KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การพัฒนาทางเท้าเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงระบบสาธารณูปการสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : ชุมชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น

รายละเอียด

แนวคิดเรื่องการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุด้วยการปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยเหตุนี้การออกแบบทางเท้าที่เหมาะสมและคำนึงถึงความต้องการของผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาศัยภายในชุมชนวัดธาตุและชุมชนวัดกลางเขตเทศบาลนครขอนแก่น ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพแวดล้อมกายภาพของทางเดินเท้าในการเข้าถึงสาธารณูปการ 2) สำรวจพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อทางเดินเท้าภายในชุมชน 3) จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาทางเดินเท้าที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้สูงอายุที่อาศัยในเขตเมือง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสำรวจสภาพแวดล้อมทางกายภาพของทางเดินเท้าเพื่อวิเคราะห์ปัญหา ข้อจำกัดและศักยภาพของทางเดินเท้า ร่วมกับแบบสัมภาษณ์สำนักการ ช่าง เทศบาลนครขอนแก่น แบบสอบถามพฤติกรรมการเดินทาง แบบสอบถามความพึงพอใจและทัศนคติของผู้สูงอายุที่มีต่อทางเดินเท้าในชุมชน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน ผลการศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพตามรายการตรวจสอบทั้ง 6 องค์ประกอบ พบว่า มีองค์ประกอบที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การใช้ประโยชน์ที่ดินในชุมชน 2) การเชื่อมต่อของโครงข่ายสัญจร และ 3) ความสวยงามของสถานที่น่าสนใจดึงดูดการเดิน องค์ประกอบที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การมีเส้นทางเดินเท้าที่ปลอดภัย 2) การออกแบบเพื่อทุกคนและ 3) การเดินเข้าถึงสาธารณูปการและสิ่งอำนวยความสะดวก การศึกษาพฤติกรรมการเดินทางของผู้สูงอายุที่ตอบแบบสอบถามพบว่า วัตถุประสงค์ในการเดินทางส่วนใหญ่เดินทางเพื่อไปแหล่งจับจ่ายใช้สอย และพื้นที่ นันทนาการ มีความถี่ในการเดินทาง 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ด้านความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อทางเดินเท้าภายในชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้มีการพัฒนาเส้นทางเดินเท้าที่ปลอดภัย เพื่อรองรับการเดินทางเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปการได้อย่างปลอดภัย

