KMITL Innovation Expo 2025 Logo

การคัดเลือกพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ทนต่อดินเค็ม

การคัดเลือกพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ทนต่อดินเค็ม

รายละเอียด

ข้าวเป็นพืชที่อ่อนแอต่อดินเค็ม วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาผลของความเค็มในระยะออกดอกที่มีต่อลักษณะทางสรีรวิทยา และการให้ผลผลิตของข้าวพื้นเมือง วางแผนการทดลองแบบ 4*10 Factorial in RCBD จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัย A คือ ระดับความเค็ม 4 ระดับได้แก่ control , 6, 12 และ 16 dS/m ปัจจัย B คือพันธุ์ข้าวจำนวน 10 สายพันธุ์ เก็บข้อมูลลักษณะทางสรีรวิทยาแลผลผลิต ผลการศึกษาพบว่า ระดับความเค็มที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง โดยผลผลิตจะลดลงมากที่สุดเมื่อข้าวได้รับเกลือที่ระดับ 16 dS/m นอกจากนี้พบว่า สายพันธุ์ข้าวมีการให้ผลผลิตที่แตกต่าง ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า ข้าวพันธุ์หอมใหญ่มีอัตราการลดลงของผลผลิตต่ำที่สุดเมื่อปลูกในระดับความเค็ที่ 16 dS/m และไม่แตกต่างกับพันธุ์ทนเค็มมาตรฐาน

วัตถุประสงค์

การผลิตข้าวในประเทศไทยยังคงประสบปัญหาเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ซึ่งทำให้ผลผลิตของข้าวลดลง เช่น ปัญหาดินเค็ม โดยดินเค็มคือดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้ดีอยู่ในสารละลายดินสูงมากจนมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิตของพืช อีกทั้งในปัจจุบัน สภาวะโลกร้อนมีความรุนแรงมากขึ้น และมีผลต่อเนื่องทำให้ความเครียดจากความเค็มมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย การใช้ข้าวสายพันธุ์ที่มีความทนเค็มเป็นอีกวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้จึงสนใจศึกษาความเครียดเค็มในระยะออกดอกของข้าวที่ต่อเนื่องไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยทำการศึกษาในพันธุ์ข้าวพื้นเมือง 6 พันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกแล้วว่าทนต่อความเค็มในระยะกล้าเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์ทนเค็มมาตรฐาน Pokkali และพันธุ์การค้า KDML105 ซึ่งผลจากการวิจัยที่ได้ในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีความสามารถในการทนต่อสภาวะเครียดที่เกิดจากดินเค็ม และเป็นการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพในการทนเค็ม ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาจากสภาวะดินเค็มต่อไป

นวัตกรรมอื่น ๆ

ระบบขับเคลื่อนต่อพ่วงอุปกรณ์ทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี RFID

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

ระบบขับเคลื่อนต่อพ่วงอุปกรณ์ทางการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี RFID

โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบขับเคลื่อนต่อพ่วงอุปกรณ์การเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี RFID พร้อมทั้งศึกษาประสิทธิภาพการเคลื่อนที่บนพื้นผิวที่แตกต่างกัน ได้แก่ พื้นปูนคอนกรีตและพื้นสนามหญ้า การทดลองมุ่งเน้นการตรวจสอบระยะการอ่านค่าแท็ก (Tag) ภายใต้ระดับกำลังส่ง 20 dBm, 23 dBm และ 26 dBm รวมถึงผลกระทบของมุมเสาอากาศต่อประสิทธิภาพการตรวจจับ นอกจากนี้ ระบบถูกทดสอบในเส้นทางตรง เลี้ยวซ้าย และเลี้ยวขวา ที่ระยะ 2 เมตร, 4 เมตร และ 6 เมตร ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเคลื่อนที่ในเส้นทางตรงบนพื้นปูนคอนกรีตที่ระยะ 4 เมตรให้ค่าความเร็วเฉลี่ยสูงสุดที่ 0.4736 m/s และมุมองศาเฉลี่ย 91.6° ขณะที่พื้นสนามหญ้าให้ค่าความเร็วเฉลี่ย 0.4483 m/s และมุมองศาเฉลี่ย 91.1° ในกรณีของเส้นทางเลี้ยวซ้ายและเลี้ยวขวา พบว่าการเคลื่อนที่บนพื้นปูนคอนกรีตมีค่าความเร็วเฉลี่ยสูงกว่าพื้นสนามหญ้า โดยเฉพาะที่ระยะ 4 เมตรซึ่งพบค่ามุมองศาที่แตกต่างกัน การศึกษานี้ช่วยให้เข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของรถขับเคลื่อนและเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต

ความสงสัยในตนเอง

คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ

ความสงสัยในตนเอง

ซีรีย์ภาพถ่ายที่สื่อถึงสภาวะนามธรรมของตนเอง ที่ตั้งคำถามถึงการดำรงอยู่ อันเกิดจากการถูกรายล้อมไปด้วยความคาดหวัง ทั้งในแง่ของเสรีภาพในการแสดงออก และการยอมจำนน การมุ่งความสนใจไว้ที่ตนเอง ทำให้เกิดความรู้สึกนึกถึงอดีตที่แทบจะลืมเลือนไปแล้ว ให้กลับมาจนชัดเจนอีกครั้ง

อุปกรณ์ฟิล์มบางแบบช่องสั่นพ้องไม่สมมาตรสำหรับการใช้งานกับวาเนเดียมไดออกไซด์

คณะวิทยาศาสตร์

อุปกรณ์ฟิล์มบางแบบช่องสั่นพ้องไม่สมมาตรสำหรับการใช้งานกับวาเนเดียมไดออกไซด์

วาเนเดียมไดออกไซด์เป็นวัสดุเปลี่ยนเฟส โดยคุณสมบัติเฉพาะคือโครงสร้างผลึกจะเปลี่ยนแปลงเมื่อเพิ่มความร้อนจนถึงอุณหภูมิเปลี่ยนเฟสและโครงสร้างจะเปลี่ยนเฟสกลับเมื่อลดอุณหภูมิให้ต่ำกว่าอุณหภูมิเปลี่ยนเฟส หากเทียบกับวัสดุทั่วไปแล้วการเปลี่ยนเฟสจะส่งผลให้คุณสมบัติทางแสงเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราสามารถใช้คุณสมบัตินี้ในการออกแบบอุปกรณ์ฟิล์มบางเพื่อการใช้งานเป็นโหมดได้ ในงานวิจัยนี้ ผู้ทำได้เลือกอุปกรณ์ฟิล์มบางสองประเภทที่ทำจากวาเนเดียมไดออกไซด์ มาออกแบบเพื่อเพิ่มโครงสร้างสั่นพ้องแบบไม่สมมาตรขึ้นมาใหม่ โดยโครงสร้างถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของชั้นวาเนเดียมไดออกไซด์ที่อยู่ตรงกลาง และมีลักษณะลดการสะท้อนในโหมดการทำงานปกติ อภิปรายถึงช่องสั่นพ้อง, ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้วัสดุเปลี่ยนเฟส, ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการออกแบบใหม่นี้ด้วย