KMITL Innovation Expo 2025 Logo

ศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน

ศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน

รายละเอียด

โครงการศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน เป็นโครงการต่อเนื่องจากการนำร่องในการทดลองแนวทางการปรับปรุงอาคารเก่า (วช.7) ซึ่งเป็นอาคารห้าชั้น โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาแนวทางการปรับปรุงอาคารเก่าเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการดำเนินการศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน (ต่อเนื่อง) ได้ทำการศึกษาข้อมูลและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและวางระเบียบวิธีการวิจัยเพื่อค้นหาแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงอาคารเก่าเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากการขนส่ง แรงงาน และวัสดุ การใช้พลังงานไฟฟ้าระหว่างการก่อสร้าง การสะสมก๊าซเรือนกระจกจากวัสดุก่อสร้างเก่า/ใหม่ที่ใช้ในการก่อสร้าง การดำเนินการในโครงการนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยมีการเก็บข้อมูลจริงเพื่อประเมินเป็นค่าปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าเปรียบเทียบระหว่างการก่อสร้างอาคารใหม่ และผลจากการปรับปรุงอาคารเก่าที่เป็นกรณีศึกษา จากการเก็บข้อมูลและทำการคำนวณภายหลังเสร็จสิ้นโครงการพบว่าการปรับปรุงอาคารเดิมด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในส่วนของการใช้วัสดุก่อสร้างมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 11.88 kgCO2e/sq.m. ในกรณีการก่อสร้างอาคารใหม่ จะมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 299.35 kgCO2e/sq.m. ซึ่งสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ประมาณ 26 เท่า เมื่อเทียบกับการก่อสร้างอาคารใหม่

วัตถุประสงค์

จากแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ที่ทำให้เกิดโครงการศูนย์พัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่ออนาคตและความยั่งยืน ซึ่งได้มีการนำร่องในการทดลองแนวทางการปรับปรุงอาคารเดิม ซึ่งเป็นอาคารห้าชั้น ได้ดำเนินการแล้วในชั้นที่1และ2 โดยคำนึงถึงความยั่งยืนด้วยการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งในระหว่างการปรับปรุงอาคาร เช่น การใช้เศษคอนกรีตจากการทุบรื้อพื้นและผนังเดิมมาใช้ทำกล่องเกเบี้ยน (Gabion box) เพื่อยกระดับพื้น เป็นการนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนจากการขนย้ายและฝังกลบ, การใช้นวัตกรรมจากธรรมชาติ (Bio Base) เช่น ดินอัดที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของอาคาร เพื่อลดการใช้อิฐที่ต้องเผาซึ่งก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, การใช้วัสดุก่อสร้างจากธรรมชาติ เช่น ไม้ยางพารา เป็นต้น และในการดำเนินการของอาคาร เช่น การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar cell) เพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้าใช้เองภายในโครงการ ลดการใช้พลังงาน, การจัดนิทรรศการทั้งถาวรและหมุนเวียนเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักรู้ต่อสถานการณ์ของโลก โดยเฉพาะปัญหาสภาวะโลกร้อน เป็นต้น นับเป็นจุดเริ่มต้นในการทำความเข้าใจต่อกระบวนการก่อสร้างที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอน ในส่วนของโครงการต่อเนื่องนี้ มีเป้าหมายที่จะต่อยอดจากอาคารที่มีค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่ต่ำ ไปสู่แนวคิด net zero emissions การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ คือการที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีความสมดุล เท่ากับก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับออกจากชั้นบรรยากาศ ซึ่งในสภาวะสมดุลนี้จะไม่เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ และหากทุกประเทศทั่วโลกสามารถบรรลุเป้า net zero emissions ได้ ก็จะสามารถหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนเกินที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนได้ โดยสานต่อกระบวนการก่อสร้างที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ เพิ่มพื้นที่สีเขียวในโครงการเพื่อช่วยในการดูดกลับคาร์บอนไดออกไซด์ นำเอานวัตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวัสดุก่อสร้างในปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำหรือไม่ปล่อยเลยมาใช้งานในโครงการเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่งานวิจัยด้านนี้ให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความรู้และช่วยในแก้ปัญหาซึ่งเป็นข้อจำกัดต่างๆ และสามารถสร้างให้เกิดการนำไปใช้ได้ง่าย โดยการนำเสนอรูปแบบนวัตกรรมที่หลากหลายเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ อีกทั้งทางโครงการยังจัดพื้นที่สนับสนุนการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่อให้ผู้ที่สนใจการพัฒนานวัตกรรมที่ไม่มีอุปกรณ์ที่จำเป็นได้มาใช้พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ของตนเอง เป็นส่งเสริมให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการลดภาวะโลกร้อน

นวัตกรรมอื่น ๆ

การสังเคราะห์โมเลกุลยาโดยใช้อิเล็กตรอนจากขั้วไฟฟ้า

คณะวิทยาศาสตร์

การสังเคราะห์โมเลกุลยาโดยใช้อิเล็กตรอนจากขั้วไฟฟ้า

การสังเคราะห์โดยใช้อิเล็กตรอนเป็นรีเอเจนต์ทดแทนการใช้ oxidant เป็นวิธีการสังเคราะห์โมเลกุลยาด้วยวิธีการที่ลดการใช้สารเคมี ทำให้ลดการเกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อมได้

การผลิตเชื้อต้นแบบ Lactic acid bacteria ในการผลิต Probiotic จากประเทศไทยที่สามารถใช้ในระบบผลิตปศุสัตว์

คณะเทคโนโลยีการเกษตร

การผลิตเชื้อต้นแบบ Lactic acid bacteria ในการผลิต Probiotic จากประเทศไทยที่สามารถใช้ในระบบผลิตปศุสัตว์

สารปฏิชีวนะ (Antibiotic) ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบการผลิตปศุสัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นภูมิคุมกัน เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยและดูดซึมโภชนะ กระตุ้นการเจริญเติบโต ปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร และลดการเกิดการติดเชื้อก่อโรค โดยเฉพาะกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคท้องเสีย เป็นต้น นอกจากนั้น สารปฏิชีวนะยังมีส่วนช่วยในเรื่องของผลตอบแทนทางเศรฐกิจอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การใช้สารปฏิชีวนะที่ไม่ถูกวิธีก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการตกค้างของสารปฏิชีวนะในผลิตภัณฑ์ การดื้อยาในสัตว์และผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้หลายประเทศห้ามไม่ให้ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นสารเร่งการเจริญเติบโต เช่น สหภาพยุโรป ประเทศญี่ปุ่น และยังมีอีกหลายๆ ประเทศที่มีการวางแผนที่จะห้ามไม่ให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ เช่น ประเทศจีน และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในขณะที่ประเทศไทยได้มีประกาศควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์โดยมีผลบังคับใช้ทั้งระดับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ และฟาร์มที่ผสมอาหารสัตว์ใช้เองตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2563 ดังนั้น การทดแทนการใช้สารปฏิชีวนะด้วย Probiotic ถือว่าเป็นการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาเชื้อ Lactic acid bacteria ที่มีอยู่ในระบบทางเดินอาหารของไก่เนื้อ สุกร และโคเนื้อ ที่มีคุณสมบัติเป็น Probiotic ที่มีความเหมาะสมต่อการใช้ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นเชื่อต้นแบบทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์ Probiotic กลุ่ม Lactic acid bacteria จากต่างประเทศที่มักจะประสบปัญหาเรื่องอัตราการรอดชีวิตเมื่อนำไปใช้จริง

Vision-Based Spacecraft Pose Estimation

วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ

Vision-Based Spacecraft Pose Estimation

-