วัตถุประสงค์

สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เหมาะสมและปลอดภัยเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในการเตรียมความพร้อมของเมืองเพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุการที่ผู้สูงอายุได้อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรนั้นส่งผลเชิงบวกต่อพฤฒิพลังและคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยอย่างชัดเจน (อัจฉรา ปุราคม,2563) จากการศึกษาที่ผ่านมีงานวิจัยจำนวนมากได้เชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพและปัจจัยด้านระบบทางสัญจรที่เอื้อต่อการเดินเท้า (Walkability) มีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาวะทางร่างกาย เนื่องจากผู้สูงอายุมีสภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและหนึ่งในปัญหาที่สำคัญคือการบาดเจ็บจากพลัดตกหกล้มซึ่งเป็นสาเหตุการป่วยอันดับสอง รองจากอุบัติเหตุการขนส่งและส่วนใหญ่ร้อยละ 65 เป็นการหกล้มนอกบ้าน มีสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงคือ ปัจจัยทางด้านร่างกายและปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม (กองป้องกันการบาดเจ็บ,2565,กรมควบคุมโรค) นอกจากประโยชน์ด้านสุขภาพร่างกาย การเดินเท้ายังเป็นรูปแบบการสัญจรที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถเดินทางไปมาหาสู่กับครอบครัวและเพื่อนฝูงที่อาศัยอยู่ในละแวกชุมชนเดียวกันได้อย่างสะดวกและไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเดินทางเพื่อเข้าถึงบริการสาธารณะและสิ่งอำนวยความสะดวกในละแวกบ้านได้อย่างอิสระ ดังนั้นการจัดเตรียมโครง สร้างพื้นฐานให้มีทางเท้าที่ปลอดภัยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางตามลำพัง นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในทุกมิติ ปัจจุบันจังหวัดขอนแก่นมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมากเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาค (ข้อมูลสถิติผู้สูงอายุจากการกรมกิจการผู้สูงอายุ,2566) จากข้อมูลพบว่ามีสัดส่วนประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไปและอาศัยในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 19,572 คน คิดเป็น 23.28% ถือได้ว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นพร้อม ๆ กับการขยายตัวของเมืองโดยพัฒนาให้เป็นเมืองศูนย์กลางด้านการแพทย์และนวัตกรรมสุขภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนและรองรับกับสังคมผู้สูงวัย แต่ในขณะเดียวกันเมื่อพิจารณางานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า พฤติกรรมการเดินทางของผู้สูงอายุที่อาศัยในเมืองขอนแก่นส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อเดินทางไปทำกิจกรรมใน ชีวิตประจำวันในพื้นที่ศูนย์กลางเมืองและเมืองชั้นใน(CBD and Inner City) โดยนิยมใช้รถยนต์ส่วนตัวเนื่องจากเป็นรูปแบบการเดินทางที่มีความสะดวกสบาย และการเดินทางแต่ละครั้งจำเป็นต้องพึ่งพาบุคคลอื่นหรือมักมีผู้ร่วมเดินทางไปด้วยเนื่องจากผู้สูงอายุมีข้อจำกัดทางด้านร่างกายที่เพิ่มขึ้น(รชยา พรมวงศ์และ ปัทมพร วงศ์วิริยะ,2565) ดังนั้นการมีทางเลือกรูปแบบการเดินทางที่หลากหลาย จึงช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถเดินเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในเมืองโดยลำพังได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น ส่งผลบวกต่อความรู้สึกที่ผ้สู ูงอายุมีต่อตนเอง จากสถาณการณ์และความสำคัญของปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ จึงเป็นที่มาของการศึกษาการพัฒนาทางเท้าเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงระบบสาธารณูปการสำหรับผู้สูงอายุภายในเขตชุมชนคุ้มวัดธาตุและชุมชนคุ้มวัดกลาง จากการตั้งถิ่นฐานชุมชนเมืองเดิมเป็นย่านชุมชนเมืองเก่าที่มีการอาศัยอยู่แบบเครือญาติและยึดถือวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมที่สืบต่อกันมา เกิดการรวมตัวกันหลากหลายอาชีพหลายช่วงวัยและได้เปลี่ยนเป็นชุมชนเมืองที่มีการอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ปัจจุบันทั้ง 2 ชุมชน มีประชากรทั้งหมด 4,819 คน (สำนักสวัสดิการและสังคม จังหวัดขอนแก่น,2566) ปัจจุบันพบว่าบริเวณโดยรอบชุมชนมีสาธารณูปการหลากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น บริการด้านนันทนาการ มีสวนสาธารณะบึงแก่นนครเป็นแหล่งรวมกิจกรรมของพื้นที่นันทนาการและสวนสาธารณะขนาดใหญ่ อยู่ในระยะรัศมีไม่เกิน 12.5 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะไม่เกินครึ่งชั่วโมง แหล่งบริการด้านสาธารณะสุขมีศูนย์แพทย์ชุมชน วัดหนองแวง ซึ่งตั้งอยู่ในระยะรัศมีไม่เกิน 7 กิโลเมตร สาธารณูปการด้านความปลอดภัยมีสถานีดับเพลิง อยู่ในรัศมีของการดับเพลิงไม่เกิน 2.4 กิโลเมตร ซึ่งทุกชุมชนต้องมีสถานีดับเพลิงอย่างน้อยที่สุด 1 แห่ง สามารถดับเพลิงได้ 2 จุดในเวลาเดียวกัน อยู่ในรัศมีการให้บริการตามเกณฑ์มาตรฐาน(เกณฑ์และมาตรฐานผังเมืองรวม พ.ศ.2549,กรมโยธาธิการและผังเมือง) นอกจากนั้นยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ได้แก่ ศูนย์สร้างสุขผู้สูงอายุวัดหนองแวง ห้องสมุด ตลาดสด ศูนย์การค้า ร้านสะดวกซื้อ ศาสนสถานได้แก่ วัดธาตุวัดกลาง และวัดหนองแวง เป็นต้น แต่ลักษณะทางกายภาพของทางเดินเท้าในบางพื้นที่ยังมีปัญหาเรื่องถนนที่ไม่ปลอดภัยต่อการใช้งาน ไม่เอื้อต่อการเดินเท้าการจราจรที่ติดขัด การสัญจรที่ไม่ครอบคลุมการเดินทาง ถือเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงพื้นที่ของผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเน้นเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของทางเดินเท้าว่ามีความเหมาะสมสำหรับการเดินเข้าถึงสาธารณูปการและสิ่งอำนวยความสะดวกหรือไม่ และศึกษาพฤติกรรมการเดินทางและความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อทางเท้า เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาทางเท้าที่ปลอดภัยในละแวกบ้าน ซึ่งประชากรกลุ่มเป้าหมายการวิจัยในครั้งนี้คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เป็นประชากรในช่วงวัยทำงานที่มีแนวโน้มจะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต ดังนั้นการพัฒนาทางเท้าในชุมชนถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองที่เอื้อประโยชน์ให้คนทุกกลุ่มในสังคมได้ใช้ชีวิตในวัยชราอย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุได้อย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเมืองในปัจจุบัน

