เรืออัจฉริยะไฟฟ้ากำจัดผักตบชวา เป็นเรือขนาดเล็กที่มีความคล่องตัว สามารถเข้าทำงานได้ในทุกพื้นที่ แม้กระทั่งพื้นที่เล็กๆที่มีปริมาณผักตบชวาหนาแน่น ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่ผู้วิจัยและคิดค้นและออกแบบเอง มีขนาดความยาว 4.80 เมตร ความกว้าง 1.20 เมตร โครงสร้างของตัวลำเรือทำจากวัสดุอลูมิเนียม ใช้ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลล์ขนาด 14 แรงม้า ใบมีดตัดสับคู่ด้านหน้า เสริมแรงการขับเคลื่อนควบคู่กับการปั่นสับวัชพืช ความสามารถในการกำจัดผักตบชวาโดยวิธีการปั่นย่อย 3-5 ต่อวัน โดยใช้พนักงานควบคุมบนเรือเพียงคนเดียว อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงคิดเป็น ไร่ละ 80-100 บาท ดังนั้นการควบคุมและกำจัดผักตบชวาโดยเรืออัจฉริยะจึงทำงานได้ดีกว่าการใช้เครื่องจักรกลทั่วๆ ไป อีกทั้งสามารถทำงานได้รวดเร็วและค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งแนวคิดเรืออัจฉริยะไฟฟ้ากำจัดผักตบชวา ที่จะสร้างต้นแบบเรืออัจฉริยะไฟฟ้ากำจัดผักตบชวาต่อยอดจากระบบเดิม
ผักตบชวาจัดเป็นพืชน้ำชนิดหนึ่งที่มีการแพร่กระจายและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำของประเทศไทย ยิ่งนับวันปัญหาความหนาแน่นของผักตบชวาในแหล่งน้ำยิ่งทวีความสำคัญกลายเป็นปัญหาระดับชาติ สาเหตุที่ทำให้ผักตบชวาเพิ่มความหนาแน่นขึ้นอย่างน่ากลัวนี้มาจากคุณสมบัติการดูดซับธาตุอาหารได้ดี การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของผักตบชวาเมื่อมารวมกับปัญหาการที่แหล่งน้ำมีความอุดมสมบูรณ์จากธาตุอาหารที่มากเกินไปจึงทำให้ผักตบชวาไม่มีปัจจัยจำกัด การพัฒนานวัตกรรมการจัดการการกำจัดผักตบชวานี้มีการนำเทคนิคการทำแห้งแบบพ่นฝอย (Spray drying) มาใช้ในกระบวนการผลิตสารควบคุมผักตบชวาจากพืชสมุนไพร จะช่วยทำให้ความชื้นระเหยเป็นไอน้ำจนได้อนุภาคของสารสกัดเป็นผงแห้งซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการนำไปใช้ นอกจากนี้ยังทำให้สารที่มีประสิทธิภาพคงเดิม ช่วยยืดอายุสาร ซึ่งในปัจจุบันการใช้สารควบคุมและกำจัดวัชพืชต่างๆ นอกจากจะให้ความสำคัญในเรื่องประสิทธิภาพในการกำจัดแล้ว เรื่องความปลอดภัยทั้งต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศก็เป็นอีกเรื่องที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังทำให้สารที่มีประสิทธิภาพคงเดิม ช่วยยืดอายุสารสำคัญ และมีความปลอดภัยต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขั้นตอนในกระบวนการจัดการ คือการฉีดพ่นสารสกัดเป็นละอองฝอยบนใบผักตบชวาให้เปียกชุ่มเพื่อให้สารเคลือบใบไม่ให้มีการสังเคราะห์แสง ขั้นตอนที่ 2 เว้นระยเวลา 5-7 วันทำการฉีดพ่นครั้งที่สองเพื่อเป็นการกำจัดลูกหรือต้นผักตบชวาที่เกิดขึ้นใหม่ในชั้นล่างของลำต้น ขั้นตอนที่ 3 เว้นระยะการฉีดพ่น 5-7 วัน ทำการฉีดพ่นครั้งที่สามเพื่อกำจัดเหง้าและไหล ในระหว่างนี้ก็จะฉีดพ่นสารช่วยย่อยสลายและบำบัดน้ำ เมื่อผักตบชวาตายหมดแล้วก็เข้าสู่กระบวนการย่อยสลาย ซึ่งสารสกัดจะสามารถช่วยย่อยได้เองตามธรรมชาติไม่ก่อให้เกิดการเน่าของซากพืช บวกกับการใช้เเรืออัจฉริยะไฟฟ้าซึ่งเป็นเรือสับย่อยมาช่วยในการปั่นสับหลังวัชพืชตายแล้ว จะทำให้ผักตบชวานั้นย่อยสลายได้รวดเร็ว ซึ่งกระบวนดังกล่าวทำให้ระบบการจัดการการกำจัดผักตบชวามีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
โครงการที่ประกอบด้วยศูนย์การค้าชุมชน ศูนย์กลางข้อมูลทางเกษตรกรรมที่มีศูนย์ข้อมูล พื้นที่โรงประลอง ห้องสมุดวัสดุและการปลูกพืชแนวตั้ง รวมถึงบ้านพักอาศัยแบบโฮมออฟฟิศ 4 จำนวนหลัง
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาเกษตรกรสูงอายุและขาดแคลนแรงงาน การจัดจ้างแรงงานของเกษตรกรในปัจจุบันอยู่ในรูปแบบการเล่าปากต่อปาก ภายในพื้นที่จำกัดอย่างเป็นวงแคบ ซึ่งอาจส่งผลเสียทางอ้อมในหลายด้าน เช่น ขาดการคัดเลือกขั้นพื้นฐาน (ประสบการณ์ ความถนัด) การควบคุมงบประมาณ การจัดจ้าง เป็นต้น จึงเกิดเป็นไอเดียการสร้างพื้นที่จัดหางานสำหรับเกษตรกรโดยเฉพาะ
คณะแพทยศาสตร์
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน (Deep Convolutional Neural Networks - CNNs) สำหรับการระบุเม็ดยาอย่างแม่นยำ เพื่อแก้ไขข้อจำกัดของการพิสูจน์เอกลักษณ์เม็ดยาด้วยทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้ข้อมูลรูปภาพจำนวน 1,250 ภาพ จากยาสามัญประจำบ้าน 10 ชนิด นำมาทดสอบกับโมเดล YOLO ที่แตกต่างกันภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ผลการทดลองพบว่า การใช้แสงธรรมชาติให้ผลดีกว่าเมื่อทดสอบด้วยระบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน เมื่อเปรียบเทียบกับแสงจากกล่องสตูดิโอ นอกจากนี้ โมเดล YOLOv5-tiny แสดงความแม่นยำสูงสุดในการตรวจจับเม็ดยา ขณะที่โมเดล EfficientNet_b0 ให้ผลลัพธ์ดีที่สุดในการจำแนกเม็ดยา แม้ว่าระบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันที่พัฒนาขึ้นนี้จะให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องชนิดของเม็ดยาและจำนวนภาพที่ใช้ในการศึกษา อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้มีศักยภาพในการส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้ยาทั้งในระบบสาธารณสุขและผู้ป่วยนอก รวมถึงลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาผิดพลาด