KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ออกแบบวงจรสำหรับการควบคุมเครื่องผลิตไฮโดรเจนโดยใช้แหล่งจ่ายจากเซลล์โฟโตโวลเทอิก

รายละเอียด

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนา ระบบแปลงพลังงานไฟฟ้า เพื่อควบคุมการจ่ายพลังงานจาก โซล่าร์เซลล (PV) ไปยัง เครื่องผลิตไฮโดรเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ตามแนวทาง RE100 โดยเฉพาะไฮโดรเจนสีเขียว ที่ได้จากกระบวนการอิเล็กโทรไลซิสน้ำโดยใช้พลังงานสะอาดจากโซล่าร์เซลล์ ซึ่งไม่ก่อให้เกิดมลพิษ โครงสร้างของระบบที่นำเสนอในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย อินเวอร์เตอร์ NPC แบบ 3 ระดับ (Three-Level NPC Inverter), หม้อแปลง, วงจรเรียงกระแสแบบเต็มลูกคลื่น และวงจรกรองความถี่ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้กับเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ การออกแบบและจำลองระบบดำเนินการโดยใช้ MATLAB และ Simulink เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวงจรและวิเคราะห์ผลลัพธ์ นอกจากนี้ ยังใช้ระบบควบคุม ไมโครคอนโทรลเลอร์ร่วมกับวงจรขับเกต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส โดยช่วยลดการสูญเสียพลังงาน และการออกแบบนี้สามารถแปลงพลังงาน PV ไปเป็นแรงดันและกระแสที่เหมาะสมสำหรับเครื่องอิเล็กโทรไลเซอร์ โดยยังคงรักษาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตไฮโดรเจนไว้

วัตถุประสงค์

ปัจจุบัน โลกกำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน ซึ่งเกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) และก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรม การคมนาคม และการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อแก้ไขปัญหานี้ หลายประเทศได้ร่วมมือกันภายใต้ COP25 ซึ่งเป็นการประชุมด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 หนึ่งในแนวทางสำคัญที่ช่วยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลคือ พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เช่น พลังงานลม (Wind Energy) และพลังงานน้ำ (Hydropower) ซึ่งสามารถลดการปล่อย CO₂ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะ โซล่าร์เซลล์ (Photovoltaic: PV) ที่ได้รับความนิยมเนื่องจากติดตั้งง่าย ราคาถูกลง และเหมาะกับการใช้งานทั้งระดับครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม พลังงานหมุนเวียนมีข้อจำกัดเรื่องความไม่เสถียร เนื่องจากแสงแดดและลมมีความผันผวน จึงจำเป็นต้องมี Energy Storage System (ESS) เพื่อกักเก็บพลังงานส่วนเกินและนำมาใช้ในช่วงที่แหล่งพลังงานไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ Green Hydrogen เป็นอีกแนวทางสำคัญในการลดการปล่อย CO₂ โดยผลิตจากกระบวนการ Electrolysis ของน้ำ ซึ่งใช้พลังงานหมุนเวียนในการแยกไฮโดรเจนออกจากออกซิเจน ทำให้เป็นกระบวนการผลิตพลังงานที่ปราศจากมลพิษ ไฮโดรเจนที่ได้สามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานสะอาดผ่าน Fuel Cell เพื่อเปลี่ยนกลับเป็นไฟฟ้าได้ โครงงานนี้มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนา Converter สำหรับทำงานร่วมกับ Photovoltaic Cell และ Hydrogen Electrolyzer เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต Green Hydrogen และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสนับสนุนเป้าหมายของ RE100 และ COP25 ในการสร้างโลกที่ยั่งยืน

นวัตกรรมอื่น ๆ

การออกแบบตลาดชุมชนอย่างยั่งยืน

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การออกแบบตลาดชุมชนอย่างยั่งยืน

การออกแบบพื้นที่เกษตร 22 ไร่ ตั้งอยู่ภายในอำเภอทท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ แนวคิดในการออกแบบพื้นที่นี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรและชุมชนสามารถสร้างรายได้จากสินค้าการเกษตรที่ผลิตเองภายในพื้นที่ โดยเน้นให้พื้นที่นี้เป็น “ตลาดมีชีวิต” ที่ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งสร้างอาหารจากพืชพันธุ์หลากหลายชนิด แต่ยังเป็นการสร้างระบบนิเวศที่สมดุลและส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่อีกด้วย ตลาดนี้จะกลายเป็นพื้นที่ตลาดที่ยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงแต่ดีต่อชุมชนในด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ยังส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยพื้นที่นี้จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางสังคมและการเรียนรู้ ที่สมาชิกในชุมชนสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์การเกษตรกันได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

การศึกษาวัสดุดูดซับเสียงจากผงยางรถที่ใช้แล้ว

คณะวิศวกรรมศาสตร์

การศึกษาวัสดุดูดซับเสียงจากผงยางรถที่ใช้แล้ว

ในปัจจุบันประเทศไทยมีแนวโน้มของปริมาณยางรถที่ใช้แล้วเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งยางรถเป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก แต่ยางรถยนต์เป็นวัสดุที่มีรูพรุนอยู่ภายในซึ่งมีความเป็นไปได้ในการนำมาทำเป็นวัสดุดูดซับเสียง เนื่องจากรูพรุนมีคุณสมบัติที่ทำให้วัสดุสามารถกักเสียงไว้ภายในได้ โครงงานนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาวัสดุดูดซับเสียงจากผงยางล้อรถที่ใช้แล้ว โดยนำผงยางรถยนต์ที่ใช้แล้วผสมกับน้ำยางพาราสดในอัตราส่วน 1:2 และทำการอบที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นทำการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพที่มีผลต่อการดูดซับเสียง ได้แก่ ความหนาแน่น ค่าความพรุนและค่าความสามารถในการดูดซึมน้ำ พบว่า วัสดุดูดซับเสียงจากผงยางรถยนต์ที่ใช้แล้วมีค่าความหนาแน่นเท่ากับ 0.96 กรัมต่อลบ.ซม. ค่าความพรุนเท่ากับ 0.45 และค่าความสามารถในการดูดซึมน้ำเท่ากับร้อยละ 11.03 ซึ่งมีความเป็นไปได้ในการนำผงยางรถยนต์ที่ใช้แล้วมาทำเป็นวัสดุดูดซับเสียงได้

มิสคิว

คณะศิลปศาสตร์

มิสคิว

นวัตกรรมนี้ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคิวในร้านอาหาร ทำให้ระบบเป็นระเบียบ ลดเวลารอคอย และรองรับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น