ผู้วิจัยมีแนวคิดพัฒนากากชานอ้อยผสมโมลาสเพื่อใช้เป็นวัสดุรมควันเนื้อสัตว์ โดยเพิ่มกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ตอบโจทย์ธุรกิจอาหารและความต้องการของผู้บริโภค ทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือใช้จากโรงงานน้ำตาล ลดของเสีย และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
กากชานอ้อยเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลของโรงงานน้ำตาลทราย โดยปกติมักเป็นวัสดุเหลือทิ้ง ผู้วิจัยเล็งเห็นโอกาสในการเพิ่มมูลค่าด้วยการนำมาใช้เป็นวัสดุรมควันเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากช่วยเพิ่มกลิ่นและรสชาติให้ผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม กากชานอ้อยจากโรงงานมีความหวานและกลิ่นหอมน้อย ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางการเติมโมลาส ซึ่งเป็นของเหลวข้นจากการเคี่ยวน้ำอ้อย เพื่อเพิ่มคุณภาพของวัสดุรมควัน ทั้งนี้ยังไม่มีรายงานการศึกษาการใช้โมลาสร่วมกับกากชานอ้อยในลักษณะนี้มาก่อน การพัฒนาวัสดุรมควันจากกากชานอ้อยผสมโมลาสจึงช่วยตอบโจทย์ตลาดอาหารรมควัน เพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือใช้ และลดของเสียในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล
คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
โครงการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน ร้านอาหารฮาลาลที่ผสมผสานวัฒนธรรมของจังหวัดสงขลา ประเทศไทย
คณะวิทยาศาสตร์
สาหร่ายขนาดเล็กอุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ สารเหล่านี้อาจมีผลช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของโพรไบโอติกที่จำเป็นต้องอาศัยสารอาหารที่เหมาะสม หรือที่เรียกว่าพรีไบโอติก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากสารภายในเซลล์ของสาหร่ายขนาดเล็ก Chlorella sp. KLSc61 ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์โพรไบโอติก Lactiplantibacillus plantarum JCM1149 ภายใต้สภาวะระบบย่อยอาหารจำลอง โดยทำการสกัดสารจากภายในเซลล์สาหร่าย ด้วยเอทานอลเข้มข้น 70% (v/v) เพื่อเตรียมสารสกัดสำหรับการทดสอบผลต่อการเจริญของโพรไบโอติกแบคทีเรีย จากนั้นนำสารสกัดจากสาหร่าย ที่ความเข้มข้น 0.1%, 0.75% และ 1.5% มาทดสอบการเจริญเติบโตของโพรไบโอติกแบคทีเรีย Lactiplantibacillus plantarum JCM1149 โดยวัดการเจริญของโพรไบโอติกแบคทีเรีย ด้วยวิธีการดรอปเพลท ผลการศึกษานี้จะช่วยให้เข้าใจถึงศักยภาพของสารสกัดจาก Chlorella sp. KLSc61 ในการส่งเสริมการเจริญของโพรไบโอติก ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีคุณสมบัติเป็นซินไบโอติก (Synbiotic) ที่มีทั้งโพรไบโอติกและพรีไบโอติกในอนาคต อีกทั้งยังสามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อยอดเกี่ยวกับบทบาทของสารสกัดจากสาหร่ายต่อสุขภาพระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน
คณะวิศวกรรมศาสตร์
โครงการปริญญานิพนธ์นี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตน้ำอัญชันเข้มข้นด้วยกระบวนการระเหยสุญญากาศ โดยเพื่อรักษาคุณภาพของสารสำคัญในดอกอัญชัน เช่น แอนโทไซยานิน ซึ่งเป็นสารสีธรรมชาติที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระสูง โดยใช้วิธีการวางแผนการทดลองแบบBox-Behnken Design ซึ่งเป็นวิธีทางสถิติที่ช่วยในการวิเคราะห์ปัจจัยหลายตัว การศึกษานี้เน้นการพิจารณาอัตราส่วนของดอกอัญชันแห้งต่อน้ำ อุณหภูมิการสกัด และอุณหภูมิการระเหย ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการคงคุณภาพของสารสำคัญ สี กลิ่น และรสชาติ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า การใช้อัตราส่วนดอกอัญชันแห้งต่อน้ำที่ 1:15 อุณหภูมิการสกัด 60 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิการระเหย 40 องศาเซลเซียส ภายใต้ความดันต่ำสามารถลดการสูญเสียสารสำคัญและรักษาคุณสมบัติของน้ำอัญชันเข้มข้นได้ดีที่สุด ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการผลิตน้ำอัญชันเข้มข้นในระดับอุตสาหกรรมและเพิ่มศักยภาพในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากดอกอัญชัน