โครงการ Project Urban House เป็นแนวคิดการพัฒนาและออกแบบที่อยู่อาศัยในเมือง เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรเมืองที่เพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ความยั่งยืน และการออกแบบที่รองรับไลฟ์สไตล์คนเมืองในปัจจุบัน โครงการนี้ให้ความสำคัญกับการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดสรรพื้นที่สีเขียว และการบูรณาการเทคโนโลยีสมาร์ทโฮมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย
1. พัฒนาทักษะด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในสำหรับที่อยู่อาศัยในเมือง 2. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาภายในพื้นที่จำกัด 3. ฝึกการทำงานแบบมืออาชีพและการนำเสนอโครงการ
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบอัตลักษณ์สำหรับสถานีรถไฟความเร็วสูง โดยแบ่งขั้นตอนการศึกษาออกเป็น 4 ขั้นตอน 1) การสำรวจและวิเคราะห์อัตลักษณ์บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน 2) การเปรียบเทียบการรับรู้สภาพแวดล้อมของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามชุดที่ 1 จากผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) รถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน (MRT BL) รถไฟฟ้าแอร์พอตเรียลลิ้งค์ (APL) หรือ AERA1 และ รถไฟฟ้ามหานครสายสีม่วง(MRT PPL) จำนวน 800 คน 3) การสำรวจ และวิเคราะห์การรับรู้อัตลักษณ์บริเวณสถานีของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน (MRT BL) โดยใช้แบบสอบถามชุดที่ 2 จากผู้ใช้บริการ จำนวน 800 คน สถานีวัดมังกร สามยอด สนามไชย และอิสรภาพ 4) การศึกษาและสำรวจสภาพแวดล้อมรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย จากนั้นนำผลการศึกษาที่ได้มาสังเคราะห์แนวทางการออกแบบอัตลักษณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 12 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อการสรุปผลกรอบแนวคิดการออกแบบอัตลักษณ์สำหรับสถานีรถไฟความเร็วสูง ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน สถานีเป็นองค์ประกอบหนึ่งจากสถาปัตยกรรมด้านประวัติศาสตร์ที่มีความสอดคล้องกับสถานที่ สังคม วิถีชีวิต รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญใกล้สถานี สภาพแวดล้อมภายนอกสถานีมีผลต่อการรับรู้ของผู้ใช้บริการมากที่สุด ได้แก่ อาคารภายนอก จุดเชื่อมต่อของระบบขนส่งสาธารณะใกล้เคียง และประตูทางเข้าออกสถานี โดยแนวทางการออกแบบอัตลักษณ์สำหรับสถานีรถไฟความเร็วสูง สามารถสรุปอัตลักษณ์ในการออกแบบได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1) อัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม 2) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม 3) อัตลักษณ์จากการ์ตูน และ 4) อัตลักษณ์ทางด้านศิลปะและงานออกแบบ
คณะอุตสาหกรรมอาหาร
ฟิล์มละลายในช่องปาก (Oral Disintegrating Film: ODF) สามารถละลายในช่องปากได้ทันทีเมื่อสัมผัสกับน้ำลายโดยไม่จำเป็นต้องใช้น้ำ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลของความเข้มข้นของซอร์บิทอลที่มีผลต่อคุณสมบัติของฟิล์มละลายในช่องปากที่มีสารสกัดจากพริก (Capsicum Oleoresin) ซึ่งมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการหลั่งน้ำลาย ส่งผลให้การกลืนยาเป็นไปได้ง่ายขึ้น ฟิล์มดังกล่าวได้รับการพัฒนาเพื่อลดปัญหาการกลืนยา โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก การเตรียมฟิล์มประกอบด้วยการใช้ซอร์บิทอลในปริมาณที่แตกต่างกัน ซึ่งจะถูกทดสอบในแง่ของคุณสมบัติทางรีโอโลยี คุณสมบัติทางกล ปริมาณความชื้น ปริมาณน้ำอิสระ ความหนา เวลาในการสลายตัว มุมสัมผัส ค่าสี และฤทธิ์สารต้านอนุมูลอิสระ จากผลการศึกษาพบว่า ซอร์บิทอลมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความยืดหยุ่นและลดความเปราะบางของฟิล์ม นอกจากนี้ ความเข้มข้นของซอร์บิทอลที่เหมาะสมช่วยรักษาความคงตัวของสารสกัดจากพริกและเพิ่มประสิทธิภาพในการกระตุ้นการหลั่งน้ำลาย ซึ่งช่วยให้การกลืนสะดวกขึ้นและลดความฝืดในช่องปาก ฟิล์มที่พัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้แสดงถึงศักยภาพในการเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
บนเส้นทางของการมีชีวิตอยู่นับตั้งแต่เราเกิด คนเราต่างต้องประสบพบเจอกับสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตมากมาย ความแตกต่างและหลากหลายลักษณะ ทั้งนี้แล้วแต่ละปัจจัยของการมีชีวิตของแต่ละบุคคล ต่างมีภาระหน้าที่ ความฝันที่ต่างกัน ความแตกต่างของบริบทชีวิต ทุกคนยังคงต้องดิ้นรนต่อสู้กับอุปสรรค ภาระมากมายในการดำเนินชีวิต แบกรับภาระหน้าที่ของตนและครอบครัวเพื่อความอยู่รอด การดำเนินชีวิตในรูปแบบที่ต่างกัน ภาระและความฝันที่มีมากมาย หากแต่ในบทชีวิตจริง จะมีสักกี่คนที่สามารถแบกรับภาระเหล่านี้ไปได้ถึงฝั่งฝันของตน