KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ประกวดการออกแบบ BAM property Design Contest #9

รายละเอียด

ผลงานออกแบบอาคารเชิงพาณิชย์ Community mall และ โฮมออฟฟิศ บนพื้ทที่กว่า 12 ไร่ ที่มีแนวความคิดที่ต้องการดึงผู้คนกลับมายังที่ดินที่ถูกทอดทิ้ง โดยผสานการสะท้อนวิถีชีวิตคนทำงาน เข้ากับการวางผังที่คำนึงถึงที่ว่างทางธรรมชาติได้อย่างน่าสนใจ เกิดบรรยากาศที่ที่กระตุ้นโมเดลทางธุรกิจ และพัฒนาที่ดินได้อย่างมีศักยภาพ

วัตถุประสงค์

โปรเจคตามหลักสูตรออกแบบสถาปัตยกรรม 4 ชั้นปีที่ 3 เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความรู้ ความสามารถ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ สําหรับการลงทุนเพื่อการพัฒนาที่ดิน ให้เป็น พื้นที่เชิงพาณิชย์พร้อมบ้านพักอาศัย ให้มีความพิเศษและน่าสนใจ ตามแนวคิด Concept Green & Digital

นวัตกรรมอื่น ๆ

การพัฒนาวัสดุปูพื้นระบายน้ำได้จากตะกรันเหลือทิ้ง

วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

การพัฒนาวัสดุปูพื้นระบายน้ำได้จากตะกรันเหลือทิ้ง

งานวิจัยเรื่องการพัฒนาวัสดุปูพื้นระบายน้ำได้จากตะกรันเหลือทิ้ง มีวัตถุประสงค์ในการนำตะกรันเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมและช่วยลดปัญหาน้ำท่วมน้ำขังหรือแอ่งน้ำได้ โดยปัจจุบันตะกรันที่เหลือจากการถลุงเหล็กหรือหลอมเหล็กมักถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของวัสดุก่อสร้าง เช่น ผิวทางถนน อย่างไรก็ตาม ตะกรันเหล่านี้มีคุณสมบัติที่ทำให้น้ำซึมผ่านได้ยาก ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมและการระบายน้ำไม่ดี โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุปูพื้นให้มีความแข็งแรงและสามารถระบายน้ำได้ดีขึ้น โดยการปรับโครงสร้างทางกายภาพหรือการเติมสารเคมี เช่น HPMC เพื่อช่วยเพิ่มช่องว่างในการซึมน้ำและระบายน้ำได้ตามมาตรฐานที่ต้องการ การใช้ตะกรันเหลือทิ้งไม่เพียงช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประโยชน์ในการใช้งาน แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตในโรงงานผลิตน้ำตาลจากอ้อย

คณะวิทยาศาสตร์

การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตในโรงงานผลิตน้ำตาลจากอ้อย

การผลิตน้ำตาลจากอ้อยเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อนและต้องการการควบคุมที่แม่นยำ หนึ่งในปัญหาสำคัญคือการสูญเสียน้ำตาล ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะ “การเผาอ้อย” ก่อนนำเข้าหีบ ที่ลดคุณภาพอ้อยและประสิทธิภาพการสกัดน้ำตาล รวมถึง ประสิทธิภาพเครื่องจักรและคุณสมบัติของอ้อย ที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำตาลที่ได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสูญเสียน้ำตาลในกระบวนการผลิตน้ำตาลจากอ้อย โดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณจากโรงงานน้ำตาล ครอบคลุม 9 ตัวแปร ได้แก่ ประสิทธิภาพเครื่องจักร (Mechanical efficiency), จำนวนชั่วโมงหยุดเครื่องจักรในหนึ่งวัน (Stoppage), จำนวนชั่วโมงหยุดรออ้อยในหนึ่งวัน (Due to Cane), ปริมาณทรายในน้ำอ้อย (Sand), ประสิทธิภาพการหีบสกัดอ้อย (Pol Extraction), ประสิทธิภาพเวลาการทำงานโดยรวม (Overall Time), ค่าความบริสุทธิ์ของน้ำอ้อย (Purity), ค่าปริมาณน้ำตาลในอ้อย (C.C.S.), และปริมาณอ้อยไฟไหม้ (Burn Cane) โดยจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และแบบจำลองการถดถอย (Regression Model) เพื่อพยากรณ์การสูญเสียน้ำตาล ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพเครื่องจักร, ค่าปริมาณน้ำตาลในอ้อย และปริมาณทรายหรือสิ่งปนเปื้อนในน้ำอ้อย มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการสูญเสียน้ำตาล โดยประสิทธิภาพเครื่องจักร มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณอ้อยเข้าหีบ ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำตาล ขณะที่ อ้อยไฟไหม้หรืออ้อยที่ถูกเผาก่อนการเก็บเกี่ยว ส่งผลให้การสกัดน้ำตาลลดลงและกระทบต่อคุณภาพน้ำตาล ดังนั้น การลดการสูญเสียน้ำตาลในกระบวนการผลิตสามารถทำได้โดย การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักร, ลดสิ่งปนเปื้อนในน้ำอ้อย และจัดการอ้อยไฟไหม้ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลให้สูงขึ้นได้ในอนาคต

การใช้สารสกัดจากใบพลูคาวและใบดีปลีเพื่อยับยั้งเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยโรคภูมิเเพ้ผิวหนัง

คณะวิทยาศาสตร์

การใช้สารสกัดจากใบพลูคาวและใบดีปลีเพื่อยับยั้งเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยโรคภูมิเเพ้ผิวหนัง

ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังมีจำนวนมากเป็นอันดับที่สอง ในจำนวนผู้ป่วยโรคผิวหนัง ซึ่งโรคภูมิแพ้ผิวหนังนี้ยังไม่มียารักษา ทำได้แค่บรรเทารักษาตามอาการ ทำให้เกิดเป็นโรคเรื้อรัง มีโอกาสที่เชื้อฉวยโอกาสจะเข้าไปก่อโรคเพิ่มจากแผลของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนจากการติดเชื้อชนิดอื่น การศึกษาในครั้งนี้จึงสนใจศึกษาการลดโอกาสในการติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โดยใช้สารสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งสนใจใบพลูคาวและดีปลี เนื่องจากมีข้อมูลสนับสนุนเรื่องการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ โดยการนำใบของพืชทั้ง 2 ชนิด มาสกัดแบบหยาบ แช่ใน ethanol 95% เป็นเวลา 7 วัน กรองด้วยกรวยกรอง buchner นำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบ phytochemical เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ phenolic, flavonoid, tannin, anthocyanin, DPPH และนำไปทดสอบฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ ซึ่งในการทดลองประกอบด้วยแบบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ 5 ชนิด ได้แก่ E. coli, Bacillus subtilis, Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis โดยผู้ทำการวิจัยคาดว่าจะสามารถนำไปต่อยอดและนำไปพัฒนาในการรักษาผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้