นวัตกรรมอื่น ๆ

เเขนกลระบบรางเพื่อการเกษตรอัฉริยะ

วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

เเขนกลระบบรางเพื่อการเกษตรอัฉริยะ

การเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เเละลดต้นทุน โดยกระดับคุณภาพการทำเกษตรกรรมในปัจจุบัน ซึ่งนวัตกรรมที่สำคัญในด้านนี้คือ แขนกลระบบราง ซึ่งถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยใช้ระบบรางที่มีความแม่นยำและประสิทธิภาพสูง การใช้งานของแขนกลนี้ครอบคลุมหลายกระบวนการ เช่น การปลูกพืช การคัดเเยก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว รวมถึงการจัดการทรัพยากรต่างๆ โดยที่สามารถทำงานได้ต่อเนื่องและลดการใช้แรงงานมนุษย์ในงานที่ซ้ำๆเเละมีความเสี่ยงสูง ผลการศึกษาพบว่า การใช้แขนกลระบบรางในภาคการเกษตรสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุนการผลิต และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้หุ่นยนต์ในกระบวนการเกษตรสามารถลดการปนเปื้อน ลดความเสี่ยงที่จะทำให้พืชเสียหาย ทำให้การเกษตรมีความยั่งยืนมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มความแม่นยำในการดำเนินงานในพื้นที่จำกัดหรือฟาร์มที่มีการปลูกพืชหลากหลายชนิด จากผลการวิจัยนี้สามารถสรุปได้ว่า การนำเทคโนโลยีแขนกลระบบรางมาใช้ในเกษตรกรรมไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระยะยาว แต่ยังเป็นการส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืนและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อรองรับความต้องการในอนาคตของในด้านการเกษตร

