จุดมุ่งหมายของการประดิษฐ์นี้ เพื่อพัฒนาสารป้องกันการเกิดไฟป่าให้มีความสามารถในการป้องกันการเกิดไฟป่าระยะยาว มิใช่เพียงการใช้ระงับไฟป่า หรือป้องกันไม่ให้ไฟป่านั้นแพร่กระจายเป็นวงกว้าง แต่มุ่งเน้นที่การป้องกันไม่ให้เกิดการติดไฟตั้งแต่เริ่มต้น สามารถป้องกันการเกิดไฟป่าได้อย่างครอบคลุม สามารถป้องกันได้ยาวนานตลอดช่วงระยะเวลาที่เกิดไฟป่าสูงสุดหรือช่วงเข้าสู่ฤดูแล้ง นับเป็นระยะเวลาประมาณ 3 - 4 เดือน โดยหลังจากการที่มีการผลสารกันไฟป่าจะไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในน้ำ ไม่มีสารตกค้างหรือตกค้างน้อยที่สุดโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบภายใต้มาตรฐานที่มีการระบุไว้ เน้นการใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ และเคมีภัณฑ์ที่สามารถหาได้ง่ายในประเทศไทย รวมไปถึงการใช้มูลค่าต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งทำให้เหมาะสมต่อการใช้งานในปริมาณมากสำหรับการฉีดพ่นป้องกันพื้นที่ป่าไม้บริเวณพื้นที่ป่าที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย จากค่าเฉลี่ยโดยประมาณสำหรับมลพิษที่เกิดในรหว่างการเกิดไฟป่า ได้แก่ ฝุ่นละออง (PM) ประกอบด้วย PM2.5 PM10, คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO), คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx), สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) เป็นต้น
ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อมนุษย์มากมาย ป่าไม้เป็นแหล่งปัจจัยพื้นฐานสี่ประการที่ทำให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ นอกจากนี้ป่าไม้ยังเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงสัตว์ป่าและพืชพรรณนานาชนิด ปัญหาไฟป่าเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้ทรัพยากรป่าไม้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก ส่งผลให้ป่าไม้ไม่สามารถฟื้นตัวได้ทันตามวัฏจักรธรรมชาติ ปัจจุบันประเทศไทยได้สูญเสียพื้นที่ป่าไปเป็นจำนวนมากกว่า 1000000 ไร่ในสิบปีหลังสุด และผลกระทบจากไฟป่าทำให้เกิดปัญหาหมอกควันกระจายท้่วไปในบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ทำให้ประชาชนจำนวนมากประสบปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจ นวัตกรรมนี้จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อต้องการลดปัญหาไฟป่าและปกป้องคลุมครองพื้นที่ป่าของประเทศ
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาการออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 20 คน ปีการศึกษา 2567 เพื่อเป็นสื่อสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองและเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้เรียนมากยิ่งขึ้น โดยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ จะมีเนื้อหาการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย แบบฝึกทักษะการเรียนรู้และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งยังมีการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับบทเรียนได้ด้วยตนเอง เพื่อทำให้ผู้เรียนมีความสนใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น โดยมีสมมุติฐานการวิจัยว่า บทเรียนนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 ไม่ต่ำกว่า 80/80 เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัยเน้นการพัฒนาทางด้านความรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชา การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ วิชา การออกแบบสภาพแวดล้อมภายใน 1 เรื่อง การออกแบบห้องครัวภายในบ้านพักอาศัย มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 71.50/89.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียน
คณะศิลปศาสตร์
นวัตกรรมนี้ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคิวในร้านอาหาร ทำให้ระบบเป็นระเบียบ ลดเวลารอคอย และรองรับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
จากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาครั้งนี้ ณ สำนักงานเกษตรอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ได้ศึกษาเรื่อง ต้นทุน ผลตอบแทนการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและการปลูกข้าวโดยใช้สารชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมีของเกษตรกร ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาต้นทุน ผลตอบแทนการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและการปลูกข้าวโดยใช้ชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมีของเกษตรกร ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาปัญหาการใช้สารชีวภัณฑ์ในการปลูกข้าวของเกษตรกร ตำบลบางพลีน้อย อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการผลการศึกษาพบว่าต้นทุนการผลิตข้าวนาปีโดยใช้สารเคมีและสารชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมีปีเพาะปลูก 2567/68 แปลงที่ใช้สารชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมี มีต้นทุนการผลิตรวมทั้งหมด 5,099.50 บาทต่อไร่ ประกอบด้วย ต้นทุนผันแปร 4,432.50 บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่ 667.00 บาทต่อไร่ แปลงที่ใช้สารเคมี มีต้นทุนการผลิตรวมทั้งหมด 5,129.00 บาทต่อไร่ ประกอบด้วย ต้นทุนผันแปร 4,390.00 บาทต่อไร่ ต้นทุนคงที่ 739.00 บาทต่อไร่ ผลต่างของต้นทุนการปลูกข้าวนาปีระหว่างแปลงที่ใช้สารเคมีและแปลงที่ใช้สารชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมีเท่ากับ 114.50 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนการผลิตข้าวนาปี ปีเพาะปลูก 2567/68 ของแปลงที่ใช้สาร ชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมี ประกอบด้วย ปริมาณผลผลิต 1,000.00 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิตเฉลี่ย 8,500.00 บาทต่อไร่ เกษตรกรมีรายได้ 8,585.00 บาทต่อไร่ และมีกำไร 3,485.50 บาทต่อไร่ แปลงที่ ใช้สารเคมี ประกอบด้วย ปริมาณผลผลิต 1,000.00 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาผลผลิตเฉลี่ย 8,500.00 บาทต่อไร่ เกษตรกรมีรายได้ 8,500 บาทต่อไร่ และมีกำไร 3,371.00 บาทต่อไร่ ผลต่างของรายได้รวมทั้งหมดในการปลูกข้าวนาปีระหว่างเกษตรกรที่ใช้สารเคมีและเกษตรกรที่ใช้สารชีวภัณฑ์ร่วมกับสารเคมีเท่ากับ 114.50 บาทต่อไร่ ด้านปัญหาในการจัดซื้อ/จัดหาสารชีวภัณฑ์ สารชีวภัณฑ์หาซื้อยากบางพื้นที่มีแหล่งจําหน่ายน้อยหรือไม่มีเลย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สนับสนุนสารชีวภัณฑ์ให้เกษตรกรอย่างต่อเนื่องมีระดับปัญหามากที่สุด ด้านปัญหาการใช้สารชีวภัณฑ์ เมื่อผสมเชื้อสดกับส่วนผสมแล้วต้องใช้ให้หมดไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ เนื่องจากจะทำให้เสื่อมประสิทธิภาพลงมีระดับปัญหาที่มากที่สุด