KMITL Innovation Expo 2025 Logo

Spirt of thailand

Spirt of thailand

รายละเอียด

-

วัตถุประสงค์

ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตผลไม้เมืองร้อนที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ซึ่งเป็นผลไม้ที่ได้รับการยอมรับในด้านรสชาติและคุณภาพ มะม่วงที่ปลูกในอำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับอิทธิพลจากดินตะกอนและน้ำกร่อย ทำให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างไรก็ตาม ผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานสำหรับการส่งออกมักถูกทิ้งหรือนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นที่มีมูลค่าต่ำ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับมะม่วงเหล่านี้ นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ได้นำองค์ความรู้ด้าน เทคโนโลยีการหมัก มาประยุกต์ใช้ โดยนำ มะม่วงหมักกับหัวเชื้อเฉพาะ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ Mango Cider Vinegar ซึ่งเป็นกระบวนการที่ได้รับสิทธิบัตร หลังจากนั้นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการพัฒนาจนเป็น Sparkling Mango Cider Vinegar ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่มีศักยภาพในการเข้าสู่ตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพระดับพรีเมียม

นวัตกรรมอื่น ๆ

ระบบติดตามงานของสมาชิกในทีม

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ระบบติดตามงานของสมาชิกในทีม

โครงงานนี้มุ่งเน้นการพัฒนาระบบติดตามงานสำหรับสมาชิกในทีม โดยใช้ภาษา Python ในการดึงข้อมูลจากไฟล์ Excel และนำเข้าสู่ฐานข้อมูล SQL Server เพื่อจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ ระบบนี้มีฟังก์ชันการแจ้งเตือนสถานะงานผ่าน LINE และแสดงผลรายงานผ่าน Power BI เพื่อให้หัวหน้างานสามารถติดตามความคืบหน้าและประเมินผลงานของสมาชิกในทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ระบบยังช่วยส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการงานและเวลาให้กับสมาชิกในทีมอีกด้วย

ศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

ศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน

โครงการศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน เป็นโครงการต่อเนื่องจากการนำร่องในการทดลองแนวทางการปรับปรุงอาคารเก่า (วช.7) ซึ่งเป็นอาคารห้าชั้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาแนวทางการปรับปรุงอาคารเก่าเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการดำเนินการศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน (ต่อเนื่อง) ได้ทำการศึกษาข้อมูลและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและวางระเบียบวิธีการวิจัยเพื่อค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงอาคารเก่าเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากการขนส่ง แรงงาน และวัสดุ การใช้พลังงานไฟฟ้าระหว่างการก่อสร้าง การสะสมก๊าซเรือนกระจกจากวัสดุก่อสร้างเก่า/ใหม่ที่ใช้ในการก่อสร้าง การดำเนินการในโครงการนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยมีการเก็บข้อมูลจริงเพื่อประเมินเป็นค่าปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าเปรียบเทียบระหว่างการก่อสร้างอาคารใหม่ และผลจากการปรับปรุงอาคารเก่าที่เป็นกรณีศึกษา จากการเก็บข้อมูลและทำการคำนวณภายหลังเสร็จสิ้นโครงการพบว่าการปรับปรุงอาคารเดิมด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในส่วนของการใช้วัสดุก่อสร้างมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 11.88 kgCO2e/sq.m. ในกรณีการก่อสร้างอาคารใหม่ จะมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 299.35 kgCO2e/sq.m. ซึ่งสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ประมาณ 26 เท่า เมื่อเทียบกับการก่อสร้างอาคารใหม่

ปัจจุบันการใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนในประเทศไทยเป็นอย่างไร

คณะวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันการใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนในประเทศไทยเป็นอย่างไร

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และประมวลผลปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนในประเทศไทย และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนในประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ 57,600 ครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 54.31 ปี มีสถานภาพสมรสแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาอยู่ที่ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวไม่มีลูกจ้าง, อาชีพลูกจ้างเอกชน และอื่น ๆ ในด้านลักษณะทางสังคมขนาดของครัวเรือนเฉลี่ยของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ที่ 2.71 คน มีที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่ภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกัน รองลงมาเป็นภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ ส่วนใหญ่อาศัยในบ้านเดี่ยว และลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นแบบตึก รองลงมาเป็นแบบครึ่งตึกครึ่งไม้ ส่วนสถานภาพการครอบครองที่อยู่อาศัยพบว่าเกือบทั้งหมด เป็นเจ้าของบ้าน โดยมีจำนวนห้องในที่อยู่อาศัยเฉลี่ยที่ 2.88 ห้อง มีไฟฟ้าใช้ในที่อยู่อาศัยทุกครัวเรือน มียานพาหนะที่ใช้พลังงานเฉลี่ย 2.30 คันต่อครัวเรือน รวมถึงมีเครื่องใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 22 ชิ้น และในด้านลักษณะทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ และได้รับผลประโยชน์จากโครงการช่วยเหลือของรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เคยกู้ยืมเงินจากกองทุนต่าง ๆ ที่รัฐจัดให้ สำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสื่อสารผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 788.46 บาท และมีค่าเฉลี่ยหนี้สินของครัวเรือนอยู่ที่ 4,760.74 บาท ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนในประเทศไทย ได้แก่ เพศ, ระดับการศึกษา, สถานภาพสมรส, อาชีพ, จำนวนสมาชิก, ภาคที่อยู่อาศัย, ประเภทที่อยู่อาศัย, ลักษณะที่อยู่อาศัย, สถานภาพการครอบครองที่อยู่อาศัย, จำนวนห้อง, จำนวนยานพาหนะ, จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า, สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล, การได้รับผลประโยชน์จากโครงการช่วยเหลือของรัฐ, การกู้ยืมเงินจากกองทุนต่าง ๆ ที่รัฐจัดให้, ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสื่อสาร และจำนวนหนี้สินของครัวเรือน ส่วนอายุไม่มีผลต่อค่าใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนในประเทศไทย และผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรงพบว่ามีตัวแปรอิสระเชิงปริมาณ 6 ตัว ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสื่อสาร, จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน, จำนวนยานพาหนะที่ใช้พลังงานในครัวเรือน, จำนวนหนี้สินของครัวเรือน, จำนวนห้อง และขนาดของครัวเรือน ที่มีส่วนในการอธิบายความผันแปรของค่าใช้จ่ายพลังงานของ โดยมีค่า Adjusted R Square เท่ากับ 0.561