ระบบตรวจจับและระบุตำแหน่งผลมะม่วงแบบสามมิติ

คณะวิศวกรรมศาสตร์

ระบบตรวจจับและระบุตำแหน่งผลมะม่วงแบบสามมิติ

การประเมินผลผลิตของผลมะม่วง และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความตระหนักถึงที่มาของผลผลิตมากยิ่งขึ้น ต้องการตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาของผลผลิตว่าผลผลิตนั้นๆได้รับการดูแลมาอย่างไรผ่านการระบุตำแหน่งของผลนั้นๆ ความเกี่ยวเนื่องกันถึงลักษะของผลผลิตที่เป็นผลมาจากวิธีการดูแลผลหรือต้นของผลผลิตในขณะที่ยังไม่ถูกเก็บเกี่ยว ดังนั้นเพื่อสร้างแบบจำลองที่สามารถตรวจจับและระบุตำแหน่งของผลมะม่วง โดยใช้ภาพถ่าย 2 มิติ ด้วยวิธีการ Deep Learning Model และเพื่อศึกษาเทคนิคการระบุพิกัดของผลมะม่วงในโลกจริงจากภาพภาพ 2 มิติ มีการใช้โมเดล YOLOv8 เพื่อ Object detection ร่วมกับเทคนิคการสอบเทียบกล้อง (Camera Calibration) และ Triangulation เพื่อหาตำแหน่ง 3 มิติ ของผลมะม่วงในภาพที่ถูกตรวจจับได้ จากการทำการทดลองหาตำแหน่งทั้งหมด 125 ครั้ง ที่มีการสุ่มค่าตำแหน่งของผลมะม่วง และตำแหน่งของกล้องที่มีมุม Yaw และ Pitch ที่แตกต่างกัน โดยการใช้ค่า Parameter จากรูปที่ถ่ายถัดไปมาเปรียบเทียบกันเพื่อหาตำแหน่งจริง 3 มิติ ที่ได้ผลความถูกต้องที่..... จากการใช้โมเดล YOLOv8 ที่มีค่าทำนาย Precision, Recall, mAP50, mAP50-95 และ F1-Score ได้แก่ 0.928, 0.901, 0.965, 0.785 และ 0.914 ตามลำดับ ซึ่งมีความแม่นยำที่มากพอเพื่อทำนายตำแหน่งของผลมะม่วงที่มีความคลาดเคลื่อนประมาณ 38 เซนติเมตร

บ้านแมวอัจฉริยะ

คณะวิทยาศาสตร์

บ้านแมวอัจฉริยะ

โครงงานนี้นำเสนอการพัฒนา "บ้านแมวอัจฉริยะ (Smart Cat House)" โดยใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) และการประมวลผลภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยในการดูแลแมวของเจ้าของ โครงสร้างพื้นฐานของบ้านแมวอัจฉริยะประกอบด้วยบอร์ด ESP8266 ที่เชื่อมต่อกับกล้อง ESP32 CAM สำหรับการตรวจสอบแมว และบอร์ด Arduino ที่ควบคุมเซ็นเซอร์ต่างๆ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวในกระบะทราย เซ็นเซอร์อุณหภูมิและความชื้น DHT22 เซ็นเซอร์วัดระดับน้ำและอาหารด้วย Ultrasonic รวมถึงระบบจ่ายน้ำดื่มสำหรับแมว ระบบให้อาหารอัตโนมัติ และระบบระบายอากาศที่ควบคุมด้วย DC FAN ซึ่งปรับการทำงานตามอุณหภูมิที่วัดได้ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมี IR sensor สำหรับตรวจจับการเข้าห้องน้ำของแมว และระบบเปลี่ยนทรายอัตโนมัติด้วย SERVO MOTOR ระบบทั้งหมดเชื่อมต่อและควบคุมผ่านแอปพลิเคชัน Blynk ที่สามารถใช้งานบนมือถือ ทำให้เจ้าของสามารถติดตามและดูแลสัตว์เลี้ยงได้จากระยะไกล การตรวจจับและยืนยันตัวตนของแมว ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพจากกล้อง ESP32 CAM ร่วมกับ YOLO (You Only Look Once) ซึ่งเป็นอัลกอริทึมตรวจจับวัตถุที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อตรวจจับและแยกแยะระหว่างแมวกับคน ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่างๆ จะถูกส่งไปยังบอร์ด Arduino เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านแมวอัจฉริยะ เช่น การเปิด-ปิดไฟ การเปลี่ยนทรายอัตโนมัติ การปรับอุณหภูมิและความชื้น การให้อาหารและน้ำตามเวลาที่กำหนด หรือการระบายอากาศ การใช้ระบบเชื่อมต่อผ่าน ESP8266 และแอปพลิเคชัน Blynk ช่วยให้การควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ทำได้ง่ายและสะดวก เจ้าของสามารถติดตามและควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมดได้จากทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต