื่อความยั่งยืนด้านพลังงาน ประเทศไทยมีศักยภาพของพลังงานชีวมวลจากเกษตรกรรม ดังนั้นการพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าที่มลพิษต่ำและสามารถใช้ได้กับแหล่งพลังงานทดแทนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเครื่องยนต์สเตอร์ลิงซึ่งมีโครงสร้างชิ้นส่วนไม่ซับซ้อน ปราศจากการสันดาปภายในเครื่องยนต์จึงเป็นเครื่องยนต์ที่มีศักยภาพผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นพัฒนาออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องยนต์สเตอร์ลิงร่วมกับแหล่งพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดเพื่อผลิตไฟฟ้าและสาธิตการทำงานจริง เกิดองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องยนต์ผลิตไฟฟ้าปราศจากมลพิษในประเทศ ตลอดจนสามารถขยายผลนำไปใช้ประโยชน์กับคนไทย

ระบบปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่งสำหรับติดตามและควบคุมการให้น้ำพืชโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศ

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ระบบปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่งสำหรับติดตามและควบคุมการให้น้ำพืชโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศ

งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องต้นแบบระบบปัญญาประดิษฐ์ของสรรพสิ่งสำหรับติดตามและควบคุมการให้น้ำพืชโดยใช้ข้อมูลสภาพอากาศ โดยระบบประกอบไป 4 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนที่ 1 สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station) ประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และความยาวนานของแสง เป็นต้น ส่วนที่ 2 หน่วยประมวลผล (Controller Unit) โดยจะมีการติดตั้งอัลกอริทึมหรือแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อใช้ประเมินค่าการคายระเหยน้ำของพืชอ้างอิง (ETo) และจะใช้คำนวณร่วมกับค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืชนั้น ๆ (Crop Coefficient: Kc) และข้อมูล อื่น ๆ เกี่ยวกับพืชนั้น ๆ เพื่อประเมินปริมาณการใช้น้ำตามความต้องการของพืชโดยอัตโนมัติ ส่วนที่ 3 ส่วนติดต่อผู้ใช้งานและหน้าจอแสดงผล (User Interface (UI) and Display) เป็นส่วนที่ให้เกษตรกรหรือผู้ใช้งานสามารถป้อนข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของพืช ชนิดของดินที่ปลูก ประเภท ของระบบการให้น้ำ จำนวนหัวจ่ายน้ำ ระยะปลูก และช่วงการเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น และส่วนที่ 4 หน่วยควบคุมและหัวจ่ายน้ำ (Irrigation Unit)