ในปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ ซึ่งมีแหล่งกำเนิดของฝุ่นได้จากหลายแหล่งที่มา เช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ การเผาในที่โล่ง ไฟป่า และอื่นๆ ดังนั้น แหล่งที่มาของฝุ่นในแต่ละพื้นที่จึงมีแนวโน้มที่จะแตกต่างกันไป ในปัจจุบันโดยเป็นการวิเคราะห์เชิงเคมีเป็นหลัก ทางคณะผู้จัดเสนอแนวทางใหม่ในการศึกษาแหล่งที่มาของฝุ่นโดยวิธีการทางกายภาพโดยวิเคราะห์จากขนาดของอนุภาคและโครงสร้างเชิงนาโน การวิเคราะห์ข้างต้นนี้ตัวอย่างฝุ่นจำเป็นที่จะต้องถูกเก็บมาแบบแห้งในระยะเวลาจำกัด โดยไม่ควรใช้แผ่นกรองกระดาษในการเก็บฝุ่น เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการลอกของแผ่นกรองออกมาด้วยในขั้นตอนการนำฝุ่นออกมา ทางคณะผู้จัดทำเห็นสมควรว่าเครื่อง Electrostatic Precipitator (ESP) หรือ เครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ นั้นมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะนำมาเป็นเครื่องดักฝุ่นเพื่อนำไปทดสอบทางกายภาพตามที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปในส่วนของการออกแบบและสร้างเครื่อง ESP ที่ใช้ในจุดประสงค์เฉพาะดังกล่าวข้างต้น โดยคณะผู้จัดทำสามารถสร้างเครื่องที่เก็บฝุ่นได้อย่างน้อย 100 mg ภายใน 1 วัน ซึ่งเพียงพอกับการนำไปศึกษาโครงสร้างเชิงนาโนใน 1 ครั้ง นอกจากนี้ จากการทดสอบการทำงานเบื้องต้นพบว่าเครื่องมีประสิทธิภาพในการดักฝุ่นถึง 80% (ซึ่งมากกว่าเครื่อง ESP ที่หามาได้ตามท้องตลาด) และยังพบอีกว่าประสิทธิภาพในการดักฝุ่นแปรผกผันกับความเร็วอากาศขาเข้า โดยความเร็วอากาศแนะนำจากการทดลองไม่เกิน 2 m/s อย่างไรก็ตามเครื่อง ESP ที่ใช้ในจุดประสงค์เฉพาะนี้ยังมีจุดที่สามารถพัฒนาได้อีก เช่น ความสะดวกในการเก็บฝุ่นที่เกี่ยวเนื่องมาจากลักษณะโครงสร้างเครื่อง และการปรับขนาดของเครื่องให้กระทัดรัดและเหมาะสมกับการใช้งาน เป็นต้น
มลพิษทางอากาศนั้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มลพิษทางอากาศนั้นสามารถจำแนกได้เป็นหลายกลุ่ม นั่นคือ มลพิษในรูปแบบสถานะแก๊ส ได้แก่ แก๊สโอโซน แก๊สไนโตรเจนออกไซค์ เป็นต้น และ มลพิษในรูปแบบของแข็ง ได้แก่ ฝุ่นละอองต่างๆ ซึ่งจะถูกจำแนกด้วยขนาดเป็นหลัก ในที่นี้ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (Particulate Matter) ตัวย่อ “PM” จะเป็นประเด็นสำคัญของงานวิจัยนี้เนื่องด้วยในปัจจุบัน สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ใน ประเทศไทยโดยเฉพาะภาคกลางและภาคเหนือ มีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นในฤดูหนาวของทุกปี
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปัจจุบันปัญหาด้านภาวะพัฒนาการบกพร่องด้านการเขียนที่เกิดขึ้นในเด็กนั้น เป็นปัญหาที่ควรให้ความ สําคัญอย่างมากสําหรับเด็กในวัยเรียนรู้ โดยการวินิจฉัยว่าตัวเด็กนั้นมีความผิดปกติทางภาวะพัฒนาการบกพร่องด้านการเขียนหรือไม่นั้น จำต้องอาศัยแบบประเมินทักษะในการเขียน ซึ่งจะถูกนำไปให้ผู้ที่ต้องการวินิจฉัยทำ และถูกประเมินโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของรูปแบบในการวินิจฉัยที่ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จึงทำให้มีความต้องการทางด้านทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างมาก เราจึงทำการออกแบบวิธีในการให้คะแนนผ่านแบบประเมินทักษะในการเขียน โดยใช้เทคโนโลยีประมวลผลภาพและอาศัยเกณฑ์การให้คะแนนจากเกณฑ์ดังเดิม โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนที่สามารถหาได้ปัจจุบันอยู่ 3 เกณฑ์ตอนนี้ คือ ตําแหน่ง การเขียนบทความ รูปแบบบทความ และความเร็วในการคัดลอก อีกทั้งเรายังทำการจัดสร้างเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถให้งานระบบได้ง่ายยิ่งขึ้น
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
แมลงศัตรูทางการแพทย์และสัตวแพทย์ที่สำคัญจำพวกยุงลายบ้าน แมลงวันบ้าน และแมลงสาบ ล้วนสร้างปัญหาทางด้านสุขอนามัยของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมถึงสร้างความบดบังความงามทางทัศนียภาพมากขึ้น ดังนั้นงานวิจัยครั้งนี้จึงค้นพบสูตรผสมของน้ำมันหอมระเหยและสารออกฤทธ์หลักจากพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมและกำจัดแมลงเหล่านี้เมื่อเทียบกับสารเคมีกำจัดแมลง รวมถึงมีความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่เป้าหมายที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ และพบว่ามีความเสถียรและรักษาคุณภาพการออกฤทธิ์ของสารได้เป็นอย่างดี ซึ่งสารสูตรดังกล่าวสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถใช้แทนหรือลดการใช้สารเคมีกำจัดแมลงเหล่านี้ได้
คณะทันตแพทยศาสตร์
Aggregatibacter actinomycetemcomitans เป็นเชื้อก่อโรคหลักของโรคปริทันต์ โดยสามารถทำลายเอ็นยึดปริทันต์และกระดูกเบ้าฟันผ่านการสร้างไบโอฟิล์ม D-LL-31 ซึ่งเป็นเปปไทด์ต้านจุลชีพที่ถูกดัดแปลงทางวิศวกรรม แสดงศักยภาพที่สูงในการกำจัดเชื้อที่ฝังตัวในไบโอฟิล์มได้ดีกว่าวิธีรักษาแบบดั้งเดิม ขณะที่ DNase I ช่วยเสริมประสิทธิภาพโดยการสลายเมทริกซ์ของไบโอฟิล์ม โดยวัตถุประสงศ์ของงานวิจัยนี้ต้องศึกษาผลของ D-LL-31 ร่วมกับ DNase I ต่อไบโอฟิล์มของ A. actinomycetemcomitans ผลการทอลองพบว่า D-LL-31 สามารถกำจัดไบโอฟิล์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อใช้ร่วมกับ DNase I จะช่วยเพิ่มการทำลายไบโอฟิล์มได้มากขึ้น โดยไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุเหงือก ดังนั้นการใช้ D-LL-31 ร่วมกับ DNase I มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นน้ำยาบ้วนปาก เพื่อช่วยรักษาสุขภาพช่องปากและลดความเสี่ยงของโรคปริทันต์